โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

จริงหรือมั่ว... 3 ความเชื่อเกี่ยวกับดวงจันทร์และสุขภาพ

Health Addict

อัพเดต 19 ก.ย 2562 เวลา 07.55 น. • เผยแพร่ 19 ก.ย 2562 เวลา 07.52 น. • Health Addict
มนุษย์เราเฝ้ามองดวงจันทร์มาหลายชั่วอายุคน แล้วก็เชื่อว่าดวงจันทร์ส่งอิทธิพลต่อชีวิตและสุขภาพของเราไม่ต่างกับที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เช่น เรามักจะนอนไม่หลับในคืนจันทร์เต็มดวง มักโมโหร้าย หรือมีผลต่อรอบประจำเดือน… ความเชื่อเหล่านี้ จริงหรือมั่ว
มนุษย์เราเฝ้ามองดวงจันทร์มาหลายชั่วอายุคน แล้วก็เชื่อว่าดวงจันทร์ส่งอิทธิพลต่อชีวิตและสุขภาพของเราไม่ต่างกับที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เช่น เรามักจะนอนไม่หลับในคืนจันทร์เต็มดวง มักโมโหร้าย หรือมีผลต่อรอบประจำเดือน… ความเชื่อเหล่านี้ จริงหรือมั่ว

มนุษย์เราเฝ้ามองท้องฟ้ามาหลายชั่วอายุคน ความไม่รู้ที่มีหรือความรู้ที่มีอยู่น้อยนิด ยิ่งทำให้เราหลงไหลและเชื่อในพลังของดวงดาว หนึ่งในนั้นคือ "ดวงจันทร์" ซึ่งในหลายอารยธรรมทั่วโลกถือเป็นเทพองค์หนึ่งและมีการบูชากันอย่างเป็นกิจวัตร… ความหลงไหลที่มีสะท้อนผ่านงานสร้างสรรค์หลายชนิด อย่างในหนังสือ 1Q84 ของฮารูกิ มูราคามิ ก็มีตอนหนึ่งที่กล่าวถึงดวงจันทร์ว่า “ดวงจันทร์เฝ้ามองโลกอย่างใกล้ชิดมายาวนานกว่าใคร ได้เห็นทุกเหตุการณ์ของสรรพสิ่ง เป็นประจักษ์พยานของทุกการกระทำ”
อิทธิพลของดวงจันทร์ต่อโลกของเราที่เห็นได้ชัดที่สุดคือปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง และในคืนจันทร์เต็มดวง National geographic บอกว่ายังมีอีกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือเหล่าปะการังจะปล่อยไข่และเซลล์สืบพันธุ์มากกว่าช่วงอื่นๆ ของเดือน… ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลของดวงจันทร์ จึงทำให้เกิดความเชื่อว่า ร่างกายและจิตใจของเราก็ได้รับอิทธิพลจากดวงจันทร์เหมือนกัน
เราจะโมโหร้ายกว่าปกติในคืนจันทร์เต็มดวงจริงมั้ย? รอบประจำเดือนของเราได้รับอิทธิพลจากดวงจันทร์หรือเปล่า? เรามักนอนไม่หลับในคืนเดือนเพ็ญ?… ความเชื่อเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน 

  ความเชื่อที่ 1: เรามักจะมีอารมณ์รุนแรง ในคืนเดือนเพ็ญ อีกหนึ่งความเชื่อคือเรามักจะรู้สึกหงุดหงิด งุ่นง่าน โมโหง่าย อารมณ์รุนแรงมากกว่าปกติเมื่อวันนั้นตรงกับคืนเดือนเพ็ญ อย่างตำนานเรื่องมนุษย์หมาป่า ก็สะท้อนด้านอันน่าขยะแขยงและโหดร้ายของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในคืนพระจันทร์เต็มดวง
แล้วในชีวิตจริง อารมณ์ของเราได้รับอิทธิพลจากดวงจันทร์จริงมั้ย?… คำตอบคือ"ไม่เกี่ยว"
ทีมนักวิจัยจากสวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาผู้ป่วยจิตเวชรวม 17,966 คน จากสถานบำบัด 15 แห่ง นานกว่า 10 ปีแล้วก็พบว่า ผู้ป่วยไม่ได้มีความก้าวร้าวเพิ่มขึ้นในช่วงคืนจันทร์เต็มดวง ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง Lunar cycles and violent behavior ที่สรุปว่าพฤติกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้น ไม่มีความเชื่อมโยงกับพระจันทร์
  ความเชื่อที่ 2: ดวงจันทร์… มีอิทธิพลต่อรอบประจำเดือนของสาวๆ มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โดยปกติแล้วรอบประจำเดือนของผู้หญิงจะอยู่ที่ 28 วัน ขณะที่ดวงจันทร์เองใช้เวลาโคจรรอบโลก 1 รอบก็ใช้เวลา 27 วัน 7 ชั่วโมงกับอีก 43 นาที และปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม 1 รอบใช้เวลา 29.5 วัน โดยช่วงทศวรรษที่ 1970-1990 มีการศึกษาหลายชิ้นที่บ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างดวงจันทร์และรอบเดือน รวมถึงระดับของเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับและการตื่น คอยรักษาจังหวะเวลาชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ 
แล้วสรุปว่าดวงจันทร์มีอิทธิพลต่อรอบเดือนของเรามั้ย? จากบทความวิชาการเรื่อง Do lunar phases influence menstruation? A year-long retrospective study บอกว่า “ไม่เกี่ยว”… ทั้งรอบเดือนและการปฏิสนธิทารกในครรภ์ 
อย่างที่เรารู้กันดี ว่ารอบเดือนของผู้หญิงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดย บรูซ อาร์ คาร์ ศาสตราจารย์ด้านนรีเวชจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส บอกว่ารอบเดือนของผู้หญิงใช้เวลาประมาณ 21-35 วัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งเรื่องของอายุและระดับฮอร์โมน ซึ่งถ้ารอบเดือนของใครน้อยหรือมากกว่านี้จนผิดสังเกต ก็ควรรีบไปพบแพทย์จะดีกว่า
ความเชื่อที่ 3: เรามักจะนอนไม่หลับในคืนจันทร์เต็มดวง
บางคนเชื่อว่าแสงจันทร์นวลผ่องที่สาดส่องผ่านม่านหน้าต่างมานั้น ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความโรแมนติก ซึ่งอันนี้เราก็ไม่ขอปฏิเสธ… แต่สิ่งที่เราอยากรู้ก็คือแล้วมันรบกวนการนอนของเราจริงมั้ย คำตอบคือ"จริง"
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้รวบรวมข้อมูลการนอนหลับของอาสาสมัคร 33 คนที่ต้องนอนหลับในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง ศึกษารูปแบบการนอน ปฏิกิริยาของสมอง รวมถึงระดับฮอร์โมนเมลาโทนินและคอร์ติซอลที่หลั่งออกมา… หลังจากนั้นก็ดูความเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบการนอนและวัฏจักรของดวงจันทร์ ก่อนจะสรุปว่า ช่วงก่อนและหลังคืนจันทร์เต็มดวง อาสาสมัครจะใช้เวลานานกว่าเดิมกว่าจะหลับ ทำให้มีเวลาหลับน้อยกว่าเดิมประมาณ 20 นาที นอกจากนี้คุณภาพการนอนยังน้อยลง ยิ่งช่วงใกล้จันทร์เต็มดวง ฮอร์โมนเมลาโทนินก็ยิ่งลดลง โดยที่พวกเขาก็อธิบายไม่ได้ว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่อาสาสมัครต่างก็นอนในห้องที่มืดสนิท ไม่มีหน้าต่างให้แสงจันทร์ส่องมาถึง
สรุปว่า คืนจันทร์เต็มดวงไม่ได้ทำให้เราอารมณ์รุนแรงขึ้นแบบมนุษย์หมาป่า ไม่ได้มีผลกับรอบเดือนของผู้หญิง แต่ที่ไม่น่าเชื่อคือ จากการทดลองทำให้รู้ว่าแม้เราจะนอนในห้องที่มืดสนิทไร้แสงจันทร์ส่องถึง แต่คุณภาพการนอนก็อาจจะแย่ลงได้โดยที่นักวิจัยเองยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไม
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0