โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สังคม

โอมิครอน กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว HK.3 เจอในไทยแล้ว แพร่เร็วกว่าเดิม ถึง 95%

sanook.com

เผยแพร่ 27 ส.ค. 2566 เวลา 10.17 น. • Sanook
โอมิครอน กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว HK.3 เจอในไทยแล้ว แพร่เร็วกว่าเดิม ถึง 95%
โอมิครอนอัปเกรด กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว HK.3 เจอในไทยแล้ว 3 ราย แพร่ระบาดเร็วกว่า XBB.1.16 ถึง 95%

โอมิครอน กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว HK.3 เจอในไทยแล้ว 3 ราย แพร่ระบาดเร็วกว่า XBB.1.16 ถึง 95%

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า ยุทธวิธีล่าสุดของโควิด-19 เพื่อความอยู่รอดคือการ “กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว(L455F + F456L)” โดยมีไวรัสกลายพันธุ์ลักษณะนี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2566

การ“กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (L455F + F456L)” ถือเป็นความพยายามล่าสุดของไวรัสโควิด-19 ในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมไปกับเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะกับผิวเซลล์มนุษย์ ทำให้ไวรัสแทรกเข้าไปติดเชื้อในเซลล์ได้ดีกว่าโอไมครอนทุกสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน

กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว ยุทธวิธีล่าสุดของโควิด-19

จากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของโควิด-19 ทั่วโลกอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี ย่างเข้าปีที่ 4 พบการกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (L455F + F456L) เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2566

ขณะนี้มีจำนวนถึง 2,261 ราย โดยพบในไทย 3 ราย จาก กทม. 2 รายและจากเชียงใหม่ 1 ราย (HK.3) ซึ่งต้องสืบสวนโรคต่อไปว่าทั้งสามรายมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ หากไม่เกี่ยวข้องกันอาจประเมินเบื้องต้นว่า ได้มีการแพร่ระบาดของโอไมครอนที่มีการกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (L455F + F456L) ในไทยมากกว่าที่มีรายงานในฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสส”

เพราะการตรวจโควิด-19 ด้วยเทคนิค PCR ตามด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมในระยะหลังทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกลดลงอย่างมาก (เปลี่ยนไปตรวจ ATK ซึ่งไม่สามารถระบุสายพันธุ์ของโควิด-19 ได้) จำนวนที่เราพบอาจเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรที่โผล่เพียงส่วนยอดแหลมขึ้นมาเหนือผิวน้ำเท่านั้น (The Tip Of The Iceberg)

ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมานักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้ว่าโควิด-19 มีกลยุทธ์ใหม่ (New trick) ในการกลายพันธุ์เพื่อ “สลายตำแหน่ง” ที่แอนติบอดี(ที่เกิดขึ้นในร่างกายจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติ) เข้าจับกับส่วนหนามของไวรัสเพื่อการทำลายอนุภาคไวรัส ยิ่งไปกว่านั้นการกลายพันธุ์ในลักษณะนี้ยังช่วยให้ส่วนหนามสามารถเข้าจับกับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น

กล่าวคือมีการกลายพันธุ์สองตำแหน่งติดกัน (double/combo mutation) คือ L455F และ F456L แบบพลิกขั้ว (Flip) โดยการเปลี่ยนแปลงในระดับกรดอะมิโน “ฟีนิลอะลานีน (F)” และ “ลิวซีน (L)” โดยตำแหน่งที่กลายพันธุ์แรก (455) จะพลิกขั้วจาก L เป็น F และตำแหน่งถัดมา (456) พลิกขั้วจาก F เป็น L เมื่อรวมการเปลี่ยนแปลงสลับขั้วของสองกรดอะมิโนเข้าด้วยกันจะทำให้ส่วนหนามของไวรัสสามารถ

  • หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้นโดยการสลายตำแหน่งที่แอนติบอดีจะเข้าจับกับส่วนหนามของไวรัสเพื่อทำลายอนุภาคไวรัส
  • ทำให้ส่วนหนามของไวรัสสามารถจับกับผิวเซลล์มนุษย์ (ACE2) ได้แน่นขึ้นช่วยให้ไวรัสแทรกเข้าสู่เซลล์ได้ดียิ่งขึ้น

โอไมครอนกลายพันธุ์คู่พลิกขั้ว HK.3 เจอในไทยแล้ว 3ราย

ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า การกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (Flip combo mutation) ทำให้เกิด XBB สองสายพันธุ์ใหม่ขึ้น ที่โดยศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีกำลังเฝ้าระวังคือ

  • GK(XBB.1.5.70) มีต้นตระกูลเป็น XBB.1.15 เกิดกลายพันธุ์บนส่วนหนามสองตำแหน่งติดกันคือ L455F และ F456L และ
  • HK.3 (XBB.1.9.2.5.1.1.3) มีต้นตระกูลมาจาก EG.5.1 มีการกลายพันธุ์บนส่วนหนามสองตำแหน่งติดกันคือ L455F และ F456L เช่นกัน

HK.3 พบแล้วใน 10 ประเทศทั่วโลกจำนวน 118 ราย พบในประเทศไทย 3 ราย HK.3 ที่พบในไทยมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า สายพันธุ์หลัก XBB.1.16 ที่ระบาดในไทยถึง 95% โดยศูนย์จีโนมฯกำลังติดตามอย่างใกล้ชิด

การพบ HK.3 ในประเทศต่างๆ

จากความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกในการเฝ้าติดตามสายพันธุ์ของโควิด-19 ที่เปลี่ยนแปลงมาอย่างต่อเนื่องด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมของโควิด-19 ทั้งจีโนม (Global Genomic surveillance tracks COVID-19 variants) และแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสส(GISAID)” พบโอไมครอน HK.3 ในประเทศต่างๆ ดังนี้

  • จีน 88 ราย คิดเป็น 0.282% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ
  • เกาหลีใต้ 13 ราย คิดเป็น 0.036% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ
  • สหรัฐ 5 ราย คิดเป็น 0.004% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ
  • ญี่ปุ่น 3 ราย คิดเป็น 0.011% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ
  • ไทย 3 ราย คิดเป็น 0.078% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ
  • สิงคโปร์ 2 ราย คิดเป็น 0.026% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ
  • สเปน 2 ราย คิดเป็น 0.012% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ
  • ออสเตรเลีย 1 ราย คิดเป็น 0.004% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ
  • แคนาดา 1 ราย คิดเป็น 0.003% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ
  • เยอรมนี 1 ราย คิดเป็น 0.005% ของทุกสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศ

ส่วนโอไมครอนสายพันธุ์ GK (XBB.1.5.70) พบทั่วโลก 336 ราย พบมากใน บราซิล สหรัฐ สเปน ฝรั่งเศส แคนาดา โปรตุเกส อังกฤษ ไอซ์แลนด์ ฯลฯ ตามลำดับ ยังไม่พบในประเทศไทย

นักวิจัยชาวจีน ดร. หยุนหลง ริชาร์ด เฉา จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้ทำการตรวจสอบในหลอดทดลองยืนยันว่า

  • โอไมครอน XBB ที่มีการกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (XBB*+L455F+F456L ) จะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดในปัจจุบัน
  • โอไมครอน XBB ที่มีการกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (XBB*+L455F+F456L ) จะจับกับผิวเซลล์มนุษย์ได้ดีที่สุดในปัจจุบัน
  • XBB ที่มีการกลายพันธุ์ที่ F456L หรือ L455F เพียงตำแหน่งเดียวจะจับกับผิวเซลล์ได้ไม่ดี
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0