โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ช้ำใจซ้ำได้ยินแล้วจุก “สมัยก่อนพี่เงินเดือนน้อยยังอยู่ได้” เมื่อค่าครองชีพพุ่ง แต่รายได้ลด !

LINE TODAY ORIGINAL

เผยแพร่ 11 เม.ย. 2565 เวลา 17.00 น. • O.J.

ช่วงนี้หลายคนอาจอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อตัดสินใจอยากย้ายงาน ซึ่งขึ้นอยู่ปัจเจกของแต่ละบุคคล อาทิ เพื่อเพิ่มความท้าทาย รวมถึงสร้างความมั่นคงให้กับตัวเองเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จโดยไว แล้วยิ่งถ้าคุณยังเป็นนักศึกษาจบใหม่เริ่มทำงานได้ไม่นานอาจจะยังไม่ค่อยมีปากมีเสียงมากนัก ยิ่งสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันก็อยู่ในช่วงชะลอตัว เนื่องด้วยสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดไปทั่วโลกจนทำธุรกิจต่าง ๆ โดนผลกระทบเข้าอย่างจัง และเพื่อความอยู่รอดของบางองค์กรเลือกที่จะหักเงินพนักงาน ถ้าอย่างร้ายแรงสุด ๆ ถึงขั้นบีบให้ออก ส่วนเรื่องการเพิ่มเงินเดือนนั้นก็ยิ่งเป็นเพียงแค่ฝันถึงแม้ผลงานจะดีขนาดไหน แต่มีอย่างเดียวที่สวนทางกับธุรกิจคือ ‘ค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่ ปชช.รายได้ต่ำลง’

"มีเงินนับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่"

เป็นสุภาษิตไทยที่จะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยก็สามารถนำมาใช้ได้เสมอ โดยเฉพาะราคาทองคำที่ปรับขึ้นลงตลอดเวลาและเคยทุบสถิติในประเทศไทยถึง 30,000 บาท เชื่อเลยว่าผู้อ่านหลายท่านน่าจะคงเคยได้ยินญาติผู้ใหญ่พูดว่า “สมัยนู้นทอง 1 บาท ราคายังไม่ถึงพันเลย” ได้ยินแล้วจุกอกเบา ๆ ตัดภาพมา ณ ตอนนี้อยากจะมีครอบครองแต่ราคาเจ้าแรงเลยเกิน :( 

“สมัยพี่เริ่มทำงาน เงินเดือนพี่ 7,000 เอง ลำบากกว่าน้องเยอะ”

เชื่อได้เลยว่าชาวโซเซียลอย่างเรา ๆ น่าจะเคยท่องโลกออนไลน์เจอประโยคในข้างต้นไม่จากที่ใดที่หนึ่ง อย่างทวิตเตอร์ BorGor Jaidee ได้หยิบประเด็นคำว่า เงินเฟ้อ จนมีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันคึกคักอย่างเมามัน อาทิ

“สมัยพี่เริ่มทำงาน เงินเดือนพี่เจ็ดพันเอง ลำบากกว่านี้เยอะนะน้อง”
“โอเคครับพี่ประนอม, เรามาเริ่มกันที่นิยามของคำว่า เงินเฟ้อ และ ค่าเงิน กันก่อนนะครับ /แจกชีท”

— BorgorJaidee (@BorgorJ) December 5, 2020

“ป้าเป็นครู เงินเดือนเดือนละ 1120 เมื่อ ปี 2517” 

“ทานโทษค่ะ สมัยนั้นทานข้าวมื้อเท่าไหร่ ทองราคาบาทละเท่าไหร่คะพี่”

 “อดีต : เงินเดือน 7,000 ก๊วยเตี๋ยวถ้วยละ 10 บาท ปัจจุบัน : เงินเดือน 15,000 ก๊วยเตี๋ยวถ้วยละ 70 บาท”

จากการแสดงความคิดเห็นต่างไปในทิศทางเดียวกัน ว่าในอดีตค่าครองชีพกับรายได้ ไม่ได้สูงมากนั้น ทั้งราคาอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ เรียกได้ว่าค่าครองชีพและรายได้มีความสัมพันธ์กันไม่มาก็น้อย นับตั้งแต่ราคาทองหลักพันจนทะลุสู่หลักหมื่น แต่ปัจจุบัน พ.ศ.2564 พบว่าเศรษฐกิจทั่วโลกและประเทศไทยเองค่าเงินมีความผันผวนเป็นอย่างมากจากพิษโควิด และมักจะถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งในช่วงนี้คือ “เงินเฟ้อ” ซึ่งพบว่า หลายประเทศมีอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง หรือติดลบในบางประเทศ

ก่อนอื่นเลย "เงินเฟ้อ"  คือ ราคาของสินค้าหรือการบริการในช่วงระยะเวลาหนึ่งในระบบเศรษฐกิจมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็จะมีผลทำให้ค่าของเงินที่เราถืออยู่ลดลงไปด้วยเช่นกัน อาทิ เมื่อสิบปีก่อนน้องพีพี กำเงิน 20 บาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 1 ชาม และ สิบปีต่อมาน้องพีพีพบว่าเงิน 20 บาท ไม่พอที่จะซื้อแถมต้องควักเงินเพิ่มอีก เนื่องด้วยต้นทุนที่สูงขึ้นและความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นนั้นเอง

ขณะที่ “เงินเฟ้อกับทองคำ” อัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวกำหนดราคาทองคำ โดยหากปัจจัยอื่นคงที่ ราคาทองคำจะเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นและในยามที่อัตราเงินเฟ้อต่ำ ราคาทองคำก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงด้วยเช่นเดียวกัน

ข้อดีก็ยังมี ข้อเสียก็ตามมา

ทั้งนี้เงินเฟ้อก็ยังมีข้อดีเช่นกันทั้งในด้าน มูลค่าของเงิน โดยเมื่อเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น อำนาจในการซื้อจะน้อยลง จึงทำให้คนต้องนำเงินไปลงทุน เพื่อให้เงินเกิดมูลค่าเพิ่ม เท่าทันต่ออัตราเงินเฟ้อ เมื่อมีการลงทุนจะทำให้กระแสเงินสดไหลเข้าระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งจะเป็นผลทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต เมื่อมีเงินอยู่ในระบบเศรษฐกิจมาก จึงมีการจ้างงานมากขึ้นเพื่อที่จะผลิตสินค้าและบริการให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ขณะที่เกิดภาวะเงินเฟ้อจะทำให้มูลค่าหรืออำนาจของเงินลดลง แต่สัญญาการกู้เงินยังคงเดิม ในการกู้เงินที่จะได้รับผลประโยชน์จากอัตราเงินเฟ้อนั้น จะต้องเป็นประเภทอัตราดอกเบี้ยแบบคงดี เพราะสัญญาประเภทนี้จะไม่มีการปรับเพิ่มลด อัตราดอกเบี้ยหลังจากการกู้เงิน

ถึงจะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสียที่ตาม เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะทำให้ความต้องการในการจ้างงานสูงขึ้น คนมีความสามารถในการใช้จ่าย จึงมีผลทำให้สินค้าและบริการ ปรับตัวสูงขึ้น และเมื่อความต้องการซื้อที่มากขึ้นจะมีผลทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากรายได้ของประชากรเติบโตไม่ทัน กับราคาสินค้า ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ฟองสบู่แตกนั้นเอง 

ดังนั้นหากโดนคำพูดที่แทงใจดำอย่าง “สมัยพี่เริ่มทำงาน เงินเดือนพี่ 7,000 เอง ลำบากกว่าน้องเยอะ” เราควรที่จะรับฟัง ก่อนที่จะอธิบายถึงเรื่อง “เงินเฟ้อ” เพื่อให้ทราบ ซึ่งขอรับประกันเลยว่าจะเป็นบทสนทนาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยสาระและรู้ทำไมเงิน 7,000 ไม่พอใช้ในยุคปัจจุบัน 

อ้างอิง 

https://www.bot.or.th/

http://doithai.com/

https://twitter.com/BorgorJ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0