เวลามีเรื่องใครให้เม้าท์ เป็นประเด็นมาแรงแซงทางโค้ง
ชื่อคนที่ถูกเม้าท์คงหนีไม่พ้นเป็น Trending # ยอดนิยมใน Twitter
มีทั้งมาเดี่ยวๆ หรือมาเป็นคู่
เพราะหลายครั้งอ่านข่าวยังเผือกไม่สะใจพอ ต้องตามต่อมาดูความเห็นที่ใครต่อใครเม้าท์กันใน #
วันนี้เลยอยากพามาดูกันค่ะ ว่าเรื่องที่เม้าท์กันใน # นั้นมีอะไร
ว่ากันว่า # เป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้การพิมพ์ของเราคล้ายการพูดมากขึ้นค่ะ
เวลาพิมพ์ปกติ แม้ใส่น้ำเสียงไปในประโยคไม่ได้
ก็มี # นี่แหละ ที่ใส่คำคมๆ สำนวนจ๊าบๆเพื่อเน้นย้ำโทนประโยคที่พิมพ์ว่าเรารู้สึกยังไง
เช่น #เฉียบ #โสดยืนหนึ่ง #เหนื่อยจนท้อไปเอง และอีกมากมาย
#CelebrityGossip
เมื่อ # ยอดนิยมในช่วงเวลาหนึ่งๆมักมาพร้อมประเด็นที่ร้อนแรง
ความเห็นผ่าน # โดยเฉพาะข่าวซุบซิบดารา
จึงมักมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่แง่บวกมากๆก็แง่ลบสุดๆ
คนที่ถูกวิจารณ์มักถูกนิยามเป็นตัวละครที่มีสีขาวหรือดำโดยอัตโนมัติ
#A = ชู้
#B = คนดี
#C = นางเอก
ไม่มีใครตัดสินได้ว่า จริงๆแล้วสิ่งที่ชาวเน็ตส่วนใหญ่วิจารณ์ถูกหรือผิด
แต่หากใครเข้าไปส่อง # เหล่านี้ ก็จะพบว่าในหลายครั้ง ความคิดเห็นที่ไปในทางเดียวกันมากๆไม่ว่าจะแง่บวกหรือลบ มักจะรุนแรงขึ้น
คล้ายว่าเมื่อเราได้เจอคนคิดแบบเดียวกัน มักจะเกิดความรู้สึกว่า #เห็นไหมใครๆก็คิดแบบฉัน
และเมื่อเสียงเล็กๆของใครต่อใครมารวมกัน # # # # # # # #
ก็เกิดเป็นมวลอารมณ์ขนาดใหญ่ อาจเรียกสิ่งนี้ว่าเป็น ‘กระแส’ ที่ส่งไปถึงคนที่เป็นเจ้าของ # ที่ทุกคนกำลังพูดถึงกัน
#HashtagActivism
Hashtag อีกแบบที่มักจะมีอารมณ์มาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
คือ # ที่พูดถึงการรณรงค์เรื่องต่างๆ
เช่น #MeToo ที่สนับสนุนให้ผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศออกมาแชร์เรื่องราวของตัวเอง
เพื่อส่งพลังว่าเรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นกับผู้หญิงคนอื่นอีก
หรือ #GretaThunberg ชื่อของสาวน้อยที่ออกมารณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม ก็เป็น # ที่มีคนทั่วโลกเข้ามาถกเถียงถึงปัญหาโลกร้อนที่ Greta เป็นคนจุดประเด็นขึ้นมา
สำหรับต้นตอที่มาของการรณรงค์เหล่านี้ ก็มีประเด็นที่มาจากเรื่องราวแง่ลบเช่นกัน
ผู้หญิงที่ใช้ #MeToo ย่อมรู้สึกอึดอัดกับเรื่องราวการล่วงละเมิดทางเพศที่เคยโดน
เลยออกมาเล่า แม้จะรู้สึกไม่ดีที่ได้นึกย้อนเหตุการณ์ แต่พวกเธอก็หวังว่า # ที่เล่าออกไปจะขับเคลื่อนกระแสบางอย่างในสังคมได้
กระแส # พลังที่ส่งออกไป
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในโลกนี้อาจดูเหมือนว่าแบ่งเป็นสองแบบหลักๆคือ แง่บวกกับแง่ลบ
แต่พลังที่เราส่งออกไป อาจไม่จำเป็นต้องคล้อยตามเรื่องที่เกิดขึ้นทุกครั้ง
นั่นคือ แม้เป็นเรื่องแง่ลบ เราก็ยังสามารถส่งกระแสพลังบวกให้กันได้
เช่น น้อง Greta ที่ส่งพลังบวกให้ทุกคนออกมาแก้ปัญหาโลกร้อน
จะเห็นได้ว่า พลังบวกที่พูดถึง
ไม่ใช่การวิจารณ์โดยหยิบแค่ความเห็นแง่บวก หรือ การชื่นชมคนอื่นมาพูดเท่านั้น
พลังบวกสามารถเป็นการวิจารณ์ที่พูดในแง่ลบ
แต่เป็นการ ‘ติเพื่อก่อ’ โดยอยู่ในกรอบที่ไม่ล้ำเส้นใคร
เช่น หากวิจารณ์ใครในแง่ลบ ก็ไม่ควรล้ำเส้นไปถึงขั้น Bully หรือ พูดจารุนแรงกับคนๆนั้น
การแสดงความคิดเห็นย่อมเป็นสิทธิของทุกคน
แล้วทุกวันนี้เราอยากส่งพลังที่สร้างกระแสแบบไหนให้สังคมของเรา
ที่มา
https://www.hastac.org/blogs/cbthomas/2019/03/11/hashtag-activism-good-or-bad-civic-engagement
https://www.tintup.com/blog/how-hashtags-changed-the-way-we-talk/
About Me
Instagram: http://www.instagram.com/faunglada
Facebook: https://www.facebook.com/LDAWorld/
Youtube: https://www.youtube.com/ldaworld
Twitter: @faunglada
Website: www.ldaworld.com
ความเห็น 4
ในการพิจรณาถึงในความเหมาะสมและถูกต้องให้ดีแล้ว ย่อมสามารถที่จะทำให้รู้ได้ว่าควรจะทำเช่นไร.
19 ก.ย 2562 เวลา 13.26 น.
หลงตัวเองค่ะ
19 ก.ย 2562 เวลา 11.15 น.
N_Tansuwannarat
บทความนี้ประกอบไปด้วยสามเรื่อง
1. ตัวอักษรเป็นสิ่งที่ไร้ "ความนึกคิด" แต่มนุษย์เก่งในการทำให้เคลื่อนไหวทาง "ความรู้สึก" ได้เสมอ
2. กระแส มีหน้าที่ให้เรารู้ "ความเป็นมา" ไม่ใช่ให้เรารู้ "ความเป็นไป"
3. ข้อเสียของการแสดงความคิดเห็นคือ "เราเคารพตัวเองมากกว่าเคารพผู้คน"
19 ก.ย 2562 เวลา 12.24 น.
Ok! Ok..alright..right now.
19 ก.ย 2562 เวลา 11.32 น.
ดูทั้งหมด