“ทะเบียนสมรส” REGISTRATION OF MARRIAGE ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เรียกว่ากฎหมายลักษณะผัวเมีย กรมการปกครอง บันทึกสถิติการจดทะเบียนสมรส ปี พ.ศ. 2563 จำนวนทั้งสิ้น 271,344 คู่ (ที่มาhttp://stat.bora.dopa.go.th/stat/marry)
การจดทะเบียนสมรสมีความสำคัญทางกฎหมาย เพราะใช้เป็นหลักฐานแสดงถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวและเป็นการยืนยันสิทธิต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยาและบุตร โดยชายหญิงต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ถ้าคู่สมรสอายุระหว่าง 17 ปีบริบูรณ์ ไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องนำบิดามารดา หรือ ผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย/กรณีที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำการสมรสได้/ส่วนผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง
- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
- กรณีหญิงหม้ายจะสมรสใหม่ จะดำเนินการได้เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น/สมรสกับคู่สมรสเดิม/มีใบรับรองแพทย์สาขาเวชกรรมว่าไม่ได้ตั้งครรภ์/ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
- บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
-หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้น มอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างชาติขอจดทะเบียนสมรส)
ทั้งนี้ การจดทะเบียนสมรส สามารถคัดรับรองเอกสารการทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษได้ ตามมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก “GECC” สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย
#กรมการปกครอง