โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ต่างประเทศ

จีนเตือนทั่วโลก! พบ "ไวรัสโคโรนา" 20 สายพันธุ์ใหม่จากค้างคาว

WeR NEWS

เผยแพร่ 26 ก.ย 2566 เวลา 04.47 น.

วันที่ 26 กันยายน 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Center for Medical Genomics” ระบุว่า “จีนออกมาเตือนทั่วโลกให้เตรียมพร้อมรับมือกับไวรัสโคโรนา 20 สายพันธุ์ใหม่จากค้างคาวที่อาจแพร่ระบาดมาสู่คน

ดร.ฉี เจิ่งลี่ ผู้อํานวยการศูนย์โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ออกมาเตือนว่า พบไวรัสโคโรนาจากค้างคาวกว่า 20 สายพันธุ์ใหม่ “มีความเสี่ยงสูง” ที่อาจก้าวข้ามมาระบาดในคน

โดย ดร.ฉี เจิ่งลี่ ได้รับสมญาว่า “หญิงค้างคาว (bat woman)” และ “นักล่าไวรัส (virus hunter)” เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนผู้ที่มีชื่อเสียง ทําการวิจัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาที่กระโดดข้ามจากสัตว์โดยเฉพาะค้างคาวมาติดต่อในคน และเป็นผู้อํานวยการศูนย์ติดเชื้ออุบัติใหม่ สถาบันไวรัสวิทยาเมืองอู่ฮั่นและโด่งดังจากงานวิจัยเกี่ยวกับ SARS-CoV-1

ในปี 2560 ดร.ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยค้นพบว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ SARS น่าจะมีต้นกําเนิดมาจากค้างคาวเกือกม้า (Horseshoe Bat) ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน

ส่วนวิธีที่ ดร.ฉี เจิ่งลี่ และทีมวิจัยใช้ตรวจจับและระบุสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่มีความเสี่ยงสูง 20 สายพันธุ์จากค้างคาวคือ:

  • เก็บตัวอย่างส่งตรวจจากประชากรค้างคาวทั่วประเทศจีน ทั้งจากอุจจาระและการสวอปในช่องปากของค้างคาว
  • ทำการทดสอบด้วยเทคนิค PCR เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาในตัวอย่าง
  • ตัวอย่างที่ PCR ให้ผลบวกต่อไวรัสโคโรนา จะถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม
  • นำข้อมูลรหัสพันธุกรรมโดยเฉพาะในส่วนยีนที่ควบคุมการสร้างส่วนหนามมาวิเคราะห์เปรียบความเหมือนความต่างกับส่วนหนามของโควิด-19 ที่ระบาดในคนอยู่ในขณะนี้
  • ประเมินความสามารถของไวรัสในการเข้าจับกับตัวรับ “ACE2” บนผิวเซลล์ของมนุษย์ โปรตีนส่วนหนามหรือสไปค์ (spike protein) ของไวรัส SARS-CoV-2 สามารถจับกับโปรตีน ACE2 บนผิวของเซลล์ปอด ส่งผลให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์และเริ่มการติดเชื้อ

อย่างไรดีนักวิจัยจากหลายสถาบันได้ออกมาเตือนถึงการล่าไวรัสที่โลกไม่รู้จัก (Exotic virus hunting) อาจเป็นการได้ไม่คุ้มเสียหรือไม่? กล่าวคือกลับทำให้มนุษย์และไวรัสในสัตว์ป่าเข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้นจนสุ่มเสี่ยงที่เจ้าหน้าที่ล่าไวรัสอาจติดเชื้อไวรัสเสียเองจนเกิดเป็นโรคระบาดติดต่อร้ายแรงไปทั่วโลกหรือไม่?”

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0