กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และมูลนิธิเด็กและเยาวชนและครอบครัว จัดกิจกกรมรณรงค์เนื่องในวันสงกรานต์ ปี 2566 (10 เม.ย 66 ) สงกรานต์ปลอดภัย สาดสุข เคารพสิทธิ
นาย อนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า เทศกาล 'สงกรานต์' ถือเป็นประเพณีอันดีงามของไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่ทุกปีจะถูกจับตาเรื่องอุบัติเหตุทางถนน เพราะประชาชนเดินทางมาท่องเที่ยว กลับภูลำเนาจำนวนมาก รวมถึงปัญหาการล่วงละเมิด การคุกคามทางเพศ พฤติกรรมเล่นน้ำที่ไม่เหมาะสมและทะเลาะวิวาท
โดยเฉพาะกรณีที่มีเครื่องเดิมแอลกอฮอล์เข้ามมาเกี่ยวข้องยิ่งทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น ปีนี้ทีม one home พม. ทุกจังหวัด และสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ได้ร่วมรณรงค์ด้วยการลงพื้นที่แจกสติ๊กเกอร์ และติดป้าย สงกรานต์ปลอดภัย สาดสุข เคารพสิทธิ ซึ่งได้รับ การสนับสนุนจาก สสส. ให้ประชาชนแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ และ พม.ยังได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พัฒนาช่องทางการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินทางสังคม ผ่าน line bot ใน การแจ้งระงับเหตุการณ์ 5 ประเภท ดังนี้
- การข่มขู่ว่าจะทำร้ายร่างกาย
- การกักขังหน่วงเหนี่ยว
- เสี่ยงถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- ผู้คลุ้มคลั้งก่อให้เกิดเหตุร้าย
- มั่วสุ่มก่อให้เกิดเหตุร้าย
หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินนี้ สามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. สายด่วน 1300 โทรฟรี 24 ชม.
น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผู้อำนวยการสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงกลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.) กล่าวว่า ข้อมูลจากศูนย์วิชาการ เพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) รายงานว่า สงกรานต์ปี 2565 พบอุบัติเหตเพิ่มขึ้น 6.2 จากปี 2564 การดื่มแล้วขับและเสียชีวิต ลดจาก 21.5% ในปี 2564 เหลือ 16.5% แต่มีจำนวนผู้เสียชีวิตคาที่เพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 60% มาจากการขับรถเร็ว และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในส่วนของผู้บาดเจ็บนั้นพบว่า 1 ใน 4 มีแอลกอฮอล์ในกระแส นอกจากนี้ข้อมูลกรมคุม ประพฤติ กระทรวงยุติธรรม พบว่ามีคดีเมาแล้วขับเข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ ปี 2565 สูงถึง 7,141 คดี ดังนั้นในปีนี้เราจึงต้องเน้นย้ำในเรื่องของการจัดการพื้นที่เล่นน้ำให้ปลอดเหล้า
ซึ่งปัจจุบันมีผู้ตอบรับกว่า 100 พื้นที่ ร่วมถึงถนนตระกูลข้าวสาร(ปลอดเหล้า) 60 แห่ง พร้อมทั้งฝากทุกคนว่าดื่มไม่ควรขับ แค่กรึ่มๆ ก็ถึงตายแม้เพียงแก้วเดียวก็เสี่ยงอุบัติเหตุถึง 2-6 เท่า
น.ส.อังคณา อินทสา มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า จากการสำรวจความเห็นประชาชนกรุงเทพฯปริมณฑล 1,725 คนระหว่างวันที่ 24-30 มี.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับเทศกาล 'สงกรานต์' พบว่า 96.5% เคยหรือมีคนรู้จักถูกปะแป้ง 87.9% ถูกแซว/ผิวปากหรือใช้สายตาจ้องมองทำให้อึดอัด 84.9% เกิดอุบัติเหตุ82.4% ถูกก่อกวนจากคนเมาหรือถูกบังคับให้ดื่มแอลกอฮอล์ 73.8% ทะเลาะกันในครอบครัวส่วนวิธีแก้ปัญหาเมื่อถูกลวนลามพบว่าเลือกที่จะแจ้งความ 37% ตะโกนให้คนช่วย 20.2% บอกผู้ใหญ่ 11.5% ที่น่ากังวลคือมี 8.1% ไม่กล้าบอกใคร
โดยสำหรับหน่วยงานที่นึกถึงเมื่อเจอเหตุการณ์ไม่ปลอดภัย คือ สถานีตำรวจ 55.5% ศูนย์แจ้งเหตุในพื้นที่เล่นน้ำ 20.9% เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในพื้นที่ 13.4%
ซึ่งสิ่งที่อยากให้คงไว้ในเทศกาล 'สงกรานต์' คือ การเยี่ยมญาติ/รวมญาติ 29.9% เล่นน้ำปลอดภัยไม่รุ่นแรง 23.5% และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ 18.2%
แต่สิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น อาทิ การลวนลามทางเพศ 35.5% อุบัติเหตุ 22.5% คนเมาขาดสติ การทะเลาะวิวาทและการไม่เคารพสิทธิคนอื่น รวมเป็น 62%
ดังนั้นขอให้ภาครัฐบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการลวนลามทางเพศ กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างเข้มงวด จัดพื้นที่เล่นน้ำปลอดแอลกอฮอล์ปลอดภัยการคุกคามทางเพศเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกเพศทุกวัย
ความเห็น 0