โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

คมนาคม เดินหน้าเชิงรุกพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อทุกคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

ADVERTORIAL

เผยแพร่ 23 มี.ค. 2564 เวลา 17.00 น. • MATICHON ONLINE

ระบบขนส่งสาธารณะที่มีความคล่องตัว เข้าถึงได้ และมีความเชื่อมโยงเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้ทุกภาคส่วนของประเทศพัฒนาไปข้างหน้า อีกทั้งเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวม

กระทรวงคมนาคม ได้มีนโยบายในการเดินหน้าเชิงรุกเพื่อพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุม ควบคู่กับการกำกับดูแลด้านบริการให้มีความสะดวกปลอดภัย ตรงต่อเวลา และมีราคาสมเหตุสมผล เป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสู่อนาคตที่มั่นคงและยั่งยืน โดยระบบล้อ ราง เรือ ที่ผู้โดยสารให้ความมั่นใจ เป็นระบบที่ทุกคนเข้าถึงได้ และเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางโดยแท้จริง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญต่อดัชนีบ่งชี้ถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในประเทศ

คมนาคมเพื่อคนทุกกลุ่มสู่คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) เป็นไปเพื่อการรองรับการเจริญเติบโตในอนาคต และมุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน ทั้งนี้

โดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลักอันได้แก่“Green & Safe Transport” การขนส่งที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้พลังงานทางเลือกใหม่ หรือพลังงานประหยัด“Inclusive Transport” การเข้าถึงระบบขนส่งอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม เป็นการออกแบบสำหรับคนทุกคน (Universal Design) และสุดท้ายคือ “Transport Efficiency” คือในที่สุดจะต้องเป็นขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการขนส่ง และเป็นการสร้างโครงข่ายการเชื่อมโยงระบบคมนาคมทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ยังคำนึงถึงความจำเป็นต้องเร่งเดินหน้าเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ของไทย โดยมีการคาดการณ์สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุจะสูงขึ้นกว่า 25% ของประชากรทั้งหมดในปี 2573 ทำให้ต้องมีระบบขนส่งสาธารณะและขนส่งมวลชนที่ทั่วถึง รองรับการเดินทางขนส่งได้ในทุกเพศ ทุกวัยและทุกกลุ่ม ตลอดจนมีอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับค่าครองชีพ

โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
โครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

โครงข่าย ล้อ-ราง-เรือ สะดวก ทั่วถึง ปลอดภัย

สำหรับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในเมือง จะเกิดโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมต่อกันโดยสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้ด้วยระบบราง ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้ดำเนินการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ กับ สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และกำลังเดินหน้าก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รวมถึงรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ให้แล้วเสร็จและทยอยเปิดให้บริการตามกำหนดการ จนเกิดเป็นโครงข่ายครอบคลุมภายในปี 2572

ด้านการเดินทางทางน้ำ ในวันนี้ท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากจะมีการยกระดับท่าเรือโดยสารให้มีความสะดวก ปลอดภัยแล้ว ยังจะสามารถเชื่อมต่อกับระบบรางได้อย่างสะดวก เช่น ท่าเรือพระนั่งเกล้าซึ่งเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง ท่าเรือบางโพ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือท่าเรือสาทร เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยการขนส่งสาธารณะอันเปี่ยมประสิทธิภาพนี้ จะเน้นที่การขนส่งทางรางและทางน้ำเป็นหลัก โดยมีขนส่งทางถนนเป็นFeeder System ช่วยให้การเดินทางเข้าถึงระบบขนส่งทำได้โดยสะดวกกว่าเดิม

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ได้เดินหน้าแผนการใช้บัตรโดยสารทุกระบบด้วย ตั๋วร่วม โดยผลักดันระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) ให้เข้าสู่ระบบตั๋วร่วมอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ระบบรถไฟฟ้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่น เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการใช้บริการ พร้อมทั้งมีนโยบายปรับลดค่าโดยสารลงเพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง

ส่วนการเดินทางขนส่งสาธารณะข้ามจังหวัด ในระบบราง มีการเดินหน้าพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ ได้แก่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม และรถไฟทางคู่ ในระยะเร่งด่วนจำนวน 7 เส้นทาง รวมระยะทาง 993 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จพร้อมให้บริการจนครบในปี 2566 ซึ่งปัจจุบันแล้วเสร็จไป 2 สาย ได้แก่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย

และในอีกไม่นาน คนไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงใช้ โดยจะได้ใช้บริการ 2 สายแรก คือ“รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และ “ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา” ในปี 2568 ก่อนเป็นอันดับแรก

เทคโนโลยีคมนาคมสู่อนาคต

การพัฒนาระบบคมนาคม ขับเคลื่อนไปได้โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการ ควบคู่ไปพร้อมกับการกำกับดูแลบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ไปจนถึงผู้ประกอบการขนส่ง ให้เป็นไปตามกฎระเบียบที่กำหนด รวมถึงการปลูกฝังวินัยจราจร ที่ต้องทำไปอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

ในอนาคตของระบบขนส่งสาธารณะไทย จะมีการใช้ระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligence Transport System : ITS) ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น จะสามารถรายงานสภาพการจราจรแบบReal Time มีการให้บริการต่าง ๆ แบบอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ GPS ในการควบคุมขับขี่รถโดยสารสาธารณะ ที่จะอำนวยความสะดวก รักษาความปลอดภัย มีความตรงต่อเวลาและประหยัดเวลาผู้เดินทาง

โครงข่ายคมนาคมที่พัฒนาและมีประสิทธิภาพ จะเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ โดยจะเป็นกลไกและเครื่องมือสำคัญของการลงทุน ทั้งในภาคการผลิต และภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะต้นทุนด้านการขนส่งและการเดินทาง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สำคัญของต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งจะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สร้างความได้เปรียบให้กับประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศมีความมั่นคง และประชาชนมีรายได้ที่สูงขึ้น

ขณะที่โลกและประเทศโดยรอบกำลังพัฒนาอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่ผลักดันให้ไทยต้องเดินไปข้างหน้าจะเป็นการ “สร้างโอกาส” ให้กับประเทศ ด้วยศักยภาพของไทยที่มีทำเลที่ตั้งที่มีความได้เปรียบต่อการคมนาคมขนส่งในภูมิภาค และมีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่การเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งของภูมิภาคในทุกรูปแบบการขนส่ง เมื่อประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมที่ดีและมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายแล้ว จะส่งผลให้เกิดความต้องการในการเดินทาง การค้า และการลงทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาค

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0