*เช็คค่าฝุ่นละออง PM2.5 กับ LINE TODAY ที่เดียวจบ ไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่มได้ง่าย ๆ แค่คลิก >> https://lin.ee/iwhMrsF บนมือถือ
มนุษย์เราเฉลี่ยหายใจเข้า-ออกประมาณ 20,000 ครั้งต่อวัน ปริมาณต่อวันราว 8,000 ถึง 12,000 ลิตร!
ลองคิดเล่น ๆ ว่าวันวันหนึ่งเรามีโอกาสที่จะสูดหายใจเอา เจ้าฝุ่นจิ๋ว PM2.5 เข้าไปในปอดมากน้อยขนาดไหน แม้ภาครัฐจะออกมาบอกประชาชนผ่านสื่อว่าหมู่เฮาชาวเมืองหลวงนั้นจงอย่าได้ตื่นกลัว (panic) แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะเพิกเฉย ไม่ตื่นตัว (aware) ตื่นรู้ถึงอันตรายของมัน
ต้นตอ “ฝุ่น PM2.5” เพชฌฆาตตัวร้ายที่ไม่ได้กลับมาเล่น ๆ
แหล่งกำเนิดของปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในกรุงเทพฯ ล้วนเกิดจากพฤติกรรมมักง่ายของมนุษย์ จากปัญหาจราจรติดขัด การปล่อยควันของท่อไอเสียยานพาหนะ ตลอดจนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อขยายตัวเมืองและระบบขนส่งสาธารณะ
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสภาพอากาศในบ้านเรา ควรจะต้องออกมาตรการบังคับใช้ข้อกฎหมายอย่างเข้มข้นเสียที
ฝุ่น (เรื่อง) “ไม่เล็ก” นะครับ…
เรื่องของฝุ่นขนาด “เล็ก” ที่กลายเป็นปัญหา “ใหญ่” จนกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในสังคมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากอนุภาคของฝุ่น PM2.5 นั้นเรียกว่าโคตรเล็ก เล็กเสียยิ่งกว่าเส้นผมเส้นขนของมนุษย์ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้น เราจะไม่มีทางล่วงรู้เลยว่าช่วงไหนที่สภาพอากาศในกรุงเทพฯ มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เพิ่มขึ้นหรือลดลง ยิ่งไปกว่านั้น การที่วันไหนสภาพอากาศดี มีแดดแจ่มใส ก็มิได้เป็นเครื่องการันตีว่าความเข้มข้นของฝุ่นจะไม่เกินค่ามาตรฐาน
สิ่งที่ทำได้ในเบื้องต้นคือให้เราระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ หากพบอาการผิดปกติเฉียบพลัน เช่น แสบตา แสบคอ หายใจฟืดฟาด คันระคายเคือง หรืออาการอื่น ๆ เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ขอให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย
ลำพังแค่ “ฝุ่นพิษ” อย่างเดียวก็แย่แล้ว นี่ “มัน” ยังพาเพื่อนมาด้วย
How dare you! กล้าดีอย่างไรคะนางฝุ่น PM2.5! ผู้เขียนอยากจะเกรี้ยวกราดให้ได้สักครึ่งนึงของน้องเกรตา ธันเบิร์ก ในสถานการณ์มลพิษทางอากาศ PM2.5 เกินมาตรฐาน นอกจากสารเคมีที่เป็นพิษแล้ว เรายังจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบของเชื้อ “จุลินทรีย์” ที่แฝงตัวมากับฝุ่นละอองในอากาศ ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส แบคทีเรีย รา โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลที่ไม่ดี แหล่งน้ำเสีย กองขยะ ซึ่งเป็นแหล่งก่อเชื้อโรคชั้นเยี่ยม
การสูดหายใจเอาสปอร์ของจุลินทรีย์เหล่านี้เข้าไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ ทำให้เกิดภูมิแพ้ หอบหืด ปอดอักเสบ ทั้งนี้อาการของผู้ป่วยจะหนักหนาระดับไหนก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อที่ได้รับและสภาวะร่างกายในขณะนั้น
ขอแสดงความยินดีด้วยที่ปัจจุบัน ประเทศไทยยัง "ไม่มี" การกำหนดค่ามาตรฐานจุลินทรีย์ในอากาศทั้งภายในและนอกอาคาร ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค เช่น กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ กรมอนามัย จำเป็นต้องคำนึงถึงประเด็นนี้
เตือนแล้วนะ! ฝุ่นอันตราย ในระยะยาวอาจถึง “ตาย” ได้
องค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติและองค์การอนามัยโลก กำหนดให้สารเคมี ไวรัส แบคทีเรีย สารกัมมันตรังสีกว่า 120 ชนิด ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในฝุ่นเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 โดย "ฝุ่น" เป็นรูปแบบของมลพิษทางอากาศที่อันตรายที่สุด! เนื่องจากความสามารถในการเจาะลึกเข้าไปในปอดและกระแสเลือดโดยไม่มีการกรอง ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเออย่างถาวร เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคปอดเรื้อรัง การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงผลกระทบต่อคุณแม่ที่อาจคลอดก่อนกำหนด และทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
“ไม่ได้อยากถาม แต่แค่อยากรู้ว่าฝุ่นแถวบ้านฟุ้งไหม อยู่ช่องนนทรีอากาศไม่ดีลำบากหายใจ ยอดตึกวันนี้ ทำไมหายไป… หาไม่เจอ” (กรุณาอ่านให้เป็นทำนองเพลง “รักติดไซเรน” ด้วยระดับเสียงสูงที่สุดเทียบเท่าน้องแพรวา)
โดยภาพรวมอนุภาคฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศ เป็นปัจจัยเสี่ยง "อันดับ 6" ที่นำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรทั่วโลก!
อ้างอิง:
- หนังสือ “PM2.5 มัจจุราชเงียบ” โดย ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์, ผศ.ดร.รณบรรจบ อภิรติกุล และ ผศ.ดร.รุจิกาญจน์ นาสนิท
- https://www.bangkokhospital.com/en/node/2441
- https://www.cbsnews.com/news/how-air-pollution-makes-people-sick-8-million-early-deaths-each-year/
- https://www.eurekalert.org/pub_releases/2019-03/esoc-apc030819.php
- https://www.greenpeace.org/thailand/story/2028/fog-or-smog/
- https://www.independent.co.uk/news/health/air-pollution-smoking-deaths-compare-a8818851.html
- https://www.who.int/airpollution/en/
ความเห็น 43
Ruang
คนกรุงเทพควรช่วยตัวเองครับ
1.ปลูกต้นไม้ริมถนนให้มากที่สุด
2.ฉีดน้ำลดฝุ่นลง ในบริเวณที่มีการก่อสร้าง
3.ให้ผู้ประกอบการขนส่ง ลงทุนการขนส่งทางรางแทนรถพ่วงและรถบรรทุก โดยลดภาษีให้
4.ผู้นำต้องแจกหน้ากากฟรีให้ประชาชน
5.สร้างระบบพ่นน้ำให้อากาศเย็นตามลำคลองต่างๆที่มีอยู่ น้ำในคลองก็จะสะอาดขึ้น
ต่อไปในอนาคต ฝุ่นเหล่านี้ถ้าสะสมมากถึงจุดหนึ่งฝนที่ตกลงมาก็จะเป็นฝนกรด จากสารพิษต่างๆ กรุงเทพจะไม่น่าอยู่
ขอบคุณครับ
03 ต.ค. 2562 เวลา 14.24 น.
KTU ...
แค่นี้ทำซีเรียส...แม่เมาะ...และแถวสระบุรีเค้ามีหนักกว่านี้ มากี่ปีล่ะ...ใครสนใจเค้าบ้าง...
03 ต.ค. 2562 เวลา 10.35 น.
🏕🌈Nid🌌🏝
อยากชมคนเขืยนค่ะ เขืยนได้ดีมากๆ เท่าที่อ่านดู ยังไม่เห็นมีผิดเลยสักตัว เก่งมากค่ะ🤗🤗🤗
03 ต.ค. 2562 เวลา 23.36 น.
กำหนดไปก็เท่านั้น!
คิดกันบ้างกรือไม่ว่าที่กินอาหารหรูฟุ่เฟือยตามสถานที่หลายแห่งนั้นการปรุงอาหารแต่ละจานได้ปล่อยควันพิษออกมาเท่าใด หรือจะแก้ว่ามันไม่พิษเพราะมันกินได้ เก็บควันเหล่านี้กลั่นกรองให้สะอาดก่อนปล่อยสู่อากาศ
อย่างน้อยก็ในกทม.และเขตควบคุมพิเศษบางแห่ง
มีอำนาจก็ใช้ในทางที่ถูกที่ควรซะๆๆ
03 ต.ค. 2562 เวลา 02.23 น.
หนึ่งซ่าส์
โครงการก่อสร้าง ทุกโครงการใน กทม. มีการควบคุมฝุ่น มลพิษหรือป่าวละคับ ที่หนักๆไม่ได้มาจากรถหรอก โครงการก่อสร้าง ขับผ่านหน้ารามดู สมัยก่อนมีที่ไหนฝุ่นคลัก
แล้วแถวสระบุรี ฝุ่นเพียบมีไครตื่นตัวบ้างมันหนักกี่ปีมาแล้ว สุขภาพคนแถวนั้นจะเป็นยังไงกันบ้างละ
ฝุ่นควันรถนั้นแค่ส่วนนึงเอง
05 ต.ค. 2562 เวลา 15.22 น.
ดูทั้งหมด