โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที

ชีวิตติด TECH-ถอดบทเรียนวิกฤติน้ำท่วม การสื่อสารต้องไม่สะดุด!!

เดลินิวส์

อัพเดต 07 ธ.ค. เวลา 14.34 น. • เผยแพร่ 07 ธ.ค. เวลา 07.34 น. • เดลินิวส์
ชีวิตติด TECH-ถอดบทเรียนวิกฤติน้ำท่วม การสื่อสารต้องไม่สะดุด!!
ในช่วงหน้าฝนที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ และล่าสุดภาคใต้ก็กำลังเจอปัญหาเช่นกัน!! ท่ามกลางความเดือดร้อนระทมทุกข์ของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม….

ในช่วงหน้าฝนที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ และล่าสุดภาคใต้ก็กำลังเจอปัญหาเช่นกัน!!

ท่ามกลางความเดือดร้อนระทมทุกข์ของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม จากการที่ถนนถูกตัดขาด บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ได้รับความเสียหาย ชีวิตและทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยง อยู่ในความเสี่ยงที่จะเสียหายและได้รับอันตราย การสื่อสาร ถือเป็นสิ่งสำคัญในภาวะวิกฤติเช่นนี้ เพราะต้องใช้ในการติดต่อขอความช่วยเหลือ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเราจึงได้เห็นข่าวบ่อยๆว่าทาง สำนักงาน กสทช. ต้องออกมาสั่งกำชับโอปอเรเตอร์ หรือ ค่ายมือถือ ต้องดูแลเครือข่ายเสาสัญญาณให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ไม่สะดุด

แต่อย่างที่รู้กันว่า เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด เสาสัญญาณเครือข่ายของค่ายมือถือจะโดนน้ำท่วม หรือถูกตัดไฟฟ้าไปด้วยทำให้เสาสัญญาณ ที่ต้องอาศัยพลังงานในการการหล่อเลี้ยงการทำงานต้องได้รับผลกระทบไปด้วย จนทำให้พื้นที่นั้นๆ ถูกตัดขาดเรื่องการสื่อสาร ไม่มีสัญญาณมือถือไปด้วย

คอลัมน์ “ชีวิตติด TECH" พาไปถอดบทเรียนการสื่อสารสำคัญอย่างไรในช่วงวิกฤติน้ำท่วมที่ผ่านมาเมื่อเสาสัญาณเครือข่ายไม่สามารถใช้งานได้จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ยังสามารถติดต่อสื่อสารได้ โดยได้ลงพื้นที่ใน ตำบลกื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ที่ถูกน้ำท่วมอย่างรุนแรงและเป็นข่าวดัง

“ดัสกร ศรีดวงแก้ว” นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ บอกว่า พื้นที่บริเวณนี้มีปางช้างมากที่สุดในไทย มีช้างอยู่ประมาณ 400 เชือก และมีธุรกิจที่พัก รีสอร์ตจำนวนมาก เป็นแหล่งเที่ยวที่สำคัญของเชียงใหม่ มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวจำนวนมากในแต่ละวัน สร้างรายได้ในพื้นที่ประมาณ 1 ล้านบาทต่อวันก่อนช่วงโควิดระบาด และหลังจากโควิดมา กลับมาทำรายได้สูงสุด 6-8 แสนบาทต่อวัน และต่ำสุดประมาณ 3-4 แสนต่อวัน โดยเป็นพื้นที่ที่สร้างรายให้กับ อ.แม่แตง และเป็นอันดับต้นๆของเชียงใหม่

เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก หลังจากที่เคยเกิดน้ำท่วมหนักเมื่อปี 2516 โดยครั้งนี้ น้ำมาเร็วและแรงในช่วงตี 4 ทุกคนไม่ทันตั้งตัว แม้ว่าก่อนหน้าน้ำจะมาก็ได้รับการแจ้งเตือนจากหน่วยงานรัฐ ได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายช้างไปยังพื้นที่ปลอดภัย และนำรถกระจายเสียงออกประกาศแจ้งเตือนชาวบ้านในพื้นที่ให้เก็บของ และเมื่อน้ำมาก็ทำการอพยพประชาชนขึ้นพื้นที่สูง แต่สิ่งที่ติดขัด ถนนถูกดินสไลด์ พื้นที่ถูกตัดขาด

ส่วนเรื่องการสื่อสารก็ถูกตัดขาดเช่นกัน เนื่องจากในพื้นที่ถูกตัดกระแสไฟฟ้า ทำให้การสื่อสารไม่สามารถติดต่อได้ จากเสาสัญญาณเครือข่ายไม่มีไฟฟ้า จึงได้ติดต่อทางเอไอเอส เพื่อให้ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะ ญาติพี่น้อง ของชาวบ้านที่อยู่ในเมือง พยายามติดต่อ สอบถามถึงความปลอดภัยก็ไม่สามารถติดต่อได้

“อาทยา หยู่เย็น” หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ เอไอเอส บอกว่า เมื่อได้รับการประสานจากหน่วยงานต่างๆ ขอเน็ตเวิร์คเข้ามา ทาง เอไอเอส มีเสาสัญญาณหลายต้นในพื้นที่ ก็ได้ส่งทีมวิศวกรเข้าพื้นที่ทันที เพื่อตรวจสอบเสาสัญญาณที่ใช้งานไม่ได้ แม้บางเสาสัญญาณจะมีการใช้แผงโซล่าเซลล์ ซึ่งต้องใช้แบตเตอรี่ในการเก็บไฟ แต่เมื่อไม่มีไฟฟ้าทำให้แบตเตอรี่หมด และฝนตกตลอดเวลาแผงโซล่าเซลล์ไม่สามารถรับแสงได้ทำให้ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าให้แบตเตอรี่ได้ จึงเกิดความยากลำบาก ต้องขนแบตเตอรี่เข้ามาเปลี่ยนทุกๆ 3 ชั่วโมง เพราะมีการใช้งานเน็ตเวิร์คจำนวนมาก มีนักข่าวลงพื้นที่ มีการไลฟ์ และชาวบ้านต้องการติดต่อสื่อสารต้องใช้แบนวิธมาก

ขณะเดียวกันเมื่อนำแบตเตอรี่เข้ามาเปลี่ยนแล้ว ก็ยังต้องเสี่ยงกับเรื่องสายไฟเบอร์ ถูกต้นไม้ล้มเกี่ยวตัดขาดด้วยหรือไม่ ซึ่งโชคดีที่สายไฟเบอร์ไม่ได้รับผลกระทบ แต่บางพื้นที่เข้าไปไม่ได้ ก็ต้องขอรับสนับสนุนรถกระจายสัญญาณเคลื่อนที่ และรถเชื่อมต่อดาวเทียมเข้ามาช่วยใช้ในการติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา โดยในพื้นที่เหนือจะมี 3 ช่วงที่ต้องดูแลเน็คเวิร์คพิเศษ คือ ช่วงไฟป่าในฤดูร้อน -พายุในฤดูฝน-ท่องเที่ยวในฤดูหนาว

ด้าน “กิตติ งามเจตนรมย์” หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี เอไอเอส บอกว่า แม้ว่าเอไอเอสจะมีโครงข่ายสัญญาณทั้ง 5G และ 4G ครอบคลุมแล้วกว่า 95% ของพื้นที่ประชากร แต่ยังคงเดินหน้ายกระดับความแข็งแกร่งของโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง นำนวัตกรรมและโซลูชัน InnoVis Network มาพัฒนาคุณภาพการให้บริการและขยายเน็ตเวิร์คอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งยังนำ AI และ Autonomous Network เข้าเสริมศักยภาพของโครงข่ายสื่อสารเพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรโทรคมนาคมเทคโนโลยีอัจฉริยะหรือ Cognitive Tech-Co โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือซึ่งมีความท้าทายอย่างมาก ทั้งในด้านทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่สูง มีทิวเขา เทือกเขา ภูเขากว่า 78% รวมถึงยังมีข้อจำกัดด้านแหล่งพลังงาน และปัญหาภัยทางธรรมชาติด้วย

อีกหนึ่งผู้บริหารที่ดูแลเรื่องเครือข่าย คือ “วสิษฐ์ วัฒนศัพท์” หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส บอกว่า ปีนี้ได้ลงทุนขยายเครือข่ายประมาณ 2.2-2.5 หมื่นล้านบาท ปัจจุบัน มีเสาสัญญาณ 40,000 ต้น ในจำนวนนี้เป็นสถานีฐานโซล่าเซลล์ 13,384 ต้น และอยู่ที่ภาคเหนือ 1,600 ต้น โดยเสาสัญญาณจะเปลี่ยนมาใช้พลังงานธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งพื้นที่ภาคเหนือค่อนข้างมีความท้าทายอย่างมากในการวางแผนและออกแบบโครงข่ายให้ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า ด้วยพื้นที่สูง ทิวเขา หรือดอยต่างๆ ที่มีความสลับซับซ้อน ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ และแหล่งพลังงาน ทำให้ทีมวิศวกรต้องใช้ความมุ่งมั่นอย่างมากในการทำงาน ซึ่งจะมี 3 ช่วงที่ต้องดูแลพิเศษ คือ ช่วงไฟป่าในฤดูร้อย -พายุในฤดูฝน-ท่องเที่ยวในฤดูหนาว

โดยเอไอเอสได้หันมาใช้พลังงานธรรมชาติอย่างโซลาร์เซล กังหันลม และไฮโดรเจน และผสมผสานระบบการกระจายสัญญาณและไมโครเวฟ ด้วย Super Cell LINK ที่จะเป็นการขยายระยะการส่งสัญญาณเพื่อเชื่อมโยงจากจุดต่อจุด ทั้งจากพื้นที่ราบและพื้นที่หลังทิวเขามาสู่พื้นที่ร่องเขาด้านล่าง เพื่อยกระดับ Digital Inclusion ในพื้นที่ห่างไกลหรือในมุมอับสัญญาณที่อาจจะถูกบดบังจากภูเขาและพื้นที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการเครือข่ายในช่วงวิกฤติ ถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือที่มีภูมิศาสตร์แตกต่างพื้นที่อื่นๆ เพราะนอกจากจะไม่เพียงใช้เพื่อติดต่อสื่อสารของประชาชนในพื้นที่เท่านั้น

ยังสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวนำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ด้วย.

Cyber Daily

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น