โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

นายกฯ ฟังข้อเสนอเอกชนส่งออกอาหารทะเล ของบสามพันล้าน พัฒนาสายพันธุ์กุ้ง สู้โรคระบาด แก้ปัญหาแบงก์ไม่ปล่อยกู้

The Reporters

อัพเดต 17 ก.พ. เวลา 10.58 น. • เผยแพร่ 17 ก.พ. เวลา 10.58 น.

วันนี้ (17 ก.พ.68) ที่ บริษัท ไทยยูเนียน ซีฟู้ด อ.สิงหนคร จ.สงขลา นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่รับฟังปัญหาการผลิตและส่งออกอาหารทะเล โดยมี นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ นายฤทธิรงค์ บุญมีโชติ กรรมการบริหาร บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จํากัด (มหาชน) ให้การต้อนรับและยื่นข้อเสนอถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมกุ้งแช่แข็งไทยให้แข่งขันได้ในเวทีโลก

นายธีรพงศ์ กล่าวว่า 47 ปีที่เราดำเนินธุรกิจอาหารแปรรูป ปัจจุบันมีการจ้างแรงงานทั้งหมด 45,000 คน รายได้ปี 67 รวม 138,000 ล้านบาท ธุรกิจหลักคือ ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป 49% อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง 31% ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง 13% และธุรกิจอาหารสำเร็จรูป 7% นอกจากจะผลิตในประเทศไทย เราเป็นบริษัทอาหารทะเลรายแรกๆ ที่ลงทุนในต่างประเทศทั่วโลก อเมริกา ยุโรป แอฟริกา และมีโรงงานที่จังหวัดสมุทรปราการ และสงขลา

นางสาวแพทองธาร จึงถามกับผู้บริหารว่า โรงงานมีอะไรเชื่อมโยงกับชาวบ้านหรือไม่ ถ้าไม่มีอยากจะให้ช่วยซัพพอร์ต เพราะประกอบธุรกิจมา 40 ปี ต้องมีความรู้ให้กับชุมชน จะสามารถทำ CSR ที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาของเกษตรกรได้หรือไม่ นายฤทธิรงค์ ตอบว่า เราอยู่ในพื้นที่ไหน เราจะดูแลชาวบ้านรอบโรงงานก่อน ทุกกิจการไม่ว่าจะไทยหรือมุสลิม ผู้บริหารก็มีนโยบายชัดเจน พื้นที่ที่เราอยู่ต้องนำความต้องการของชาวบ้านมาเป็นรั้วของเรา และร่วมทุกกิจกรรมของหมู่บ้าน รวมถึงการให้ทุนการศึกษา

นายฤทธิรงค์ กล่าวต่อว่ากลุ่มไทยยูเนี่ยน มี 4 โรงงาน มีการจ้างงาน 40,000 คน อุตสาหกรรมกุ้งเราทำทั้งส่งออกเป็นหลัก บริษัทจำเป็นที่จะต้องได้มาตรฐานต่างๆ ทั้งของญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป แม้แต่ในประเทศไทย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย ด้วยนโยบายวันสแตนดาร์ด ทั้งนี้บริษัทมีโรงงาน 17 แห่งทั่วโลก อยู่ใน 14 ประเทศ โดยโรงงานอาหารหลักที่อยู่ในประเทศไทย มีที่จังหวัดสงขลา และจังหวัดสมุทรสาคร

นอกจากนี้บริษัท ไทยยูเนี่ยน ซีฟู้ด จำกัด ได้เสนอปัจจัยส่งเสริมอุตสาหกรรมกุ้งแช่แข็งไทยให้แข่งขันได้ในเวทีโลก ดังนี้

1.ผลักดันเพิ่มผลผลิตกุ้งขาวขึ้นไปที่ระดับ 450,000 ตัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายโดยทำ FTA กลับประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น ประเทศกลุ่ม EU ปัจจุบันเสียภาษีนำเข้าจาก GSP อยู่ที่ 12-20% รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาสายพันธุ์ลูกกุ้งอย่างเต็มที่ให้มีปริมาณกุ้งเพียงพอยังโดดคู่ค้าต่างประเทศ และให้มีการสนับสนุนเงินทุนให้เกษตรกร เช่น ธกส. สงสัยจะเสร็จให้เข้าถึงอันลงทุน

2.ด้านรายงานและส่งเสริมพลังงานสะอาด เดินตากค่าแรงและค่าพลังงานเป็นต้นทุนการผลิตหลักสำหรับอุตสาหกรรมกุ้ง โดยค่าแรงขั้นต่ำประเทศไทยอยู่ที่ 372 บาทสูงกว่าประเทศคู่แข่งประมาณ 1 เท่าตัว รายการกำกับดูแลแรงงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนด IUU

3.ให้สนับสนุนความยั่งยืนสร้างนโยบายจูงใจสนับสนุนให้เกษตรกรหันเข้าสู่การใช้พลังงานสะอาด พลังงานทางเลือก

นอกจากนี้ได้เรียกร้องให้นายกฯ ช่วยเหลือในการพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง โดยสร้างสถาบันวิจัยพันธุ์กุ้ง ลงทุน 3,000 ล้านบาท พัฒนาสายพันธุ์ในภาคใต้และภาคตะวันออก ลงทุน 1,000 ล้านต่อแห่ง ทำต่อเนื่อง 3-10 ปี อุตสาหกรรมจะแข็งแรงมากขึ้น จะต้องมีการลองผิดลองถูก สิ่งที่เราขาดคือผู้ผลักดันและงบประมาณ เรื่องนี้จะต้องมีการผลักดัน เพราะโรคต่าง ๆ ก็มีการพัฒนา หากเราหยุดพัฒนาจะทำให้ถอยหลัง

ส่วนปัญหาที่ทำให้ผลผลิต อาหารทะเลลดลง มี 3 สาเหตุ คือ 1.สายพันธุ์ ที่อยากเสนอให้จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ในภาคใต้และภาคตะวันออก 2. โรคระบาด ที่ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณให้กับกรมประมง เพื่อแก้ไขปัญหา 3.การปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตรกร สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง