โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

สะพานแห่งกาลเวลา : ประวัติศาสตร์ของต้นคริสต์มาส

MATICHON ONLINE

อัพเดต 12 ธ.ค. 2565 เวลา 10.35 น. • เผยแพร่ 12 ธ.ค. 2565 เวลา 03.28 น.
รูปสะพานจัน12ฑค

สะพานแห่งกาลเวลา : ประวัติศาสตร์ของต้นคริสต์มาส

อีกสัปดาห์เศษๆ ก็จะถึงเทศกาลคริสต์มาส เทศกาลรื่นเริงประจำปีที่สำคัญที่สุดของผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่แพร่หลายและได้รับความนิยมฉลองกันในวงกว้างทั่วโลกแม้ในบรรดาประเทศที่ไม่ได้นับถือคริสต์ศาสนาก็ตามที

มีคริสต์มาส ก็ต้องมีต้นคริสต์มาส ที่ประดับตกแต่งอย่างงดงามวิจิตร เป็นสัญลักษณ์ที่ขาดไม่ได้ของเทศกาลนี้ไป

แต่ที่น่าสนใจมากก็คือ ต้นคริสต์มาส กับ คริสต์ศาสนา กลับไม่ได้เกี่ยวข้อง ยุ่งเกี่ยวกันมาตั้งแต่แรก ในพระคัมภีร์เองก็ไม่ได้มีส่วนไหนเอ่ยถึงต้นคริสต์มาส เอาไว้ด้วยซ้ำไป

ในยุคเริ่มแรกของคริสต์ศาสนา ก็ไม่มีการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ ด้วยการตกแต่งประดับประดาต้นไม้แบบนี้นักประวัติศาสตร์ระบุว่า ในยุคนั้น มีเพียงพวก เพกัน (pagans) คือพวกนอกศาสนาในส่วนหนึ่งของภาคพื้นยุโรป โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งคือเยอรมนีในปัจจุบัน เท่านั้นที่บูชาต้นไม้

พวกเพกัน บูชา ประคบประหงม ดูแลรักษาต้นไม้ที่เชื่อว่า ศักดิ์สิทธิ์ ของพวกเขา เพราะเชื่อว่าต้นไม้ล้มเมื่อใด โลกก็จะสิ้นสุดลงเมื่อนั้น

ต้นไม้ที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์และควรเคารพบูชาของเพกันก็คือบรรดาต้นไม้ที่มีสีเขียวชอุ่มตลอดปี โดยเฉพาะต้นไม้จำพวกสนทั้งหลาย

ลัทธิบูชาต้นไม้ที่ว่านี้มีมายาวนาน มีวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไปมากมาย ที่น่าสนใจก็คือ กลุ่มเพกันในแถบสแกนดิเนเวีย มีประเพณีนำต้นไม้จำพวก เอเวอร์กรีนทรี (evergreen tree) มาประดับตกแต่งบ้านและบริเวณโรงนาเพื่อเตรียมไว้สำหรับฉลองเทศกาลปีใหม่ เพราะเชื่อกันว่า ต้นไม้เหล่านี้สามารถขับไล่ภูตผีและความชั่วร้ายต่างๆ ได้ แถมยังเป็นที่อยู่อาศัยของพวกนกต่างๆ ให้มาส่งเสียงชวนสดใสรื่นเริงให้ได้ยินทุกเช้าด้วยอีกต่างหาก

ประเพณี ความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ของพวกเพกันเหล่านี้ เข้ามาเกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนาได้อย่างไรและเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่สันนิษฐานกันว่า น่าจะเกิดขึ้นเมื่อครั้งคณะมิสชันนารีจากอังกฤษ นำโดย นักบุญ โบนีเฟซ (St. Boniface) จาริกไปเผยแผ่คริสต์ศาสนาที่เยอรมนี แล้วไปตัดต้น โดนาร์ โอ๊ก ที่เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพวกเพกันลงมา เพื่อแสดงให้เห็นว่า โลกไม่ได้สิ้นสุดลงเมื่อต้นไม้ล้มลงตามความเชื่อแต่อย่างใด

ผู้รู้ทางศาสนาคริสต์ชี้ว่า การตัดต้นไม้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเกิดใหม่ของพระเยซูหลังความตาย

ในตำนานพื้นบ้านที่เกี่ยวกับการตัดต้นโดนาร์ ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของเซนต์ โบนิเฟซ นั้น เล่าเพิ่มเติมเอาไว้ด้วยว่า บริเวณที่ต้นโดนาร์ถูกโค่น ในเวลาต่อมาเกิดต้นสนผุดขึ้นมาแทนที่ เรียงตัวกันเป็นสามเหลี่ยม ซึ่งผู้นับถือศาสนาคริสต์เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทน ทรินิตี หรือ องค์สาม (คือ พระบิดา พระบุตร พระจิต)

นอกจากนี้รูปทรงรูปสามเหลี่ยมของต้นสน (ที่นำมาใช้เป็นต้นคริสต์มาส) เรียวแหลมขึ้นสู่ด้านบน ยังถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ชี้ทางสู่สวรรค์เบื้องบนนั่นเอง

พวกเพกันในเยอรมนี พากันสืบทอดประเพณีนี้เรื่อยมานานหลายต่อหลายศตวรรษ ด้วยการนำต้นสนเขียวขจีมาใช้ประดับตกแต่งบ้านในช่วงหน้าหนาว ที่แห้งแล้งและหนาวทารุณเพราะหิมะหนาหนัก

บันทึกช่างฝีมือแห่งเมืองเบรเมน ในประเทศเยอรมนี เมื่อปี 1570 คือเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรชิ้นแรกที่ระบุถึงประเพณีว่าด้วยต้นคริสต์มาสในประวัติศาสตร์ โดยระบุเอาไว้ว่า บรรดาบ้านของพวกช่างฝีมือในเบรเมนพากันใช้ต้นไม้ขนาดเล็ก ตกแต่งด้วยผลไม้ ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว เพื่อฉลองให้กับพวกเด็กๆ มาเก็บไปกินไปเล่นสนุกกัน ในช่วงวันคริสต์มาสในหน้าหนาว

ในปี 1584บัลธาซาร์ รัสโซว์ บันทึกเอาไว้ในหนังสือ Chronica der Provinz Lyfflandt ถึงการใช้ต้นสนสปรูซ ตกแต่งจัตุรัสในตลาด สำหรับเป็นจุดให้คนหนุ่มสาวได้พบปะ เต้นรำ รื่นเริงกัน ก่อนที่จะจุดไฟเผาต้นคริสต์มาสดังกล่าวทิ้งไป

ควีนชาร์ลอตต์ พระชายาของ พระเจ้าจอร์จที่ 3 ซึ่งถือกำเนิดและเติบโตในเยอรมนี เป็นผู้นำประเพณีเหล่านี้มาสู่อังกฤษในราวปี 1800 โดยทรงจัดงานเลี้ยงฉลองคริสต์มาส พร้อมต้นคริสต์มาสที่ประดับตกแต่งอย่างงดงาม วิจิตร ขึ้นสำหรับเด็กๆ ในปีนั้น

เจ้าหญิงวิกตอเรีย ซึ่งต่อมาคือควีนวิกตอเรียของอังกฤษ ทรงเติบโตมาพร้อมกับประเพณีคริสต์มาสดังกล่าว จึงทรงเห็นด้วยในทันทีต่อการที่ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามี ซึ่งเกิดและเติบโตในเมืองโคเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ต้องการจัดงานเลี้ยงพร้อมต้นคริสต์มาสขึ้นที่พระราชวังวินด์เซอร์ ไม่นานหลังจากพระราชพิธีเสกสมรสในปี 1840

ประเพณีที่เริ่มแพร่ออกไปสู่ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางผู้มั่งคั่งในอังกฤษในอีกไม่ถึง 10 ปีต่อมา

ก่อนที่จะแพร่ไปทั่วโลกเหมือนเช่นที่เห็นกันในปัจจุบัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0