โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

"อึ่งเพ้า" อาหารอีสานราคาหรู แต่เสี่ยงพยาธิ…หากไม่ปรุงให้สุก

Amarin TV

เผยแพร่ 24 เม.ย. 2562 เวลา 03.55 น.
การเกิดฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือและอีสานนั้น นับเป็นสัญญาณที่ชาวบ้านในพื้นที่ต่างรู้ดีว่า จะมีที่สัตว์จำศีลออกมาผสมพันธุ์ในช่วงดังกล่าว

การเกิดฝนตกต่อเนื่องในพื้นที่ภาคเหนือและอีสานนั้น นับเป็นสัญญาณที่ชาวบ้านในพื้นที่ต่างรู้ดีว่า จะมีที่สัตว์จำศีลออกมาผสมพันธุ์ในช่วงดังกล่าวแน่ๆ นั่นคือ อึ่งเพ้า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำราคาแพงของที่สามารถขายได้ถึงกิโลกรัมละหลายร้อยบาท แถมชาวบ้านส่วนใหญ่ยังสามารถออกไปจับได้ครั้งละมากกว่าคนละ 5 กิโลกรัมอีกด้วย

อึ่งปากขวด หรือ อึ่งเพ้า (Glyphoglossus molossus) เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชนิดหนึ่ง จำพวกอึ่งอ่าง ที่จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Glyphoglossus มีความยาวจากหัวจรดถึงก้นประมาณ 73 มิลลิเมตร ลำตัวอ้วนป้อม มีลักษณะเด่นคือ หน้าสั้นมาก ปากแคบและทู่ไม่มีฟัน ไม่เหมือนกับกบหรืออึ่งอ่างชนิดอื่นๆ ตาเล็ก ขาสั้น แผ่นเยื่อแก้วหูเห็นไม่ชัด ลำตัวสีน้ำตาลดำหรือสีเทาดำ ใต้ท้องสีขาว บางตัวอาจมีจุดกระสีเหลืองกระจายอยู่ทั่ว เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดเกาะติดอยู่ ใช้สำหรับว่ายน้ำ และมีสันใต้ฝ่าเท้าหลังใช้สำหรับขุดดิน

อึ่งปากขวดพบในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่เหนือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นไป โดยมีพฤติกรรมอาศัยโดยขุดโพรงดินที่เป็นดินปนทรายและอาศัยอยู่ภายใน ในป่าที่มีความชุ่มชื้นใกล้กับพื้นที่ชุ่มน้ำ ในฤดูร้อนจะซ่อนตัวในโพรงแทบตลอด เมื่อฝนตกจะออกมาหากิน โดยหากินในเวลากลางคืน ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝน และจะผสมพันธุ์วางไข่เร็วกว่าอึ่งอ่างหรือกบชนิดอื่น ลูกอ๊อดมีลำตัวป้อมและโปร่งแสง ลำตัวเป็นสีเหลือง มีส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีดำ หากินอยู่ในระดับกลางน้ำ โดยจะว่ายทำมุมประมาณ 45 องศา อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ไปไหนมาไหนพร้อมกันเป็นฝูง

จากข้อมูลของ แผนกวิชาสัตวศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน พบว่าอึ่งเพ้าเป็นที่นิยมนำมาทำอาหารในภาคอีสานอย่างมาก โดยเฉพาะอึ่งตัวเมียที่มีไข่ในท้องซึ่งสามารถนำมาทำอาหารได้หลายรายการ เช่น 1.อึ่งลาบคั่ว 2.อึ่งไข่อบเกลือก 3.อึ่งรมควัน 4.อึ่งสามแดด 5.อึ่งทอดกระเทียมพริกไทย 6.น้ำพริกอึ่งสะเรียมลวก 7.ผัดเผ็ดอึ่งกรอบ 8.แกงป่าอึ่ง 9.ต้มอึ่งยอดมะขาม 10.ต้มอึ่งชะมวงดง 11.ต้มยำอึ่งมะนาว 12.แกงส้มอึ่งดอกแค 13.ห่อหมกอึ่งร้าหอมพริก 14.ห่อหมกอึ่งราชินี และ 15.หลามอึ่งผักป่า

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รายงานว่า จากตัวอย่างอึ่งปากขวดจำนวน 34 ตัว พบตัวอย่างอึ่งปากขวดที่ติดหนอนพยาธิทั้งสิ้นจำนวน 26 ตัว ค่าความชุกของการติดเชื้อเท่ากับ 76.47% โดยพบหนอนพยาธิตัวกลม 2 ชนิด ได้แก่ Aplectana sp., Amphibiophilussp.และหนอนพยาธิหัวหนาม 1 ชนิด ได้แก่Acanthocephalussp. หนอนพยาธิส่วนใหญ่ถูกพบในลำไส้ ซึ่งมีค่าความชุกเท่ากับ 11.76%, 70.59%, และ 2.94%

ดังนั้นการนำอึ่งหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ มารับประทานเป็นอาหารจึงควรผ่านการปรุงให้สุกด้วยความร้อนเสียก่อน เพื่อป้องกันการติดพยาธิจากเนื้อสัตว์เข้าสู่ร่างกาย

ปัจจุบันอึ่งปากขวดไม่จัดว่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แต่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะถูกจับมาบริโภค ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป และแม้ว่าทางกรมประมงจะมีการสนับสนุนให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อลดการจับจากธรรมชาติ แต่การจับอึ่งในธรรมชาติก็มีให้เป็นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน เพราะสามารถสร้างรายได้แก่ผู้ที่จับมาได้วันละหลายหมื่นบาท หากจับได้ในปริมาณมาก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 1

  • NattashA_J.
    โลละ200 บาท แถมมีพยาธิอีก กินมังสวิรัติดีกว่า555
    24 เม.ย. 2562 เวลา 04.23 น.
ดูทั้งหมด