โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

มนุษย์เงินเดือนบริหารความเสี่ยงอย่างไร

Johjai Online

อัพเดต 26 ก.ค. 2562 เวลา 05.31 น. • เผยแพร่ 25 ก.ค. 2562 เวลา 17.00 น. • johjaionline.com
มนุษย์เงินเดือนบริหารความเสี่ยงอย่างไร
ถ้ายังอยากทำงานอย่างมีความสุข สิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือ การบริหารความเสี่ยง ตั้งแต่วันที่ภัยยังไม่เกิด

การเติบโตอย่างรุนแรงของสื่อออนไลน์ ทำให้สื่อเก่าอย่างโทรทัศน์ทุนหายกำไรหดกันเป็นจำนวนมาก
หนึ่งในเหตุการณ์ที่คนในวงการสื่อรู้สึกใจหายคือ ข่าวที่ว่า ผู้บริหาร บมจ. บีอีซี เวิลด์ หรือ โทรทัศน์ช่อง 3 จะมีการคืนใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัล จำนวน 2 ช่องช่อง 3 Family (ช่อง13) และ ช่อง 3 SD (ช่อง 28)
ส่งผลให้พนักงานต้องออกจากงาน ไม่ต่ำกว่า 200 คนด้วยความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์เงินเดือนหลายคน ทำงานด้วยความหวาดกลัว
ไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้า ตัวเองจะต้องถูกให้ออกจากงานหรือไม่
ถ้ายังอยากทำงานอย่างมีความสุข สิ่งที่ต้องทำตอนนี้คือ การบริหารความเสี่ยง ตั้งแต่วันที่ภัยยังไม่เกิด
1.ยอมรับความเสี่ยงว่า “การตกงานเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา”
คำพูดยอดนิยมของคนที่ถูกบังคับให้ออกจากงาน คือ
“เรารักงานนี้ เรารักองค์กร”
“เราทำงานดีมาตลอดไม่เคยมีประวัติด่างพร้อย ทำไมต้องให้เราออก”
“เราไม่เคยคิดเรื่องนี้มาก่อน”
เราคงต้องเริ่มจากการเปลี่ยน Mindset ใหม่สำหรับมนุษย์เงินเดือนยุคนี้แล้วว่า
เราอยู่ในยุคที่ไม่มีงานถาวรมั่นคงแบบในอดีตแล้ว ที่ทุกคนจะได้ทำงานในองค์กรหลายสิบปี และได้อยู่เพียงอาชีพเดียวจนเกษียณเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
เราไม่ควรไปโทษ “ปัจจัยภายนอก” ว่าเป็นเพราะยุคนี้มี digital disruption เราถึงต้องตกงาน
จริงๆ แล้วการเสี่ยงตกงาน เกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยไหนก็ตาม วิกฤตเศรษฐกิจอย่างช่วงต้มยำกุ้ง ภัยน้ำท่วม การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ผู้บริหารงานไม่เก่ง หรือเรื่องใกล้ตัวเช่น ประสบอุบัติเหตุจนพิการ หรือป่วยด้วยโรคร้ายรุนแรง
2.วางแผนเกษียณก่อนเกษียณ
ช่วงให้ออกจากงาน มักเกิดขึ้นกับคนในวัยใกล้เกษียณ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง เราจึงต้องเริ่มวางแผนเกษียณตั้งแต่วันนี้
การหาที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อศึกษาการทำประกัน และการวางแผนการเงินเป็นเรื่องการลงทุนที่ทุกคน “ต้องทำ” เพราะนี่เป็น “ทางรอด” ไม่ใช่ “ทางเลือก”
3.ฝึกกระจายความเสี่ยงให้เป็น
เป็นหลักการที่รู้กันดีว่าเราไม่ควรใส่ไข่ในตะกร้าใบเดียว  เช่น สามีภรรยา หรือพ่อแม่ลูก ไม่ควรทำงานที่เดียวกัน และอย่ายึดติดว่าคนเราจะต้องทำ “อาชีพที่รัก” เพียงอาชีพเดียวเท่านั้น
มองหาอาชีพสำรองจากสิ่งที่คุณชอบหรือถนัดเอาไว้ล่วงหน้าและเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่วันนี้ เช่น ถ้าคุณมีความถนัดในการถ่ายภาพหรือตัดต่อวิดีโอ คุณอาจเป็นอาจารย์สอนการทำสื่อในมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน หรือรับงานทำสื่อออนไลน์ หรือลองไปเรียนวิชาความรู้ใหม่ๆ ที่ใกล้เคียงกับความถนัด เช่น การวาดสติ๊กเกอร์ไลน์
ในยุคนี้ มีคนเป็นจำนวนมากค้นพบว่า งานสำรองสร้างรายได้มากกว่างานประจำ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกรณีช่อง 3 คืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล และให้พนักงานออกจากงาน คือ รอบๆ ตัวเรามีความเสี่ยงเสมอ
การไม่รู้จักความเสี่ยงและไม่รีบจัดการบริหารคือความเสี่ยงที่สุดแล้ว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0