โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ฝีดาษลิงคืออะไร ? ทำความเข้าใจฉบับรวบรัด

Mango Zero

เผยแพร่ 10 ส.ค. 2565 เวลา 07.32 น. • Mango Zero
ฝีดาษลิงคืออะไร ? ทำความเข้าใจฉบับรวบรัด

ฝีดาษลิงคืออะไร ? ทำความเข้าใจฉบับรวบรัด

โควิดยังไม่หมดไป ก็มีโรคติดเชื้อใหม่มาให้คนไทยได้หวั่นใจกันอีกครั้ง เมื่อได้มีข่าวคราว “ฝีดาษลิง” หรือฝีดาษวานร (Monkeypox Virus)แพร่ระบาด และมีผู้ป่วยทั่วโลกเกือบ 3 หมื่นราย โดยส่วนใหญ่พบอยู่ในแถบทวีปยุโรปอย่างสหรัฐอเมริกา, สเปน, เยอรมัน, และฝรั่งเศส เป็นต้น ซึ่งทางฝั่งไทยก็มีผู้ติดเชื้อล่าสุดอยู่ที่จำนวน 4 ราย (อัพเดท ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2565) เป็นทั้งชาวต่างชาติและคนไทย ทำให้มีหลายๆ คนที่เริ่มกังวลใจเกี่ยวกับโรคระบาดนี้อยู่ไม่น้อย ด้วยแผลของโรคที่อาจทิ้งรอย และความทรมาณของอาการ อย่างไรก็ตาม “โรคฝีดาษลิง” ไม่ได้ติดต่อกันง่ายนัก เนื่องจากติดต่อจากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งอย่าง เลือด หนอง น้ำลายของผู้ติดเชื้อ และการใกล้ชิดมากๆ หากระมัดระวัง งดสัมผัสใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า ก็ช่วยให้ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ แต่เพื่อให้ทุกคนเข้าใจ Mango Zero ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับที่มาที่ไป, อาการ, วิธีป้องกันและปัญหาค้างคาใจที่ควรรู้เกี่ยวกับฝีดาษลิง/ฝีดาษวานร มาให้อ่านกัน!

โรคฝีดาษลิงคืออะไร?

ฝีดาษลิง (Monkeypox Virus)เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัส Othopoxvirus จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ ไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) ถูกค้นพบครั้งแรกในลิงเมื่อประมาณ 60 ปีก่อน และยังได้พบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ที่ประเทศคองโก โดยแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปในทวีปแอฟริกา ซึ่งหลักๆ การติดเชื้อก็มาจากพาหะอย่างสัตว์กัดแทะไม่ว่าจะเป็นลิง หนู กระต่าย แต่ก็สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้เช่นกัน ฝีดาษลิงแบ่งออกเป็น 2 สายพันธ์หลักได้แก่

  • สายพันธุ์ Congo Basin (แอฟริกากลาง) พบอัตราการเสียชีวิต 10% และมีรายการการติดต่อจากคนสู่คน
  • สายพันธุ์ West African (แอฟริกาตะวันตก) พบอัตราการเสียชีวิต 1%

ระยะการฟักตัวและอาการ

  • เริ่มแรก หลังได้รับเชื้อ ไวรัสจะอยู่ในต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วย และใช้เวลาฟักตัวประมาณ 7-21วัน
  • เมื่อเริ่มมีไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต จากนั้น 1-2 วัน จะมีผื่นขึ้น โดยมักจะเริ่มจากมีแผลในปาก ตามด้วยผื่น (ขนาด 2-10 มม.) ขึ้นที่ตัว หน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • 2-4 สัปดาห์ต่อมา ผื่นจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปแบบ จากผื่นนูนแดงเป็นตุ่มน้ำ จนกลายเป็นฝี จากนั้นเมื่อตุ่มหนองแตกและแห้ง ผู้ป่วยก็จะอาการดีขึ้น

ฝีดาษลิง vs ไข้ฝีดาษ - ไข้ทรพิษ

ถึงแม้จะเป็นไวรัสในกลุ่มก้อนเดียวกัน แต่ฝีดาษลิงและไข้ฝีดาษมีความแตกต่างตรงที่ ไข้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 30% ซึ่งเชื้อไวรัสจะอยู่ในคนเป็นหลัก และติดต่อได้ง่ายกว่าผ่านการหายใจ ละอองน้ำลาย ขณะที่ฝีดาษลิง ติดต่อได้เมื่อสัมผัสกับสารคัดเลือดจำพวกเลือด หนอง น้ำลายโดยตรง เชื้ออยู่ในทั้งสัตว์และคน ความรุนแรงของอาการและอัตราการเสียชีวิตขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่กล่าวมาข้างต้น

วิธีป้องกันให้ห่างโรค

  • ออกห่างจากผู้ติดเชื้อ หรือผู้มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป
  • หลีกเลี่ยงสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของผู้เสี่ยงติดเชื้อและสัตว์
  • ทานเนื้อสัตว์ปรุงสุก
  • เฝ้าระวังอาการ 21 วันหลังกลับจากประเทศเขตติดโรค

Q&A

ฝีดาษลิงติดต่อได้ทางไหนบ้าง ?

ตอบ : การติดเชื้อฝีดาษลิง ติดได้จากทั้ง “คนสู่คน”และ “สัตว์สู่คน” เช่น การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งอย่างไอ จาม ผื่น ตุ่มหนอง น้ำหนองของสัตว์หรือผู้ติดเชื้อ, การถูกกัดหรือข่วน, กินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อ ปรุงสุกไม่เพียงพอ เป็นต้น

สัตว์ที่เป็นพาหะฝีดาษลิงมีอะไรบ้าง ?

ตอบ : ถึงแม้โรคจะชื่อฝีดาษลิง แต่ควรระวังสัตว์กัดแทะทุกชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลหนูต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ รวมถึงกระรอก กระต่ายก็เป็นพาหะของไวรัสนี้ได้

ฝีดาษลิงเป็นแล้วหายเองได้ไหม ?

ตอบ : สามารถหายจากโรคเองได้ ไม่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์จึงหายจากโรค

การฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษลิงได้หรือไม่ ?

ตอบ : การฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ แต่ในไทยผู้ที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนฝีดาษหรือไข้ทรพิษมาก่อน ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนของเดนมาร์กอย่าง “Ankara” นอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยใช้ยา Tecovirimat, Cidofovir, Brincidofovir ซึ่งเป็นยากลุ่มเดียวกันกับที่ใช้รักษาโรคไข้ทรพิษ ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลวิชัยเวช, โรงพยาบาลศิครินทร์, โรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลพระราม 9

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0