โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘แม่ที่ดี’ คือ ‘แม่’ ที่เป็นแบบไหนกัน?

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 13 มี.ค. 2565 เวลา 17.00 น.
ภาพจาก unsplash.com
ภาพจาก unsplash.com

เชื่อว่าบทบาทหนึ่งที่ผู้หญิงทุกคนสามารถเป็นได้ และเป็นความภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต นั่นก็คือบทบาทความเป็น ‘แม่’ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การได้อุ้มท้องคลอดอีกหนึ่งชีวิตให้อยู่รอดเป็นทารกเท่านั้น หากแต่เป็นการที่ได้เลี้ยงดู อุ้มชู และฟูมฟักทะนุถนอมลูกน้อยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามกำลังที่จะสามารถสนับสนุนได้ และเติบใหญ่เป็นคนดี

ทว่าหากมองในอีกมุมหนึ่ง ที่ ‘แม่’ ก็คือผู้หญิงธรรมดา เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่อาจผ่านเรื่องราวร้อยพัน ฝ่าฟันทั้งเรื่องที่ดีและร้ายกว่าจะได้มาอยู่ในจุดที่เป็นแม่คน การปรับตัวสู่บทบาทความเป็น ‘แม่ที่ดี’ จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก 

มีตำรามากมายที่ร่ายยาวถึงลักษณะของความเป็นแม่ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการเลี้ยงดู การอบรมบ่มนิสัย การให้ความรักความเข้าใจ ยกตัวอย่างดังเช่นที่หนังสือ “เลี้ยงลูก ยิ่งใหญ่” โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้แง่คิดแด่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ได้พัฒนาตนเองไปพร้อมกับลูกน้อยโดยถอดความมาบทความชื่อ ‘What Makes A Good Parent” โดย Robert Epstein นักวิจัยด้านจิตวิทยา ซึ่งทั้ง 10 ข้อนั้นมีดังนี้

1. การแสดงความรักด้วยการกอด บอกรัก และมีเวลาที่จะทำกิจกรรมร่วมกัน

2. จัดการกับความเครียดโดยฝึกตีความเหตุการณ์ด้วยมุมมองเชิงบวก

3. ดำรงค์ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่ เป็นตัวอย่างที่ดีของการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น

4. ปฏิบัติต่อลูกด้วยความนับถือ ส่งเสริมให้ลูกรู้จักช่วยตัวเองและพึ่งพาตนเองให้ได้

5. ส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ ให้โอกาสทางการศึกษา

6. สอนให้รู้จักหารายได้ และวางแผนอนาคต

7. อบรมพฤติกรรม โดยเน้นการเสริมแรงเชิงบวก ใช้การลงโทษเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

8. ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ เช่นชักชวนลูกน้อยให้ออกกำลังกาย กินอาหารที่ดีมีประโยชน์

9. สอนให้รู้จักกรร่วมกิจกรรมทางศาสนา เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านจิตวิญญาณ

10. ปกป้องลูกให้ปลอดภัย ดูแลอย่างระมัดระวัง โดยรับรู้ได้จากการทำกิจกรรมและเพื่อนๆ ของลูก  

นอกจากนี้ แม่ ยังสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

1. ไม่ใช้อารมณ์กับลูก ไม่ตะคอกเสียงดัง

2. รู้จักพูด “ขอโทษ” กับลูก เมื่อเป็นฝ่ายผิด

3. มีความอดทนกับลูกให้มาก รู้จักยิ้มให้ลูกบ่อยๆ

4. รู้จักที่จะเห็นอกเห็นใจลูก เป็นการปลอบประโลมลูกได้ดีวิธีหนึ่ง

5. แสดงความรักทั้งในการบอกรักและอวจนะภาษา การกอดลูก ให้กำลังใจ การให้ความดูแลเอาใจใส่ช่วยกระชัมความสัมพันธ์ระหว่างแม่-ลูกได้มากขึ้น

6. ให้เวลากับลูกให้มากๆ สร้างสายใยความผูกพันธ์อันดี

7. สอนให้ลูกรู้จักคิด ตั้งคำถาม หาคำตอบ และเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา

8. ยิ้มให้ลูกเยอะๆ รอยยิ้มของแม่สามารถเป็นได้ทั้งการให้กำลังใจ การบอกรัก และอีกมากมายหลายความหมายที่ล้วนดีต่อความรู้สึกของลูก

9. อย่าลืมที่จะ ‘โอนอ่อนผ่อนตาม’ ไม่มีใครสมบูรณ์แบบในทุกด้าน ยอมรับในความผิดพลาด และสอนให้ลูกรู้จักสิ่งนี้ด้วยเช่นกัน

และในส่วนของฝั่งพระพุทธศาสนาก็ยังมีเรื่องของพระคุณของพ่อแม่ด้วยเช่นกัน โดยได้กล่าวถึงสรุปโดยย่อคือ เป็นต้นแบบทางกาย และเป็นต้นแบบทางใจ ต้นแบบทางกายคือให้กำเนิด ให้ชีวิต ให้ได้เกิดเป็นคนที่สามารถประกอบกรรมดี ใช้ความรู้ความสามารถที่มีให้เป็นประโยชน์ได้โดยมีพ่อแม่เป็นต้นแบบ ส่วนต้นแบบทางใจนั้นก็คือการให้ความอุปการะเลี้ยงดู ฟูมฟัก ทะนุถนอมอบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาท ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ลูก

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ สมญานามของพ่อแม่ ที่มักนิยมกล่าวว่าเป็นทั้งพรหมของลูก เทวดาคนแรกของลูก ครูคนแรกของลูก และเป็นพระอรหันต์ของลูก ซึ่งได้มีอธิบายได้ดังนี้

พ่อแม่เป็นพรหมของลูก เพราะเหตุที่มีพรหมวิหารธรรม 4 ประการ ได้แก่

1.มีเมตตา คือมีความปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด

2.มีกรุณา คือหวั่นใจในความทุกข์ของลูก และคอยช่วยเหลือเสมอไม่ทอดทิ้ง

3.มีมุทิตา คือเมื่อลูกมีความสุขสบาย ก็มีความปลาบปลื้มยินดีด้วยความจริงใจ

4.มีอุเบกขา คือเมื่อลูกมีครอบครัวสามารถเลี้ยงตนเองได้แล้ว ก็ไม่มีวุ่นวายกับชีวิตครอบครัวลูกจนเกินงาม และหากลูกผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม แต่กลับคอยเป็นที่ปรึกษาให้เมื่อลูกต้องการ

พ่อแม่เป็นเทวดาคนแรก(บุรพเทพ)ของลูก เพราะคอยปกป้องคุ้มกันภัยเลี้ยงดูลูกมาก่อนผู้มีความปรารถนาดีคนอื่นๆ

พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก เพราะสั่งสอนอบรมทั้งคำพูดและกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่นๆ

พ่อแม่เป็นวิสุทธิเทพของลูก เพราะมีคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่

1.ไม่ถือสาในความผิดของลูก แม้ว่าบางครั้งลูกจะพลาดพลั้งล่วงเกิน ก็ให้อภัยเสมอ

2.ปรารถนาประโยชน์แก่ลูกเสมอ ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร ก็ยังคงปรารถนาให้ลูกได้ดี มีความสุข

3.เป็นทักขิเณยยบุคคล เป็นเนื้อนาบุญของลูก เป็นผู้ที่ลูกควรทำบุญต่อตัวท่าน

4.เป็นอาหุเนยยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การรับของคำนับ และการนมัสการของลูก

มาถึงจุดนี้ จะเห็นได้ว่าการจะเป็นแม่ที่ดีสมบูรณ์แบบนั้นแม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย เพียงแต่พื้นฐานหลักใหญ่ที่ต้องให้ความสำคัญคือการเอาใจใส่ ให้เวลา เลี้ยงดูอบรมให้ลูกเป็นคนดี คอยปกป้องลูกจากอันตรายทั้งปวง โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด เพราะความปรารถนาดีที่แม่มีต่อลูกนั้นยิ่งใหญ่ และหวังใจให้ลูกเป็นคนดี มีความสุขความเจริญ เท่านี้คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็สุขใจหาใดเปรียบแล้ว

อย่างไรก็ตาม ความรักของแม่ที่อาจส่งผลเสียกับลูกนั้นก็มีอยู่เช่นกัน ซึ่งหากรักลูกในทางที่ผิดก็อาจส่งผลเสียได้ อาทิ

1. ตีกรอบลูกจนเขาขาดอิสระ นั่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้ ลองเปลี่ยนเป็นการสอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ รวมถึงรู้จักรักและดูแลตัวเองให้ดี สอนให้ลูกรู้จักคิด ตัดสินใจเอง

2. รักลูกมากก็ตามใจมากจนลูกเสียคน โลกแห่งความเป็นจริงมันไม่ได้สวยงามขนาดนั้น ควรรู้จักสอนให้ลูกรู้จักความเผิดหวัง และสอนให้รับมืออับความผิดหวังอย่างชาญฉลาด

3. การเปรียบเทียบจนเกิดความอึดอัด ไม่ว่าจะเปรียบเทียบระหว่างพี่น้องคลานกันมา เปรียบเทียบระหว่างลูกหลานเครือญาติ หรือแม้แต่ลูกเพื่อนบ้าน ล้วนส่งผลเสียต่อลูกทั้งนั้น

 อ้างอิง : มงคลชีวิต 38ประการ มงคลที่ 11 บำรุงบิดามารดา/theasianparent.com/wikihow.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0