โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมตั้งข้อสังเกต ทำไมไม่ทราบว่าท่อน้ำมันกำลังจะเริ่มรั่ว?

IGreen

อัพเดต 27 ม.ค. 2565 เวลา 14.27 น. • เผยแพร่ 27 ม.ค. 2565 เวลา 13.58 น. • IGreen

นายสนธิ คชรัตน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ได้โพสต์ในเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat เมื่อวันที่ 27 มกราคม โดยตั้งข้อสังเกตว่าบริษัท SPRC จะขอเปลี่ยนอุปกรณ์รับน้ำมันดิบกลางทะเลใหม่ทั้งหมดในปี 2568 หลังจากทำเรื่องขอซ่อมบำรุงจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และ สผ.ได้เห็นชอบเมื่อ 24 ต.ค. 64 แต่ทำไมไม่ซ่อมก่อน

นายสนธิตั้งข้อสังเกตทำไมท่อรับน้ำมันดิบกลางทะเลของบริษัท SPRC จึงแตก ทำให้เกิดน้ำมันดิบรั่วไหลมหาศาลที่มาบตาพุด
1. อุปกรณ์รับน้ำมันดิบนอกชายฝั่งของบริษัทสตาร์ปิโตรเลี่ยม รีไฟนิ่ง จำกัด หรือ SPRC ประกอบด้วย

  • ทุ่นรับน้ำมันกลางทะเลหรือ SPM (single point mooring)
  • Pipeline End ManIfold (PLEM) หรือ ปลายท่อรับน้ำมัน
  • Submarine crude oil pipline 48 นิ้วหรือท่อรับน้ำมันใต้ทะล

โดยระบบดังกล่าวทั้งหมดได้ก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2538 จะครบอายุ 30ปี ใน พ.ศ. 2568 ซึ่งสถาบัน ABS หรือ American Bureau of Shippingให้การรับรองประสิทธิภาพได้ทำการสำรวจทุก 5 ปีและกำหนดอายุใช้งานได้ไม่เกิน 30 ปี

2. บริษัท SPRC ได้ทำเรื่องขอซ่อมบำรุงและเปลี่ยนอุปกรณ์รับน้ำมันดิบกลางทะเลทั้ง 3 ส่วนมายังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และ สผ.ได้ตอบเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 64 เหตุผลสำคัญที่บริษัทแจ้งคืออุปกรณ์ดังกล่าวทั้งหมดมีความสำคัญที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการรั่วไหลของน้ำมันได้ และจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า ชุดซีลของท่อและบริเวณวาล์วเริ่มเสื่อมสภาพแล้วโดยจะขอเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดในปี 2568

3. มาตรการในรายงานอีไอเอกำหนดให้ตรวจสอบรอยรั่วของท่อโดยการทดสอบแรงดันที่มากกว่าปรกติ 1.5 เท่าเป็นเวลา 1 ชม.ให้ทำการทดสอบทุกปี ๆ ละ 1 ครั้งเพื่อทราบว่ามีจุดที่รั่วซึมหรือไม่อย่างไรและให้นักประดาน้ำลงไปสำรวจท่อใต้ทะเลทุก 5 ปี

นอกจากนี้ต้องจัดให้มีวาล์วนิรภัยในระบบท่อเป็นไปตามมาตรฐานการออก แบบของระบบสากลเพื่อป้องกันระบบท่อเสียหายและทำให้เกิดน้ำมันรั่วไหลได้

4. ข้อสังเกตสาเหตุที่ท่อแตกทำให้น้ำมันรั่วไหลคือ

  • ระบบทุ่นและท่อใช้งานมานานถึง 27 ปี และได้เสื่อมสภาพเริ่มผุกร่อนและกำลังจะหมดอายุการใช้งานในปี 2568 ข้อเท็จจริงควรทำการซ่อมบำรุงและปรับเปลี่ยนท่อทั้งหมดมาก่อนแล้วหรือไม่ ไม่ใช่จนกระทั่งอุปกรณ์หมดอายุการใช้งานแล้ว
  • มีการทดสอบความดันในท่อด้วยแรงดัน 1.5 เท่าทุกปีจริงหรือไม่ ทำไมไม่ทราบว่าท่อกำลังจะเริ่มรั่วเพราะหากความดันตกลงมากกว่าที่ผ่านมาต้องรีบแก้ไข
  • วาล์วนิรภัยในท่อน้ำมันทำงานสมบูรณ์หรือไม่ ทำไมไม่มีการตัดระบบทันทีเมื่อน้ำมันรั่วออกมามาก
  • การติดตามตรวจสอบตามมาตรการในรายงานอีไอเอได้ดำเนินการอย่างจริงจังหรือไม่ ในขณะที่สถาบัน ABS ทำการตรวจสอบทุก 5 ปี ในระหว่างนั้นมีการจัดทำมาตรการ Preventive maintanance หรือมาตรการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันหรือไม่ อย่างไร?

5. น้ำมั่นรั่วไหลในทะเลปริมาณมากถือเป็นภัยต่อสภาพแวดล้อมและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมาก สมควรที่คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันหรือ กปน. ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานเข้ามาดูแลและบัญชาการแก้ไขปัญหารวมทั้งให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงและเป็นกระบอกเสียงแทนผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ

..แต่ข้อเท็จจริงยังไม่เห็นบทบาทตรงนี้

หมายเหตุ- ภาพประกอบเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่มาบตาพุด จ.ระยอง เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2565

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0