โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

อสังหาริมทรัพย์

7 วิธีเก็บเงินง่าย ๆ เพื่อพิชิตความฟุ่มเฟือยของตัวเอง

DDproperty

เผยแพร่ 08 ม.ค. 2565 เวลา 01.34 น.
7 วิธีเก็บเงินง่าย ๆ เพื่อพิชิตความฟุ่มเฟือยของตัวเอง
7 วิธีเก็บเงินง่าย ๆ เพื่อพิชิตความฟุ่มเฟือยของตัวเอง

การเก็บเงินคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญของคนที่อยากจะมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเอง แต่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ และอุปนิสัยในการในใช้จ่ายของแต่ละคน สิ่งเหล่านี้ก็อาจทำให้เก็บเงินไม่ได้สักที

แต่ใครที่กำลังประสบปัญหาเก็บเงินไม่อยู่ก็อย่าเพิ่งท้อใจไป เพราะยังมีมาตรการพิชิตบ้านในฝันเพื่อคนที่เก็บเงินไม่อยู่โดยเฉพาะ ด้วย 7 วิธีเก็บเงินซื้อบ้าน ฉบับพิเศษเพื่อป้องกันเงินรั่วไหลไปกับการใช้จ่ายเกินจำเป็น

Subscription Banner for Article
Subscription Banner for Article

 

1. แยกบัญชีใช้จ่ายจากบัญชีเงินเก็บ

พื้นฐานขั้นตอนของวิธีเก็บเงินให้ได้ผลคือ การแยกบัญชีเงินเก็บออกจากบัญชีอื่น ๆ อย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะกับบัญชีใช้จ่าย เพื่อความชัดเจนว่าเงินก้อนไหนที่ใช้ได้และเงินก้อนไหนที่ใช้ไม่ได้ และยังทำให้ผู้เก็บเงินทราบสถานะทางการเงินของตัวเองด้วยว่ายังมีเงินที่สามารถใช้จ่ายได้เหลือเท่าไร แล้วมีเงินเก็บสะสมอยู่กี่บาท ซึ่งมีความสะดวกในการบริหารจัดการเงินเป็นอย่างมาก

 

2. มีบัตรเอทีเอ็มใบเดียวพอ

เหตุผลที่บางคนไม่ชอบใช้บัญชีเงินฝากหลายบัญชีก็เพราะกลัวค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม แต่ผู้เก็บเงินก็ไม่จำเป็นต้องเปิดบัตรเอทีเอ็มให้กับบัญชีเงินเก็บแต่อย่างใด ในทางกลับกัน การไม่มีบัตรเอทีเอ็มจะช่วยให้เงินที่เก็บไว้ถูกนำออกมาใช้ได้ยากขึ้น

ซึ่งกลยุทธ์นี้ขอให้รวมถึงการไม่เปิดใช้อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้งกับบัญชีเงินเก็บด้วย เพื่อปิดประตูทางออกเงินเก็บจนเหลือวิธีเดียวที่จะถอนออกมาได้คือ ต้องไปเข้าแถวต่อคิวที่ธนาคารเท่านั้น

 

3. มีบัตรเครดิตไม่เกินสองใบ

บัตรเครดิตนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งข้อดีคือการสร้างความน่าเชื่อถือไว้ล่วงหน้าเพื่อความง่ายต่อการพิจารณาเมื่อขอสินเชื่อบ้าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์หากใช้บัตรเครดิตอย่างระมัดระวังและจ่ายเต็มจำนวนทุกเดือน แต่ทว่าการมีบัตรเครดิตมากไปก็สุ่มเสี่ยงให้มีโอกาสได้ก่อหนี้สินมากขึ้น จนสุดท้ายเงินที่เก็บไว้ก็อาจต้องเอามาโปะใช้หนี้บัตรเครดิต ดังนั้นการถือบัตรในจำนวนที่เหมาะสมเพียง 1-2 ใบให้พอมีใช้จ่ายเมื่อจำเป็นก็เพียงพอแล้ว

 

4. ใช้วิธีเก็บเงินให้เร้าใจ

ถ้าการเก็บเงินซื้อบ้านเฉย ๆ ยังดูไม่ตื่นเต้นมากพอที่จะกระตุ้นความอยากเก็บเงินของตัวเอง ขอให้ลองใช้วิธีเก็บเงินภาคพิเศษที่จะช่วยทำให้การเก็บเงินเป็นเรื่องสนุกและมีสีสัน ตัวอย่างเช่น การเก็บธนบัตร 50 บาททุกใบ หรือจะเป็นการเก็บเงินทุกวันตามจำนวนวันที่ (เช่น วันที่ 1 เก็บ 10 บาท วันที่ 31 เก็บ 310 บาท) หรือตั้งเป้าหมายว่าทุกการใช้จ่ายต้องมีเงินเก็บคืนเข้าบัญชีก็ทำได้เช่นกัน อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอเดียการเก็บเงินให้อยู่หมัด

 

วิธีเก็บเงินโดยสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วิธีเก็บเงินโดยสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

วิธีเก็บเงินโดยสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

 

5. ใช้วิธีเก็บเงินภาคบังคับ

หากบังคับให้ตัวเองเก็บเงินแล้วยังไม่ได้ผล ก็ขอให้คนอื่นเป็นผู้บังคับให้เก็บเงินแทนดีกว่า ด้วยการบังคับให้เก็บเงินจากเงื่อนไขภายนอก ซึ่งมีวิธีที่น่าสนใจดังนี้

- เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

หากผู้เก็บเงินเป็นพนักงานบริษัท การเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเก็บเงิน เพราะบริษัทต่าง ๆ มักจะมีกองทุนให้ลูกจ้างสะสมเงินเป็น % จากฐานเงินเดือนทุกเดือน และยังมีเงินสมทบจากนายจ้างที่เปรียบเสมือนดอกเบี้ยให้อีกด้วย ส่วนเงื่อนไขการถอนก็อาจจะยุ่งยากพอสมควร แต่ก็ทำให้ผู้เก็บเงินไม่อยากถอนเงินสะสมออกมาเท่าไรนัก ที่สำคัญอีกอย่างคือ สามารถนำเงินที่เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลดหย่อนภาษีเงินได้ได้อีกด้วย

- ฝากประจำแบบปลอดภาษี

การเปิดบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษีเป็นอีกหนึ่งวิธีเก็บเงินยอดนิยมที่ช่วยบังคับให้ฝากเงินเป็นประจำทุกเดือน โดยจะได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไป แต่ผู้เก็บเงินต้องมีวินัยในการเก็บเงินอย่างเข้มงวด เพราะธนาคารจะตัดสิทธิ์การรับดอกเบี้ยพิเศษทันทีหากผู้เก็บเงินไม่ฝากเงินเข้าบัญชีให้ตรงตามวันที่กำหนดไว้

- ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์นั้นเป็นอีกวิธีเก็บเงินที่น่าสนใจ โดยประกันแบบนี้จะมีการบังคับฝากเงินเป็นประจำทุกเดือนหรือทุกปี และแผนประกันบางแบบก็จ่ายเงินปันผลให้ตามรอบที่กำหนด ก่อนจะได้รับเงินคืนทั้งก้อนเมื่อสิ้นสุดการชำระเบี้ยประกัน แต่ถ้าผู้เก็บเงินเสียชีวิตหรือพิการในระหว่างเวลาคุ้มครอง ก็จะได้รับเป็นเงินก้อนใหญ่แทน นี่จึงเป็นวิธีเก็บเงินพร้อมรับผลประโยชน์ด้านความคุ้มครองไปในตัวด้วย

 

6. ทำรายรับรายจ่ายให้ชัด

เริ่มต้นการเก็บเงินซื้อบ้านง่าย ๆ ด้วยการทำรายรับรายจ่ายของตัวเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เก็บเงินเห็นภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพื่อประเมินจำนวนเงินที่คาดว่าจะเก็บได้ แล้วหาวิธีการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย การเก็บเงินซื้อบ้านก็จะทำได้ไวยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันผู้เก็บเงินก็ไม่จำเป็นต้องทำรายรับรายจ่ายในสมุดหรือตีตารางในคอมพิวเตอร์อีกต่อไป เพราะมีแอปพลิเคชันหลายแอปที่สามารถช่วยทำรายรับรายจ่ายได้

 

7. แข็งใจไม่ให้มือเติบ

ไม่ว่าจะเป็นวิธีเก็บเงินแบบไหน ๆ ก็จะไม่มีทางเก็บเงินอย่างได้ผล หากผู้เก็บเงินยังคงมีพฤติกรรมใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือยไม่ยอมเปลี่ยน ดังนั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองให้ใจแข็งต่อสิ่งล่อตาล่อใจ ห้ามซื้อของฟุ่มเฟือย ห้ามจ่ายสิ่งที่ไม่จำเป็น และตั้งหน้าตั้งตาเก็บเงินซื้อบ้านจนเป็นนิสัย ก็จะช่วยให้ผู้เก็บเงินสามารถเก็บเงินซื้อบ้านได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม

  " title="5 พฤติกรรมทำเจ็บ ที่อาจทำให้คุณเก็บเงินซื้อบ้านไม่ไหว " category=" Guide "]https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/5-พฤติกรรมทำเจ็บ-ที่อาจทำให้คุณเก็บเงิน-ซื้อบ้านไม่ไหว-10174 [/article]

 

ทั้งหมดนี้คือวิธีเก็บเงินซื้อบ้านเพื่อคนเก็บเงินไม่เก่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีเงินก้อนไปซื้อบ้านหรือซื้อคอนโด แต่วิธีเหล่านี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในเทคนิคการเก็บเงินเพื่อเป็นเจ้าของบ้านในฝันเท่านั้น ยังมีวิธีการอีกมากมายที่จะช่วยให้เก็บเงินถึงฝั่งฝันได้เร็วขึ้น และไม่จำกัดว่าจะเป็นวิธีเก็บเงินเฉพาะคนทำงานทั่วไป ชาวฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระก็ทำได้เช่นกัน

  " title="วิธีออมเงินซื้อคอนโดเพื่อชาวฟรีแลนซ์ " category=" Guide "]https://www.ddproperty.com/คู่มือซื้อขาย/วิธีออมเงินซื้อคอนโดเพื่อชาวฟรีแลนซ์-16807 [/article]

 

สนใจรับบทความดีดี อัปเดต ข่าวอสังหาริมทรัพย์ และ อ่านคู่มือซื้อขาย พร้อม รีวิวโครงการคอนโดฯ ใหม่ บ้านใหม่ หลากหลายทำเลและราคา รวมถึง ทำความรู้จักกับทำเลฮอตทั่วกรุง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการซื้อ-ขาย-เช่า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0