โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ไม่ได้มีแค่พวกก่อหวอด พบกับปลากัดไทย 4 ชนิดที่ขยายพันธุ์ด้วยการ "อมไข่"

Amarin TV

เผยแพร่ 13 ก.ค. 2562 เวลา 10.02 น.
ไม่ได้มีแค่พวกก่อหวอด พบกับปลากัดไทย 4 ชนิดที่ขยายพันธุ์ด้วยการ
คงไม่มีใครปฏิเสธความสวยงาม และทางท่าอันดุดันของ ปลากัด (Siamese fighting fish) ปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปลากัดไทยเป

คงไม่มีใครปฏิเสธความสวยงาม และทางท่าอันดุดันของปลากัด (Siamese fighting fish) ปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และมันยังกลายเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ที่ได้รับความสนใจจากนักเลี้ยงปลาทั่วโลกเป็นอย่างมาก

และก็อย่างที่หลายคนคงจะทราบกันดี ว่าปลานิสัยก้าวร้าวชนิดนี้มีพฤติกรรมเวลาผสมพันธุ์โดยการสร้างฟองอากาศบริเวณผิวน้ำที่เรียกว่า “หวอด” เพื่อนำไข่ไปเกาะไว้กับหวอด เพื่อรอฟักเป็นตัว แต่ท่ามกลางปลากัดจำนวนมากมายที่พบในโลกนี้ ยังมีปลาอีกหลายชนิดในกลุ่มปลากัด ที่มีพฤติกรรมแตกต่างไปจากปลาที่ก่อหวอด เพราะปลากัดกลุ่มนี้แพร่พันธุ์ด้วยการฟักไข่ในปาก และในวงการปลาสวยงามเรียกชื่อพวกมันว่า “ปลากัดอมไข่” (Mouthbrooder)

<strong>ปลากัดอัลบิ ( B. albimarginata) ซึ่งเป็นประเภทอมไข่ พบได้ในอินโดนีเซีย</strong>
ปลากัดอัลบิ ( B. albimarginata) ซึ่งเป็นประเภทอมไข่ พบได้ในอินโดนีเซีย

ความแตกต่างที่ชัดเจนอย่างมากระหว่างปลากัดสองกลุ่มนี้ นั่นคือปลากัดอมไข่ส่วนใหญ่มักไม่มีสีสันที่สวยงามนัก และยังไม่มีความก้าวร้าว ซ้ำยังชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงอีกต่างหาก ที่สำคัญมีส่วนหัวและขนาดลำตัวที่ใหญ่โตกว่าปลากลุ่มก่อหวอด มีครีบต่างๆ เล็กกว่ามาก และมีกลุ่มประชากรที่พบได้ยากพอสมควร โดยประเทศมีปลากัดอมไข่อยู่ด้วยกัน 4 ชนิดได้แก่…

ปลากัดอมไข่กระบี่ – เป็นปลากัดประเภทอมไข่ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย ปลาตัวผู้มีสีสันสวยงาม ครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางสีแดง ครีบท้องจะมีริมสีน้ำเงิน ปลาตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า หัวแหลมกว่า และสีสันไม่สวยงามเท่าตัวผู้ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 8 เซนติเมตร พบเฉพาะกอหญ้าริมลำธารที่น้ำไหลเอื่อยๆ ซึ่งเป็นลำธารที่ไหลมาจากภูเขาหินปูนที่น้ำมีความกระด้างและมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 7.5–8.5 มีแคลเซียมคาร์บอเนตละลายสูง ในเขตจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยและถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ปัจจุบัน สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยงโดยมนุษย์

ปลากัดปีนัง – รูปร่างและคล้ายปลากัดทั่วไป แต่มีลำตัวป้อมใหญ่กว่า หัวโต ครีบหางใหญ่ ตัวผู้มีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างแก้มสีฟ้าเหลือบเขียว เกล็ดมีจุดสีฟ้าเหลือบทั้งตัว ครีบสีน้ำตาลอ่อน ครีบหลังและครีบหางมีลายเส้นประสีคล้ำ ครีบก้นมีขอบดำ ตัวเมียสีน้ำตาลอ่อน และมีแถบสีคล้ำพาดตามแนวยาวของลำตัว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-7 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทย พบได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น และพบได้เรื่อยไปในแหลมมลายูจนถึงรัฐปีนังในมาเลเซีย

ปลากัดหัวโม่งจันทบุรี – มีรูปร่างคล้ายปลากัดปีนัง แต่ปลากัดหัวโม่งมีตัวโต ปลายปากแหลม ครีบทุกครีบใสโปร่งแสง ลำตัวสีเขียวอ่อน มีแถบสีดำพาดตามความยาวลำตัว 3 แถบ ตากลมโตสีเหลือง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10 เซนติเมตร ปลาตัวผู้เครื่องครีบทุกครีบและแหลมยาวกว่าตัวเมีย ตัวเมียไม่มีจุดไข่นำเหมือนปลากัดประเภทก่อหวอด พบกระจายโดยทั่วไป ในประเทศไทยบริเวณลำธารน้ำตกแถบภาคตะวันออก โดยสภาพของน้ำที่พบจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 7-7.5 นอกจากนั้นยังพบได้ในแหล่งน้ำสภาพเดียวกันของประเทศกัมพูชา เป็นปลาที่ไม่มีพฤติกรรมดุร้าย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้แล้วในที่เลี้ยง

ปลากัดอมไข่สงขลา – จัดเป็นปลากัดประเภทปลากัดอมไข่ชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย โดยพบครั้งแรกจากการสำรวจที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลบนภูเขาอาศัยบริเวณรากไม้หรือใบไม้ใกล้ฝั่ง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6.3 เซนติเมตร (2.5 นิ้ว) ปลาตัวผู้จะไม่ก่อหวอดแต่จะอมไข่ไว้ในปากจนฟักเป็นตัว ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ คือ ลำธารที่น้ำไหลเชี่ยวแรงบนภูเขา พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำบนภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น และพบได้เรื่อยไปในแหลมมลายูจนถึงรัฐปีนังในมาเลเซีย ปัจจุบันเป็นปลาที่หาได้ยากและใกล้จะสูญพันธุ์ เพราะการถูกลุกลํ้าพื้นที่อยู่อาศัย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น