โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ! สถานที่เหล่านี้มาจากความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย

LINE TODAY

เผยแพร่ 20 เม.ย. 2563 เวลา 18.49 น.

21 เมษายน World Creativity and Innovation Day หรือวันแห่งความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมโลก เพื่อเป็นการฉลองให้กับวันนี้ ขอหยิบเอาผลงานความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยที่ไม่เคยแพ้ชาติใดในโลก โดยเฉพาะด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม คนไทยก็เก่งเป็นที่หนึ่ง ไปคว้ารางวัลระดับโลกมาแล้วมากมาย

ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS

อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ประกอบด้วยอาคารรูปตัว H ที่มาจากความหมายของคำว่า Humanity ที่หมายถึงความเท่าเทียมเสมอกันของพลเมืองไทยทุกคน ซึ่งด้านบนของอาคารเป็น Green Roof Urban Farm ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย หลังคาสีแห่งเขียวนี้นอกจากจะเพาะปลูกผักออร์แกนิก สำหรับใช้ในโรงอาหารมหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีระบบจัดการน้ำที่หมุนเวียนน้ำฝนมาใช้ประโยชน์ได้ด้วย 

ทั้งหมดนี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากทีมงานคนไทย ระหว่างทีมออกแบบผังแม่บท CIDAR (Center of Innovative Design and Research) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทีมสถาปนิกจากสถาบันอาศรมศิลป์ นำโดยอาจารย์ธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) และอาจารย์กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกที่สร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะให้ผนวกเอาธรรมชาติมาอยู่ท่ามกลางผู้คน

ภาพจาก chula.ac.th
ภาพจาก chula.ac.th
ภาพจาก chula.ac.th
ภาพจาก chula.ac.th
ภาพจาก chula.ac.th
ภาพจาก chula.ac.th

ถัดมาเป็นความคิดสร้างสรรค์ของสองสถาปนิกไทยแท้ คุณชัยภัฏ มีระเสน และ คุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ที่เชื่อว่าห้องสมุดต้องมีอะไรมากกว่าหนังสือ ยิ่งเป็นห้องสมุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ยิ่งต้องเป็นสถานที่ที่สร้างแรงบันดาลใจและองค์ความรู้ได้มากมาย จึงเป็นที่มาของห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีพื้นที่ให้นิสิตได้ Brainstorms ความคิดกันได้อย่างเต็มที่ มีพื้นที่ฉายหนัง พื้นที่เลคเชอร์ อ่านหนังสือ ตัดโมเดล จัดนิทรรศการ ฯลฯ 

เรียกว่าเป็นได้มากกว่าห้องสมุดที่ แต่เป็นพื้นที่สร้างบันดาลใจให้กับนิสิตนั่นเอง ล่าสุดห้องสมุดแห่งนี้เพิ่งไปคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก ด้านการออกแบบในหมวดห้องสมุด (Library) จากงาน Best of Year Awards 2019 ซึ่งจัดโดย Interior Design Magazine นิวยอร์กด้วย

ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS
ภาพจาก LANDPROCESS

เมื่อคนไทยต้องการที่หายใจมากขึ้น สวนกลางกรุงที่มีชื่อว่า ‘อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ จึงเกิดขึ้นภายใต้ความคิดสุดสร้างสรรค์ของหญิงไทย ‘กชกร วรอาคม’ ภูมิสถาปนิกที่ต้องการให้อย่างน้อยปอดแห่งนี้หลีกหนีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) รวมไปถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ไปได้บ้าง ดังนั้นงานออกแบบจึงเน้นให้ที่นี่เป็นสวนสาธารณะต้นแบบ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน และการจัดการปัญหาน้ำท่วมให้แก่พื้นที่โดยรอบ

ภาพจาก kingpowermahanakhon.co.th
ภาพจาก kingpowermahanakhon.co.th

‘คิง เพาเวอร์ มหานคร’ ตึกระฟ้ารูปทรงแปลกตาที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านสาทร ตึกที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของเมืองไทย ถูกออกแบบให้เสมือนโอบล้อมด้วยริบบิ้นสามมิติหรือ ‘พิกเซล’ ตลอดความสูงของตัวอาคารก่อให้เกิดโครงสร้างที่โดดเด่นสะดุดตาและมีรูปลักษณ์พิเศษ ล้อมรอบไปด้วยกระจก มีลูกเล่นผสมผสานพื้นที่อินดอร์และเอาท์ดอร์ให้มีมุมมองแบบพาโนราม่า มองเห็นทิวทัศน์ของเมืองและแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างสวยงามไม่ถูกรบกวนจากสถาปัตยกรรมอื่น ๆ รอบข้าง ซึ่งความโดดเด่นนี้ทำให้ “มหานคร” ได้รับรางวัลจากหลากหลายสถาบัน เช่น Thailand Property Awards, South East Asia Property Awards และ Asia-Pacific Property Awards เป็นต้น

ที่เป็นไฮไลท์ที่หลายคนอยากไปสมหานคร สกายวอล์ค จุดชมวิวบนดาดฟ้าชั้น 74 ที่พร้อมให้เดินชมวิวบนระเบียงพื้นกระจกใสที่สามารถมองเห็นวิวเมืองด้านล่างอย่างชัดเจน ด้วยพื้นกระจกที่ใหญ่ที่สุดในโลกเหมือนลอยอยู่กลางอากาศ ที่ว่ากันว่าต้องไปลองสักครั้งในชีวิต

ทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นสุดยอดของคนไทย นอกจากสถาปัตยกรรมเหล่านี้แล้ว คนไทยยังครีเอตอะไรเลิศ ๆ ล้ำ ๆ ได้อีกมากมาย เพราะยังไง 'คนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก'

อ้างอิง

1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 24

  • ในสถานที่ต่างๆคงไม่ใช่จะมีแค่เพียงภูมิปัญญาเท่านั้นที่จะทำขึ้นมาได้ แต่ก็ต้องมีทุนสร้างเป็นอย่างมากด้วยถึงจะเกิดขึ้นมาได้.
    21 เม.ย. 2563 เวลา 09.53 น.
  • Tamada LAWSOW
    กทม.มีปัญหาใหญ่ 2 สิ่งที่รอแก้ไขแต่มันเป็นเรื่องยากคือ 1.สภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งเสื่อมโทรมเผ็นที่สะสมเขื้อโรคและ2 สารพิษตากก๊าซของรถที่พ่นออกมามากมายแต่บะวันค่อแห๊ซคาร์บอนมอน์น๊อคไซด์ที่มีกลิ่นแต่ไร้สี
    21 เม.ย. 2563 เวลา 09.43 น.
  • ตึกมหานครเค้าหมายถึงเฉพาะจุดชมวิวชั้นบนสุดหรือเปล่าไม่ใช่ตัวตึก
    21 เม.ย. 2563 เวลา 09.35 น.
  • K.T.Payotorn
    H = เท่าเทียมกันโดย กม. อย่าแปลแค่ครึ่งเดียว
    21 เม.ย. 2563 เวลา 03.38 น.
  • Suriyan Cometima
    คนเขียนและบรรยายภาพเหล่านี้ คุณมั่นใจแล้วใช่ไม๊ว่าข้อมูลคุณถูกต้องแล้ว อย่างตึกเม็ทโทรโพลิสที่ตั้งอยู่นราธิวาสราชนครินทร์สถาปนิกผู้ออกแบบตัวตึกเป็นชาวเจอมันครับไม่ใช่คนไทยอย่ามั่วครับ เมื่อสามปีที่แล้วความสูงของตัวตึกของตึกนี้ก็แซงใบหยกสกายไปแล้วครับถึงแม้จะมีชั้นน้อยกว่าแต่ความสูงหรือห่างมีมากกว่าครับ สรุปแล้วตึกเม็ทโทรโพลิสของคิงพาวเว้อร์สูงกว่าตึกใบหยกสกายครับ.
    21 เม.ย. 2563 เวลา 03.17 น.
ดูทั้งหมด