เชฟชินจิ อิโนอุเอะ (Shinji Inoue) ผู้สร้างสรรค์ "No Name Noodle" ได้สร้างสรรค์ราเมนใหม่ล่าสุดชื่อ "MUGEN" (Infinity) ซึ่งเชฟได้ผสมผสานเทคนิคการทำอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม เข้ากับศิลปะการทำอาหารยุคใหม่ไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เพื่อมอบประสบการณ์การรับประทานราเมนที่ไม่เหมือนใคร
แรงบันดาลใจจากรสชาติและครอบครัว
ความหลงใหลในการทำอาหารของเชฟชินจิได้รับแรงบันดาลใจมาจากคุณแม่ที่เป็นเชฟราเมน ในเมืองฟุกุโอกะเมื่อ 40 ปีก่อน โดยตั้งแต่เด็กเชฟชินจิเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่รายล้อมด้วยราเมน ซึ่งสร้างสรรค์อย่างพิถีพิถันโดยคุณแม่ จึงทำให้เขาได้เรียนรู้และรับอิทธิพลจากคุณแม่ที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์อาหารคุณภาพ และสามารถสร้างความสุขให้กับลูกค้าผ่านทางอาหาร ซึ่งประสบการณ์ในวัยเด็กเหล่านี้ทำให้เขามุ่งมั่นที่จะสานต่อ เพื่อสร้างประสบการณ์ในการรับประทานราเมนที่อบอุ่นและมีความหมาย
หลังจากเรียนรู้การทำอาหารจากคุณแม่ เชฟชินจิได้เดินบนเส้นทางอาชีพที่ไม่ธรรมดาในฐานะนักแสดงตลกที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีผลงานทางโทรทัศน์และนิตยสารมากมาย อย่างไรก็ตาม ความหลงใหลในการทำราเมนของเขาไม่เคยจางหายไป การพบปะกับลูกค้าท่านหนึ่งขณะทำงานพาร์ทไทม์ในร้านราเมนได้ปลุกความรักในอาชีพนี้ของเขาขึ้นมาอีกครั้ง และนำเขามาสู่กรุงเทพฯ เพื่อก่อตั้งร้านราเมน "No Name Noodle" ซึ่งเป็นร้านที่นำเอาความรักในการแสดงของเชฟชินจิเข้ากับความมุ่งมั่นในการทำราเมน ทำให้ราเมนทุกชามเป็นการแสดงออกถึงการเดินทางของเขาที่ผ่านมา
"No Name": มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ
เชฟชินจิตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ในการฝึกฝนและแบ่งปันความเชี่ยวชาญด้านราเมนของเขา โดยก่อตั้งร้าน "No Name Noodle" ขึ้น เชฟชินจิตั้งใจที่จะทำร้านราเมนที่เสิร์ฟเพียงวันละ 35 ชามเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกชามที่เสิร์ฟจะตรงตามมาตรฐานอาหารและมอบความสุขให้แก่ผู้ทานตามที่เขาตั้งใจไว้ โดยราเมนของเชฟชินจิจะมีการผสมผสานวัตถุดิบชั้นเยี่ยมจากทั้งประเทศญี่ปุ่นและไทยเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ข้าวสาลี และสาหร่ายจากเมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น และเนื้อสัตว์ต่างๆ ของประเทศไทย
3 ปีแห่งความเชี่ยวชาญในการทำราเมน
ตั้งแต่เปิดร้าน "No Name Noodle" เชฟชินจิได้แนะนำลูกค้าในประเทศไทยให้ได้รู้จักกับองค์ประกอบหลักของราเมนญี่ปุ่นแท้ๆ โดยเน้นไปทีละองค์ประกอบในแต่ละปี:
ปีที่ 1: คาเอชิ (Kaeshi - ซอส)
ในปีแรก เชฟชินจิมุ่งมั่นที่จะพัฒนา "คาเอชิ" ซึ่งเป็นซอสเข้มข้นที่ เป็นพื้นฐานของรสชาติราเมน เขาได้นำเสนอซอสคาเอชิ 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ซอสถั่วเหลืองที่ช่วยเพิ่มความลึกและความกลมกล่อมของราเมน และซอสเกลือที่ช่วยดึงรสชาติตามธรรมชาติของวัตถุดิบปีที่ 2: ดาชิ (Dashi - น้ำซุป)
ปีที่สองเชฟชินจิเน้นไปที่ "ดาชิ" หรือ น้ำซุปญี่ปุ่นดั้งเดิม ที่ทำให้เกิดรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของราเมน โดยใช้วัตถุดิบเช่น สาหร่าย ปลานิชิ ปลาซาบะ และปลาคัตสึโอะ ซึ่งแต่ละอย่างจะเพิ่มความอุมามิและความซับซ้อนให้กับน้ำซุป เขาได้แสดงให้ลูกค้าเห็นถึงความสำคัญของดาชิที่มีต่อราเมน และเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรสชาติที่กลมกล่อมของราเมนของเขาปีที่ 3: ข้าวสาลีสำหรับเส้นราเมน (Wheat)
ในปีที่สาม เชฟชินจิเน้นย้ำถึงความสำคัญของข้าวสาลีในการทำราเมน โดยใช้ข้าวสาลีคุณภาพสูงจากเมืองฮอกไกโดในการทำเส้น ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในจานที่ขาดไม่ได้ นอกจากนี้เชฟชินจิยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทั้งเนื้อสัมผัส ความนุ่มเหนียว และรสชาติของเส้นให้ดีขึ้นอย่างชัดเจนในทุกๆ ชามที่ทำเสิร์ฟแก่ลูกค้า
เปิดตัว MUGEN สร้างประสบการณ์ราเมนแบบใหม่
เชฟชินจินำเสนอเส้นราเมน 3 ประเภทที่ทำจากเมล็ดพันธุ์ต่างๆ และน้ำซุป 3 ชนิดที่ใช้วัตถุดิบ เช่น เกลือ และซอสถั่วเหลือง โดยลูกค้าสามารถเลือกกินเส้นแต่ละแบบกับน้ำซุปแบบใดก็ได้ ทำให้ลูกค้าสามารถสัมผัสรสชาติที่แตกต่างกันไปตามแต่ละส่วนผสมที่เลือกกิน ซึ่งเป็นการนำเสนอความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุดและการสำรวจรสชาติของอาหารด้านใหม่ๆ จากเชฟชินจิอีกด้วย
สำรวจเมนูใหม่ “SHIKI” ภายใต้คอนเซ็ปต์ "MUGEN"
หัวใจสำคัญของคอนเซ็ปต์ "MUGEN" คือเส้นราเมนที่ถูกแปรรูปอย่างพิถีพิถันจากข้าวสาลีคุณภาพพรีเมียม ที่ปลูกในฮอกไกโด โดยเส้นราเมนเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นสามประเภท ซึ่งแต่ละชนิดนั้นจะมีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
- ประเภท A: ทำจากแกนขาวของข้าวสาลี เส้นราเมนเหล่านี้ผสมกับโมจิ ทำให้ได้เนื้อสัมผัสที่เหนียวหนึบ
- ประเภท B: ทำจากรำข้าวสาลี หรือเปลือกนอกของข้าวสาลี ซึ่งมีรสชาติและกลิ่นหอมที่เข้มข้น ผสมผสานกับโฮจิฉะจากเกียวโต (ชาญี่ปุ่นคั่ว) ทำให้ได้เส้นราเมนที่มีกลิ่นหอม และรสชาติกลมกล่อม ลึกซึ้ง
- ประเภท C: ทำจากจมูกข้าวสาลี (Haiga) ซึ่งเป็นส่วนที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เส้นราเมนชนิดนี้ เชฟชินจิทำขึ้นมาในรูปแบบที่ใหญ่และแบน จึงตั้งชื่อให้ว่า "Ittan Momen" เพื่อให้ผู้ที่ได้ลิ้มลองเส้นชนิดนี้สามารถสนุกกับการรับประทานอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ซุปที่เข้ากันกับเส้นราเมนเหล่านี้ยังถูกรังสรรค์อย่างพิถีพิถัน โดยมีทั้งหมดสามชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิด ได้ถูกออกแบบมาเพื่อยกระดับประสบการณ์แบบ "MUGEN":
- ซุปคอมบุและชิจิมิดาชิ: ซุปที่ทำจากน้ำคอมบุ (สาหร่ายทะเล) และชิจิมิดาชิ (น้ำสต็อกจากหอยน้ำจืด) จะได้น้ำซุปที่รสชาตินุ่มนวลและกลมกล่อม
- ซุปหอยนางรมฮิโรชิมะ: ซุปที่มีกลิ่นหอมและรสชาติจากหอยนางรมฮิโรชิมะ ผสมกับซอสทาเระแบบเค็ม เพื่อเสริมความเข้มข้นของน้ำชุปให้มากขึ้น
- ซุปสุกี้ยากี้เป็ด: ซุปสไตล์สุกี้ยากี้ที่มีรสชาติเข้มข้นจากเป็ดและซอสถั่วเหลืองทาเระ ซึ่งก่อนทานแนะนำให้ผสมไข่สดกับน้ำซุป เพื่อสร้างความกลมกล่อมและลงตัวของน้ำซุปและเส้น
ชื่อเมนู “SHIKI” ซึ่งมีความหมายว่า “สี่ฤดู” ในภาษาญี่ปุ่น ยังถูกเลือกมาเพื่อสะท้อนถึงองค์ประกอบพิเศษของเมนูนี้ โดยแต่ละส่วนเป็นตัวแทนของฤดูต่างๆ
- ชิจิมิ (หอยน้ำจืด) Haru (ฤดูใบไม้ผลิ)
- เป็ด: Aki (ฤดูใบไม้ร่วง)
- หอยนางรม: Fuyu (ฤดูหนาว)
- ไข่สด: Natsu (ฤดูร้อน)
เมื่อเส้นราเมนแต่ละแบบและน้ำซุปแต่ละชนิดได้รับการผสมผสานเข้าด้วยกัน จะเกิดเป็นรสชาติใหม่ที่มีความเป็นไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ภายใต้คอนเซ็ปต์ "MUGEN" ที่เชฟชินจิตั้งใจนำเสนอ พร้อมอยากเชิญชวนให้ทุกท่านมาสัมผัสประสบการณ์เมนูใหม่ร่วมกัน จำกัดจำนวน 8 ชามต่อวันเท่านั้น
โอกาสที่ไม่ควรพลาดกับการสัมผัสที่สร้างสรรค์โดยเชฟชินจิ อิโนอุเอะ
"No Name Noodle" ให้บริการสำหรับลูกค้าที่ทำการสำรองที่นั่งล่วงหน้าเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่ใกล้ชิดและเป็นส่วนตัวกับการรังสรรค์ราเมนของเชฟชินจิ ซึ่งร้านจะมีที่นั่งที่เคาน์เตอร์เพียง 8 ที่นั่ง และโต๊ะส่วนตัวสำหรับ 4 ท่าน เพื่อให้ผู้มาเยือนได้รับชมการทำราเมนอย่างใกล้ชิด
สำรองที่นั่งได้ในทุกวันอาทิตย์เวลา 9.00 น. ผ่านทาง TableCheck อย่าพลาดโอกาสที่จะสัมผัสกับราเมนที่สร้างสรรค์โดยเชฟชินจิ อิโนอุเอะ
Facebook | Instagram
ชั้น 1 โครงการ S&P สุขุมวิท 26 ซอย อรรถกระวี 1 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: +66 82 059 5417
เปิดให้บริการ
- วันพุธ – วันอาทิตย์
- รอบเคาน์เตอร์ (8 ที่นั่ง): 11:00 น., 12:00 น., 13:00 น., 14:00 น.
- รอบโต๊ะส่วนตัว (4 ที่นั่ง): 11:45 น., 12:45 น., 13:45 น., 14:45 น.
ความเห็น 0