โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ถึงเวลาบรรจุ "การสร้างสันติภาพ" ลงในพจนานุกรมไทยบ้างหรือยัง - ณัฐพล จารัตน์

LINE TODAY SHOWCASE

เผยแพร่ 28 ม.ค. 2565 เวลา 08.18 น. • ณัฐพล จารัตน์

เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ช่วงเดือนกันยายน 2561 ถือเป็นเดือนแห่งวันสันติภาพสากล บรรดานักสันติภาพ นักสันติศึกษา และนักกิจกรรมสันติวิธีทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกร่วมรณรงค์แคมเปญให้บรรจุคำว่า "Peacebuilding" ลงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับ

สำคัญ ๆ ของโลกอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

“Peacebuilding” แปลว่า “การสร้างสันติภาพ” เกิดจากคำ 2 คำ คือ Peace (สันติภาพ) + Building (การสร้าง) กล่าวกันว่า ในทศวรรษที่ 70 ศาสตราจารย์โยฮัน กัลตุง (Prof.Johan Gultung) นักวิชาการด้านสันติศึกษา 

ชาวนอร์เวย์ผู้นี้ เป็นผู้ที่ได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นบิดาแห่งสันติศึกษา (the Father of Peace Studies) และเป็นผู้ริเริ่มใช้คำนี้อย่างเป็นทางการคนแรก ๆ ของโลก เพื่อใช้อธิบายปรากฎการณ์เชิงวิชาการด้านสันติภาพและสันติศึกษาเผยแพร่จนเป็นสากล 

ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า 50 ปี เป็นเครื่องพิสูจน์ให้โลกได้เห็นแล้วว่า “Peacebuilding” ที่โลกกำลังโหยหาในปัจจุบัน จำเป็นและถึงเวลาที่ต้องบรรจุลงคำ ๆ นี้ลงในพจนานุกรม เพื่อให้โลกเกิดความตระหนักรู้ถึงความคำสัญและส่งเสริมการสร้างสันติภาพให้เห็นภาพชัดเจน 

หลายท่านที่ไม่ใช่นักสันติภาพ นักสันติศึกษา หรือนักกิจกรรมด้านสันติวิธี อาจไม่เข้าใจและฉงนสงสัยว่า การบรรจุเพียงแค่คำ ๆ หนึ่งลงในพจนานุกรมนั้น จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมอย่างไร คำ ๆ นี้สำคัญได้อย่างไร และเพียงแค่คำ ๆ นี้คำเดียวจะสร้างสันติภาพขึ้นมาได้อย่างไร

พจนานุกรม (Dictionary) คือ หนังสือหรือเอกสารรวบรวมคำศัพท์และความหมายของภาษาใดภาษาหนึ่ง สามารถบอกชนิดของคำ ประเภทของคำ ที่มาของคำ ความทันสมัยหรือล้าสมัยของคำ เพื่อให้คนที่สื่อสารในภาษานั้น ๆ เข้าใจความหมายตรงกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน 

ยกตัวอย่าง ภาษาไทย เราจะอ้างถึงถึงพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ถือเป็นพจนานุกรมอ้างอิงและเป็นมาตรฐานสำหรับการเขียนหนังสือทางราชการของประเทศ ก่อนบรรจุคำต่าง ๆ ลงไป แต่ละคำและแต่ละความหมายจะได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจากปรมาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ 

รวมถึงนักภาษาศาสตร์ภาษาไทย และภาษาอื่นที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เป็นฉบับล่าสุด โดยลงเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นมา

พจนานุกรมไทยฉบับปัจจุบัน เผยแพร่ทั้งในฉบับรูปเล่มและออนไลน์ เนื่องจากฉบับรูปเล่มค่อนข้างใหญ่และหนา การใช้แบบออนไลน์จึงสะดวกและเข้าถึงได้ตลอดเวลา ท่านสามารถเข้าใช้งานได้จากลิ้งค์นี้ https://dictionary.orst.go.th/

ผมลองค้นหาคำว่า "การสร้างสันติภาพ" ปรากฎว่าไม่พบข้อมูล จากนั้น ผมลองแยกเป็น 2 คำ คือ "การสร้าง" ปรากฎว่าไม่พบข้อมูลเช่นกัน แต่คำว่า "สันติภาพ" ปรากฎความหมายว่า "ความสงบ” 

จึงเห็นได้ว่า "การสร้างสันติภาพ" ยังไม่ปรากฎเป็นคำ ๆ เดียวหรือมีความหมายเจาะจงในพจนานุกรมไทยฉบับปัจจุบัน 

จากที่กล่าวมา ท่านสังเกตุไหมว่า ในประเทศตะวันตกภาคประชาชนสามารถทำกิจกรรม เพื่อเสนอให้คำที่พวกเขาเห็นว่ามีความจำเป็น มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคม จึงรวมตัวกันนำเสนอต่อพจนานุกรมภาษาอังกฤษของ Oxford และ Cambridge 

หรือแม้แต่พจนานุกรมภาษาอังกฤษอเมริกันของ Webster ให้พิจารณาบรรจุ Peacebuilding ลงในพจนานุกรม ซึ่งเหล่าพจนานุกรมกำลังรับพิจารณาอย่างเป็นขั้นเป็นต้น ถ้าคำนี้สามารถบรรจุในพจนานุกรมขึ้นมาได้ จะเกิดประโยชน์อะไรต่อสังคม 

อธิบายได้ 3 ข้อ ดังนี้

1. เห็นพลังอำนาจการเคลื่อนไหวภาคประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงและควบคุมทางสังคม

2. เป็นการยกย่องและให้เกียรติต่อนักวิชาการสันติศึกษาที่มีบทบาทต่อการสร้างสันติภาพจากทุกมุมโลก โดยเฉพาะเป็นเกียรติให้ศาสตราจารย์โยฮัน กัลตง 

3. แสดงความหมายเป็นกลาง เป็นมาตรฐาน แต่สามารถนำไปประยุกต์ นิยาม หรือตีความในมุมมองอื่น ๆ ได้

สำหรับในช่วงเวลาที่กำลังรณรงค์แคมเปญนั้น ผมเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมรณรงค์กับแคมเปญนี้จากประเทศไทย ด้วยการส่งข้อความติด #peacebuilding ลงในสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมาก จนได้รับข้อความขอบคุณทางทวิตเตอร์จากศาตราจารย์โยฮัน กัลตุง 

จึงรู้สึกปราบปลื้มใจที่ได้รับข้อความจากบุคคลสำคัญและเป็นถึงบิดาแห่งสันติศึกษาที่นักสันติศึกษาทั่วโลกสรรเสริญมากที่สุดคนหนึ่ง 

ในประเทศไทย ผมยังไม่เคยเห็นปรากฎการณ์ของภาคประชาชนรณรงค์ให้บรรจุคำ ๆ ใดที่มีอิทธิพลต่อสังคมลงในพจนานุกรมไทย ถ้าท่านเริ่มต้นบรรจุคำว่า "การสร้างสันติภาพ" ได้ ก็น่าจะเป็นนิมิตหมายอันดีของสังคมไทย และอาจเป็นการกำหนดนิยามของความสงบสุขของประเทศ

ที่เรากำลังจะสร้างขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องบรรจุ “การสร้างสันติภาพ” ที่เหมาะสมกับสังคมของไทยลงในพจนานุกรมไทยทั้งในอดีต ปัจจุบัน และกำหนดอนาคต

อ้างอิงและที่มาของภาพประกอบ

* Conciliation Resources. “Help get peacebuilding in the dictionary”. เข้าถึงได้จาก https://www.c-r.org/news-and-insight/help-get-peacebuilding-dictionary

* SGCG. “This peace day, Will you put in a good word for us?”. เข้าถึงได้จาก https://www.sfcg.org/put-in-a-good-word-peacebuilding/

* ราชบัณฑิตยสภา. “พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ออนไลน์”. เข้าถึงได้จาก https://dictionary.orst.go.th/index.php

* วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554”. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พจนานุกรม_ฉบับราชบัณฑิตยสถาน_พ.ศ._2554

* Johan Gultung. “Conflicts?Violence”. เข้าถึงได้จาก https://twitter.com/johangaltung

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0