การช้อปปิงผ่านอีคอมเมิร์ชเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นจากนักช้อป จนแบรนด์สินค้า ร้านค้าปลีกต่างๆ รวมถึงผู้ค้ารายย่อย ต่างลงสนามอีคอมเมิร์ซ มาร์เก็ตเพลส
ความนิยมซื้อของผ่านอีคอมเมิร์ซในไทยขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนจากสถิติ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พบว่ามูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยปี 60 มีมูลค่า 2.8 ล้านล้านบาท โดยมีมูลค่ามากที่สุดจากการค้าปลีกและค้าส่ง
อ่านเพิ่มเติม : ที่นี่
เมื่อพูดถึงอีคอมเมิร์ซ ณ เวลานี้คงต้องยกให้ ’LAZADA’ และ’Shopee’ ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดและมีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่คล้ายกันมาก จนถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงหรือเปรียบเทียบกันอยู่เสมอ
แม้ทั้งคู่จะเข้ามาดำเนินการในไทยในช่วงเวลาที่ต่างกัน 'ลาซาด้า' เริ่มเข้ามาในไทยเมื่อ 2555 ส่วน 'ช้อปปี้' ดำเนินธุรกิจในไทยอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงปลายปี 2558
แต่ด้วยกลุ่มเป้าหมายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คล้ายกันตั้งแต่ต้น อีกทั้งทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มเชื่อมตลาดระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค และขยายตลาดระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภคผสมผสานกัน โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และค่าคอมมิชชั่นกับผู้ขาย
การให้บริการที่คล้ายคลึงกันนี้ทำให้เกิดการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ของอีคอมเมิร์ซทั้ง 2 รายใหญ่ จึงเป็นเรื่องปกติของนักช้อปก่อนตัดสินใจเรื่องแพลตฟอร์มที่ให้บริการ
ecommerceiq ซึ่งเป็นเว็บไซต์วิจัยด้านการตลาดในอาเซียน เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของนักช้อปชาวไทย ที่มีต่อ 2 อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ อย่าง ‘LAZADA’ และ ’Shopee’ ในหลายด้าน ตั้งแต่เรื่องชื่อเสียง จนถึงเรื่องความสะดวกสบายในการช้อปปิง
ด้าน ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ลาซาด้าได้ 9.1% ขณะที่ช้อปปี้เป็นรองมีเพียง 5.4% อาจเป็นเพราะเวลาเริ่มกิจการที่ช้ากว่า ทำให้ยังไม่สามารถเป็นที่รู้จักในวงกว้างได้เท่ากับลาซาด้าที่ออกสตาร์ทในไทยเร็วกว่า 3 ปี
แม่เหล็กตัวสำคัญที่ดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาเลือกใช้อีคอมเมิร์ซมากขึ้น ยอมออกจากการช้อปปิงจับต้องสินค้าที่คุ้นชิน คือราคาที่ถูกกว่าในคุณภาพที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน อีคอมเมิร์ซจึงใช้กลยุทธ์หั่นราคา แจกโค้ดลดราคา จัดโปรโมชั่น โดยลูกค้า มองว่าช้อปปี้เหนือกว่าในด้านราคา(ราคาถูกกว่า) โดยลาซาด้าได้ 13.3% ส่วนช้อปปี้ 22.6% ด้านส่วนลดที่ลาซาด้าได้ไป 0.3% และช้อปปี้อยู่ที่ 0.5%
ด้านประเภทสินค้า ลูกค้ามองว่าลาซาด้ามีสินค้าให้เลือกมากกว่าช้อปปี้อยู่เล็กน้อย คือ 14.2% ต่อ 13.2% เนื่องจากทั้งคู่มีสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่อุปกรณ์โทรศัพท์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงเครื่องสำอาง ทั้งจากผู้ค้ารายย่อย และจากแบรนด์ของสินค้าโดยตรง ทำให้ทั้งคู่มีสินค้าจำนวนมากให้ลูกค้าได้เลือกอย่างอิสระ
การคืนสินค้า คนไทยมองว่าลาซาด้าคืนสินค้าได้ง่ายกว่า คิดเป็น 5.5% และช้อปปี้ 4.1%
ส่วนความเชื่อมั่นว่าสินค้าเป็นของแท้นั้น ลาซาด้าเป็นรองช้อปปี้ อยู่ที่ 0.9% ต่อ 1.2% แม้หลายคนเริ่มคุ้นชินกับการซื้อของผ่านอีคอมเมิร์ซ แต่สิ่งที่ควรจะตรวจสอบและตั้งข้อสังเกตอยู่เสมอคือเรื่องคุณภาพสินค้า เนื่องจากอีคอมเมิร์ซแต่ละแห่งมีสินค้าจากหลากหลายร้านค้า ที่อาจเป็นช่องทางให้ผู้ค้าที่ไม่ประสงค์ดีฉวยโอกาสเอาเปรียบลูกค้าได้
ด้านการบริการลูกค้าที่ดี ลาซาด้าได้ไป 6.2% ส่วนช้อปปี้ได้ 9.4% ลาซาด้าและช้อปปี้ ต่างเปิดให้ลูกค้ากลับมารีวิวสินค้าหรือร้านค้า เพื่อเป็นการยืนยันความพึงพอใจในคุณภาพสินค้า การบริการ เพื่อสะท้อนให้ลูกค้ารายต่อๆไป เห็นถึงความน่าเชื่อถือและนำข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
ส่วนการติดต่อกับผู้ขายลาซาด้า 7.1% ขณะที่ช้อปปี้ถูกมองว่าการติดต่อกับผู้ขายดีกว่า อยู่ที่ 11.9%
เรื่องการจัดส่ง ลาซาด้ากลับเป็นต่อเรื่องจัดส่งเร็ว ได้ไป 10.3% ขณะที่ช้อปปี้ได้ 7.3% อาจเป็นเพราะลาซาด้ามีช่องทางส่งสินค้าที่มากกว่า ทั้ง ไปรษณีย์ไทย, Kerry DHL, Yusen Logistics, JC Logistics, TP Logistics, LEL Express ในขณะที่ช้อปปี้ มีเพียง 3 ช่องทางหลักคือ ไปรษณีย์ไทย,Kerry และ DHL
นอกจากนี้ยังมีเรื่องค่าจัดส่งฟรีที่ลาซาด้าทำได้ดีกว่า คิดเป็น 13.2% ส่วนช้อปปี้มีการจัดส่งฟรีน้อยกว่า อยู่ที่ 7.2% และลาซาด้ามีทางเลือกชำระเงินมากกว่า 12.2% ช้อปปี้ 8.1%
ส่วนเว็บไซต์ใช้งานง่าย ลาซาด้าอยู่ที่ 7.5% ช้อปปี้ได้ไป 9.0%
จากตัวเลขข้างต้นสะท้อนว่าทั้ง ลาซาด้าและช้อปปี้ ไม่มีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งยังมีลักษณะการแข่งขันที่คล้ายกันมาก ที่สำคัญรายได้และกำไรของทั้งคู่ใน 3 ปีที่ผ่านมายังเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รายได้รวมและกำไร(สุทธิ) "LAZADA"
2558 ที่ 3,197 ล้านบาท ขาดทุน 1,959 ล้านบาท
2559 มีรายได้ 4,267 ล้านบาท ขาดทุน 2,115 ล้านบาท โดยในปีนี้มีการเปลี่ยแปลงครั้งสำคัญ คือการเข้าซื้อกิจการลาซาล้า ของ อาลีบาบา กรุ๊ป ประกาศซื้อกิจการของลาซาด้าในช่วงกลางปี
ส่งผลให้ ปีถัดมา (2560) มีรายได้ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้าเกือบ 3 ใน 4 ส่วนอยู่ที่ 1,757 ล้านบาท และขาดทุน 568 ล้านบาท (อ่านเพิ่มเติม : ที่นี่)
รายได้รวมและกำไร(สุทธิ) "Shopee"
ในปี 2558 ช้อปปี้ ทำรายได้ที่ 8,787 บาท แต่ปรากฎว่า ขาดทุน 211 ล้านบาท
ต่อมาในปี 2559 มีรายได้รวม 56,606 บาท และขาดทุน 529 ล้านบาท
ส่วนปี 2560 รายได้รวม 140 ล้านบาท แต่กลับขาดทุนมากถึง 1,404 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 100%
การแข่งขันในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เริ่มเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเมื่อมีอีคอมเมิร์ซใหม่ๆ กระโดดเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นผลดีต่อผู้บริโภคที่เพิ่มโอกาสที่ในการเลือกซื้อสินค้า
อย่างไรก็ตามต้องติดตามถึงสถานการณ์ตลาดอีคอมเมิร์ซต่อไปว่า หากความนิยมยังสวนกระแสกับรายได้เช่นนี้ กลุ่มอีคอมเมิร์ซจะปรับตัวอย่างไร
ความเห็น 11
•.☾*เหม่งคุง➴*☾
shopee ดีกว่าเยอะ
13 ส.ค. 2561 เวลา 03.02 น.
เคยซื้อของลาซาด้าครั้งเดียว ช็อปปี้ไม่เคย
ไม่ชอบซื้อของออนไลน์ ไม่มั่นใจ มีแต่รูป ของจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ เหมือนเสี่ยงโชค
ต้องเห็นของ จับต้องได้ จึงจะซื้อ!!!
12 ส.ค. 2561 เวลา 16.59 น.
ゆじ
Shopee:
1 มีข่องทางการติดค่อกับผู้ขายโดยตรง แต่หลายครั้งที่ผู้จายคอบข้าหรือไม่ตอบเลยก็มี
2 สินค้าหลากหลายมากๆ
3 ข่องทางการชำระเงินน้อยมัแค่ต่ายเงินก่อนแล้วรับสินค้า แบบนี้ไม่ดี
4 ส่งข้อความโปรโมขันบ่อยเกินไป น่ารำคาญมาก
5 สินค่าบางอย่างไท่ตรงกับที่แสดงไว้
ตัดสินใจเอาเองนะ จากประสบการณ์ตรง
12 ส.ค. 2561 เวลา 16.58 น.
ゆじ
Lazada:
1 สินค้าส่วนมากดป็นของ Taobao
2 มีส่วนลดน้อย เมื่อหลายปีก่อนมีรหัสลดทุกวันแค่ตอนนี้ร้อยมาก ต้องซื้อหบายพันจึงจะลด
3 ไม่มีอีเมลและโทรศัพท์ติดต่อ ถ้าจะติดต่อต้องผ่านเขทอย่างเดียว ไม่สะดวกเลย
4 สินค้าผ่านการใข้งานมาแยอะแล้วเอามาขาย ไม่ใข่มือหนึ่ง เพราะเป็นนโยยายการคืนสินค้า
12 ส.ค. 2561 เวลา 16.51 น.
ゆじ
ไม่มีเว็บไหนดีกว่า จะเปรียบเทียบให้ดู
Lazada:ดี:1 คืนสินค้าได้ตามเงื่อนไข
2.สินค้าหลากหลาย
3 ส่วนใหญ่บริการส่งฟรี
ไม่ดี: 1. เอาสืนค้าที่คืนจากลูกค้ามาขายอีก
2.ราคาแพง
3 การขนส่งไม่ดี ไม่รับสายส่งสินค้าคืนอย่างเดียว ไม่สนใจลูกค้า
Shopee:1 ราคาไม่แพงมากแต่ค่าส่งแพงมาก คิดค่าส่งทุกชิ้นที่ซื้อ แย่มาก
2 ส่วนมากผู้ขายจะให้โอนเงิน ไม่สะดวกและไม่อยากซื้อ น้อยมากจะเก็บเงินปลายทาง
12 ส.ค. 2561 เวลา 16.44 น.
ดูทั้งหมด