โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สรุปภาษาไทยคำกริยา อกรรมกริยา สกรรมกริยา วิกตรรถกริยา และกริยานุเคราะห์

MThai.com

เผยแพร่ 16 ส.ค. 2562 เวลา 08.56 น.
สรุปภาษาไทยคำกริยา อกรรมกริยา สกรรมกริยา วิกตรรถกริยา และกริยานุเคราะห์
เจอในข้อสอบวิชาภาษไทยแน่ๆ ถ้าไม่ทบทวนเรื่อง “คำกริยา” ให้แม่นๆ วันนี้เราจะมาติดตามกันว่า คำกริยา คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และกริยามีทั้งหมดกี่ชนิด

เจอในข้อสอบวิชาภาษไทยแน่ๆ ถ้าไม่ทบทวนเรื่อง “คำกริยา” ให้แม่นๆ วันนี้เราจะมาติดตามกันว่า คำกริยา คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และกริยามีทั้งหมดกี่ชนิด มีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างคืออย่างไร?

สรุปภาษาไทยคำกริยา อกรรมกริยา

สกรรมกริยา วิกตรรถกริยา และกริยานุเคราะห์

คำกริยา คือ?

คือ คำที่ใช้ในการแสดงท่าทางบอกอาการต่างๆ หรือ คำที่แสดงการกระทำของคำนามหรือสรรพนาม ในประโยค คำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง หรือบางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ

ความสำคัญของคำกริยา

คำกริยามีความสำคัญในภาษาไทยมาก เพราะทำให้เราสามารถแยกคำแต่ละประเภทออกมาจากประโยคได้ ซึ่งประโยค จะมีส่วนประกอบหลักๆอยู่ 3 ส่วนก็คือ ประธาน กริยา และ กรรม

ประเภทของคำกริยา

สามารถแบ่งออกเป็น 4 ปรเภท ได้แก่ อกรรมกริยา สกรรมกริยา วิกตรรถกริยา และ กริยานุเคราะห์

1. อถกรรมกริยา คือ

อถกรรมกริยา (อะ-กำ-กริ-ยา) คือ กริยาที่สมบูรณ์ในตัวไม่ต้องมีกรรมมารับ ตัวอย่างคำที่เป็นอถกรรมกริยา เช่น เดิน นอน วิ่ง ไป มา หัวเราะ ร้องไห้ ซึ่งถ้าเมื่อรวมกับประโยคแล้ว ก็ไม่ได้ทำให้ประโยคเสียความหมายเดิมไป เช่น เด็กร้องไห้เสียงดัง , ฉันเดินเร็วมาก ซึ่งสังเกต ตรงตัวสีส้มว่า เมื่อตัดไปแล้วความหมายยังคงเดิม

2. สกรรมกริยา คือ

สกรรมกริยา (สะ-กำ-กริ-ยา) คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ ตัวอย่างคำที่เป็นสกรรมกริยา เช่น กิน ตี จับ สร้าง มอง ดม ซึ่งถ้าเอาคำพวกนี้มารวมเข้ากับประธานแล้ว ความหมายจะยังไม่ชัดเจน เช่น

ฉัน จับ –> คนฟังก็จะต้องมีคำถามต่อว่า จับอะไร?

ฉัน กิน —> คนฟังก็จะต้องมีคำถามต่อว่า กินอะไร?

เธอ มอง —> คนฟังก็จะต้องมีคำถามต่อว่า เธอมองอะไร?

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะรู้เลยว่า จับ กิน มอง เป็นคำกริยา แบบ สกรรมกริยานั้นเอง จะมีประโยคที่เป็น สกรรมกริยา เช่น

3. วิกตรรถกริยา คือ

วิกตรรถกริยา (วิ-กะ-ตัด-ถะ-กริ-ยา) คือ คำกริยาที่ไม่มีเนื้อความในตัวเอง อาศัยเนื้อความของคำข้างท้าย เพื่อให้สมบูรณ์ ตัวอย่างคำที่เป็นวิกตรรถกริยา เช่น เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ เสมือน

ตัวอย่างเช่น

– นายเเดง เป็น ครู

– รูปร่างของลา เหมือน รูปร่างของม้า

– ลูก เท่า พ่อ

– เเมว คล้าย เสือ

– งู คือ สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง

ใช้คำสรรพนามขยาย

– ถ้าเธอ เป็น ฉัน เธอจะรู้สึกอย่างไร ?

– เขา เหมือน ฉันมากกว่า เหมือน เธอ

– เขา คล้าย ฉัน

ใช้คำวิเศษณ์ขยาย

– เขาพูดอะไร เป็น เท็จไปหมด

– ทำได้เช่นนี้ เป็น ดีเเน่

– มาดี เป็น ดี มาร้าย เป็น ร้าย

4. กริยานุเคราะห์ คือ

กริยานุเคราะห์ (กริ-ยา-นะ-เคราะ) เป็นคำกริยาที่ช่วยกริยาอื่นให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างคำที่เป็นกริยานุเคราะห์ เช่น กำลัง แล้ว คง อาจ ถูก เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

-พายุกำลังพัด คำว่า “พัด” เป็นคำกริยา ส่วนคำว่า “กำลัง” เป็นกริยานุเคราะห์

-เธอคงหิวมากนะ คำว่า “หิว” เป็นคำกริยา ส่วนคำว่า “คง” เป็นกริยานุเคราะห์

ข้อสังเกต

คำช่วยกริยานี้สามารถนำออกจากประโยคได้โดยไม่ทำให้ประโยคขาดความบริบูรณ์ เเต่ขาดความชัดเจน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0