‘ดีเซล’ จ่อลิตร 37 บาท โยนกองทุนน้ำมันโปะอุ้ม เหตุพิษคลังเลิกช่วยภาษี 5 บ. ธนารักษ์โละขายคอนโด 2.7 พันห้อง-ลดหนี้พันล.
เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม นายเกรียงไกร พัฒนาภรณ์ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกรมสรรพสามิต กล่าวว่า มาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาทต่อลิตรจะสิ้นสุดวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ หากรัฐบาลและกระทรวงพลังงานต้องการขอขยายมาตรการต่อเนื่องให้ก่อนในวันที่ 21 กรกฎาคมจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเสนอความเห็บชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต่อไปการพิจารณาลดภาษีน้ำมันดีเซลนั้น ถ้ารอรัฐบาลชุดใหม่คงไม่ทันที่จะต่อมาตรการให้ต่อเนื่อง ดังนั้น ต้องให้เสนอที่ ครม. และขอจาก กกต.ได้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการหารือกันว่าจะขยายต่อมาตรการหรือไม่ คาดว่าสัปดาห์หน้าคงจะมีการหารือในเรื่องดังกล่าว นายเกรียงไกรกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 34) พ.ศ.2566 สาระสำคัญคือ ยกเลิกประกาศการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป หมายความว่าจะไม่มีการขยายมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลลง 5 บาทต่อลิตรที่จะสิ้นสุดวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ ตาม ครม.ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี อนุมัติก่อนยุบสภา ดังนั้น หากไม่มีการขยายมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซล จะทำให้ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม เป็นต้นไป สรรพสามิตจะจัดเก็บภาษีน้ำมันที่อัตราปกติ
แหล่งข่าวจากสำนักงานกองทุนน้ำเชื้อเพลิง (สกนช.) กล่าวถึงกรณีกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ยกเลิกประกาศการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป หรือไม่มีการขยายมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลลง 5 บาทต่อลิตร ที่จะสิ้นสุดวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ ว่าเบื้องต้น สกนช.อยู่ระหว่างจัดทำแผนรับมือสถานการณ์ หากท้ายที่สุดกระทรวงการคลังไม่ต่ออายุลดภาษีดีเซล โดยจะใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าอุดหนุนแทนส่วนต่างภาษีที่หายไปในอัตรา 5 บาทต่อลิตร เพราะหากไม่ดำเนินการจะทำราคาดีเซลเพิ่มขึ้นสูงระดับ 37 บาทต่อลิตร จากปัจจุบันอยู่ที่ 31.94 บาทต่อลิตร เพื่อรักษาระดับราคาไม่ให้กระทบประชาชนผู้ใช้น้ำมันและภาคขนส่งที่จะมีผลต่อราคาสินค้าปลายทาง
ขณะที่ นายจำเริญ โพธิยอด อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า กรมเตรียมนำทรัพย์ที่ได้รับจากคดียึดทรัพย์ให้ตกเป็นของแผ่นดินมาบริหารจัดการ หรือขายทอดตลาดออกไป ได้แก่ คอนโดมิเนียม จำนวน 2,700 ห้อง มูลค่ารวมมากกว่า 2,700 พันล้านบาท เพราะบางห้องชุดมีมูลค่ากว่า 20-30 ล้านบาทครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่กรมจะได้รับทรัพย์ที่เป็นคอนโดมิเนียมที่มีจำนวนมากถึง 2.7 พันรายการออกขายทอดตลาด จึงต้อง
เตรียมวางแนวทางในการจำหน่ายออกไปโดยเร็ว เนื่องจากคอนโดมิเนียมจะมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่าค่าส่วนกลางเข้ามาด้วย ค่าใช้จ่ายตรงนี้หากคิดเป็นเม็ดเงินแล้วถือว่าค่อนข้างสูง ค้างจ่ายค่าส่วนกลางมานาน หากไม่รีบจำหน่ายออกไปภาระค่าใช้จ่ายจะเกิดมากขึ้นไปอีก นายจำเริญกล่าวและว่า ในส่วนค่าใช้จ่ายส่วนกลางดังกล่าวเบื้องต้นกรมประเมินว่าจะมีราว 400-1,000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายส่วนนี้กรมไม่มีความสามารถในการชำระได้ จึงหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าจะมีแนวทางอย่างไรที่จะช่วยผ่อนปรนภาระดังกล่าวให้กับกรมได้บ้าง
ความเห็น 3
🏹 Thanoo 🏹
ถูกต้องแล้วครับ...
ประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลง ตามหัวหน้ารัฐบาล.!
29 พ.ค. 2566 เวลา 02.39 น.
ชัชวาล0857557007
เข้าบริคแล้วยังอิงราคาสิงคโป
คิดตามจิงดีกว่า60us.
29 พ.ค. 2566 เวลา 05.04 น.
ดูทั้งหมด