โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เตือนข่าวปลอม แอปฯ “เป๋าตัง-ออมสิน” ให้ยืมเงิน

PPTV HD 36

อัพเดต 13 ส.ค. 2565 เวลา 04.28 น. • เผยแพร่ 13 ส.ค. 2565 เวลา 04.16 น.
เตือนข่าวปลอม  แอปฯ “เป๋าตัง-ออมสิน” ให้ยืมเงิน
กระทรวงดิจิทัลฯ เตือนข่าวปลอมอ้างชื่อแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง และแบงก์ออมสิน ให้ยืมเงิน พบติดท็อป 10 ข่าวปลอมคนสนใจมากสุด

เตือน! อย่าหลงเชื่อ “เว็บราชการปลอม” ระวังถูกล้วงข้อมูลการเงิน

คลังเตือนภัย "เว็บไซต์กระทรวงการคลังปลอม" อย่าคลิก ระวังโดนหลอก

นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับระหว่างวันที่ 5 – 11 ส.ค. 65 มีรายละเอียดดังนี้ อันดับ 1 วิธีไอบีบหัวใจ ช่วยแก้ไขอาการเจ็บหน้าอก กระตุ้นระบบหมุนเวียนของโลหิต ให้จังหวะเต้นของหัวใจเป็นปกติ อันดับ 2 แอปพลิเคชันเป๋าตังให้ยืม 100,000 บาท สามารถถอนเงินจาก ATM ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อันดับ 3 พบ อสม. เสียชีวิตเดือนละ 600 รายจากการเป็นตัวอย่างฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 อันดับ 4 จีนระบายน้ำท่วมลงแม่น้ำโขง เดือน ส.ค-ก.ย อาจเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ประเทศไทย-ลาว อันดับ 5 ออมสินปล่อยสินเชื่อ Softloan ให้ยืม 5,000 - 500,000 บาท ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องค้ำ ผ่านไลน์

ขณะที่อันดับ 6 เพจสินเชื่อ mymo เป็นเพจสินเชื่อทางการของธนาคารออมสิน อันดับ 7 เพจ ธกส เพื่อนแท้ของทุกการลงทุน เป็นเพจทางการของธนาคาร ธ.ก.ส. อันดับ 8 เพจกรมการขนส่ง รับทำใบขับขี่ออนไลน์ ไม่ต้องสอบและอบรมอันดับ 9 ดื่มน้ำสกัดจากใบบัวบก ผักชีลาว ขึ้นฉ่ายและมะระขี้นก ช่วยรักษามะเร็งก้านสมอง และอันดับ 10 เรื่อง 5 ประเทศในอาเซียนรวมไทย ยกเลิกใช้เงินดอลลาร์ในการชำระเงินระหว่างประเทศ เริ่มวันที่ 1 พ.ย. 65

ทั้งนี้ รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม มีข้อความเข้ามา 11,856,795 ข้อความ โดยจากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 358 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 166 เรื่องโดยเป็นข่าวในกลุ่มนโยบายรัฐ/ข่าวสารราชการมากสุด จำนวน 93 เรื่อง

นางสาวนพวรรณ กล่าวต่อว่า อยากขอความร่วมมือจากประชาชน เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อเลือกแชร์ และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์@antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87” นางสาวนพวรรณกล่าว

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0