โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ระวังเชื้อก่อโรคใน “หมูสามชั้น” ต้ม

WeR NEWS

เผยแพร่ 22 ก.ค. 2565 เวลา 06.28 น.

สำหรับ หมูสามชั้น อาหารที่เป็นแหล่งไขมันของคนไทยมาแต่โบราณ ทั้งต้ม ทอดกรอบ หรือทอดน้ำปลา ล้วนเป็นเมนูที่หลายคนชื่นชอบและทานกันบ่อย ปกติเราจะทานเมนูสามชั้นที่ปรุงให้สุกแล้ว ซึ่งไม่น่ามีปัญหาอะไร ทว่าหากระหว่างการนำมาเตรียมหรือปรุงอาหาร ผู้ปรุงไอหรือจามรดอาหาร หรือหากปรุงสุกแล้วเก็บรักษาไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง อาจเป็นสาเหตุให้เชื้อโรคที่อาจมีในอาหารเช่น สแตฟิโล ค็อกคัส ออเรียส และ ซาลโมเนลลา มีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว และ เมื่อเราทานเข้าสู่ร่างกายก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้

โดย สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส เป็นเชื้อที่มีในฝุ่นละออง ขยะมูลฝอย เส้นผม ผิวหนัง และอาจพบปนเปื้อนในอาหารที่มีการสัมผัสกับคน ส่วน ซาลโมเนลลา เป็นเชื้อที่ปนเปื้อนลงสู่อาหารจากสุขลักษณะที่ไม่ดี

ส่วนบุคคลของผู้ปรุง ประกอบและสัมผัสอาหาร เช่น การล้างมือไม่สะอาด เข้าห้องน้ำแล้วไม่ล้างมือ อันตรายของเชื้อ สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย รายที่รุนแรงมีอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ส่วนเชื้อ ซาลโมเนลลา ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ และโรคไข้ไทฟอยด์

ทั้งนี้ สถาบันอาหารได้เก็บตัวอย่างหมูสามชั้นต้มจำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้าในตลาดเขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อ สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส และเชื้อ ซาลโมเนลลา ปนเปื้อน ผลปรากฏว่า หมูสามชั้นต้ม 5 ตัวอย่างพบเชื้อ สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส 1 ตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐานกำหนด และตรวจไม่พบเชื้อ ซาลโมเนลลา ในทุกตัวอย่าง เห็นข้อมูลอย่างนี้แล้วขอแนะว่าท่านที่ชอบสามชั้นต้ม ควรอุ่นให้ร้อนก่อนทานทุกครั้ง หรือหากเก็บควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อความปลอดภัยจากเชื้อโรค

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0