โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

อาจารย์ธรณ์แนะแก้น้ำมันรั่ว เร่งออกประกาศเขตทางทะเล

IGreen

อัพเดต 11 ก.พ. 2565 เวลา 08.29 น. • เผยแพร่ 11 ก.พ. 2565 เวลา 07.57 น. • iGreen

นักวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ยกตัวเลขประเมินความเสียหายที่เคยศึกษาหาดแม่รำพึงกรณีน้ำมันรั่วอยู่ที่ 1,700 ล้าน บวกเงินเฟ้อปัจจุบันต้องจ่ายมากกว่านี้ อาจารย์ธรณ์แนะเร่งออกประกาศเขตทางทะเลเพิ่มอำนาจแก้ปัญหา ตั้งกองทุนฉุกเฉินใช้จ่ายหน้างาน 

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวสวัสดิ์ อาจารย์คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวระหว่างเสวนาวิชาการ หัวข้อ "พลิกฟื้นทะเลไทยจากมหันตภัยน้ำมันรั่วไหล" ตอนหนึ่งว่า เหตุน้ำมันรั่ว 2 ครั้งที่ระยองในรอบ 9 ปี เริ่มทำให้ความเชื่อมั่นลดลง และยังรั่วซ้ำครั้งที่ 3 อีกเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2565 

นอกจากนั้นคนทำงานได้รับผลกระทบเท่ากันคือไม่มีเงินในการทำงานไม่ทราบเบิกได้เมื่อไหร่ เช่น งานของม.เกษตรฯ ใช้เงินส่วนตัวทั้งนั้น ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเงินส่วนกลางก็ร่อยหรอจึงไม่ต้องพูดถึงการเบิกในอีก 2 ปี แต่ควรมีกองทุนหรือมีประกันที่สามารถนำเงินฉุกเฉินออกมาใช้จ่ายได้ในช่วงเกิดผลกระทบ มิฉะนั้นจะติดขัดในการเก็บข้อมูลเก็บตัวอย่าง 

ขณะที่เงินกรมกองก็ไม่ค่อยมีอยู่แล้ว ขณะที่การระดมคนมารวมกันแก้ปัญหาก็ไม่มีคน ไม่มีน้ำมัน ไมมีเรือ โดยที่ไม่รู้ว่าจะกลับไปเบิกได้เมื่อไหร่ เงินประกันหรือเงินฉุกเฉินไม่ต้องมากมายแต่สำคัญมากให้การทำงานหน้างานว่องไวขึ้น และอีกเรื่องจะต้องมีการออกประกาศเขตทางทะเลในพื้นที่ระยอง 

"ครั้งนี้ผู้ว่าฯ มีอำนาจประกาศได้เฉพาะแค่หาดแม่ลำพึง จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีก็พยายามกันอยู่แต่ติดขัดมา 2-3 ปีแล้ว ถ้าประกาศเขตฉุกเฉินทางทะเลไม่ได้ ซึ่งเกี่ยวกับ พ.ร.บ.รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล แต่ตอนนี้ประกาศได้เฉพาะหาด มันก็จะมีผลกระทบเรื่องอื่นเพราะไม่กฎหมายที่จะมีอำนาจใช้เต็มเมื่เกิดเหตุทางทะเลตราบใดที่เราไม่มีการประกาศเขตจังหวัดทางทะเล เรามีที่อ่าวไทยตัว ก. ข้างนอกไม่มี" อาจารย์ธรณ์ระบุ

นางสุมนา ขจรวัฒนากุล ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทช. กล่าวว่า การเกิดเหตุซ้ำ เรียกว่าอัพเซ็ตมากเมื่อวานรั่วอีกแล้ว จริง ๆ บริษัทน่าจะรู้ระบบท่อของตัวเองอย่างดีว่าเมื่อเกิดเหตุจะมีน้ำมันตกค้างในท่อเมื่อไปกู้ขึ้นมาก็ต้องเตรียมการเพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้

"สุดท้ายก็ยังเกิดขึ้นอีกไม่ใช่น้อย ๆ ตั้ง 5,000 ลิตร เขาเรียกว่าของเทก่าไม่ทันจะเคลียร์ของใหม่ก็มาอีกแล้วบางครั้งเราก็รู้สึกเซ็งเหมือนกัน" 

เครดิตภาพ : กรมเจ้าท่า 
เครดิตภาพ : กรมเจ้าท่า 

อย่างไรก็ตาม ทาง ทช.อยากให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินความเสียหายทางเศรษฐศาสตร์โดยข้อมูล ดร.อรพรรณ ณ บางช้าง-ศรีเสาวลักษณ์ นักวิชาการจากสถาบันฯ ซึ่งศึกษาเรื่องประเมินมูลค่าความเสียหายชายหาดแม่รำพึงที่ได้รับผลกระทบ เมื่อปี 2553 อยู่ที่ 1,700 ล้านบาท ซึ่งต้องบวกเงินเฟ้อในปัจจุบันด้วย

ผศ.ดร.มารุต สุขสมจิตร อาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ขอฝากให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ถ้าเป็นไปได้ให้แก้ที่เหตุและจะแก้อย่างไร โดยเฉพาะการจัดทำรายงานวิเคราะผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ซึ่งในรายการทุ่นรับน้ำมันไม่ได้อยู่ในอีไอเอทั้งที่ควรพิจารณาผลกระทบตั้งแต่แรกเพื่อไม่ต้องมาแก้ปัญหาอย่างที่เป็นอยู่

"เสียคนเสียแรง เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทุกคนมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ไม่นับรวมเรื่องสิ่งแวดล้อม ผมว่าเราย้อนไปดูว่าเป็นไปได้ไหม ที่เขาไม่เอาไปผนวกเพราะอะไร ถ้าผนวกไม่ได้เพราะมันทำให้ล่าช้า เยิ่นเย้อมีเครื่องมือตัวอื่นไหมที่จะทำให้โครงการประเภทนี้ทำยังไงที่จะปรับปรุงแก้ไขและตั้งรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ฝากทาง คพ.ด้วยไม่อย่างนั้นจะแก้กันไม่จบไม่สิ้น" อาจารย์มารุตระบุ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0