โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รู้หรือไม่กระแสฮิต NFT ทำลายสิ่งแวดล้อมหนัก?

IGreen

เผยแพร่ 27 ม.ค. 2565 เวลา 06.14 น. • iGreen

ตอนนี้ NFT กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป มันมาจากคำว่า Non-Fungible Token ซึ่งแปลว่า "โทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้" เป็นหน่วยที่จัดเก็บข้อมูลในบัญชีแยกประเภทดิจิทัล หรือบล็อกเชนที่รับรองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน 

มันเป็นหลักการเดียวกับเหรียญคริปโท เพียงแต่ NFT จะอยู่รูปแบบของภาพถ่าย วิดีโอ เสียง และไฟล์ดิจิทัลประเภทอื่น ๆ จึงนำมาซื้อขายกัน โดยมีหนังสือรับรองความถูกต้องหรือหลักฐานการเป็นเจ้าของ จึงนิยมซื้อขายภาพหรือคลิป NFT ด้วยราคาแพงราวกับผลงานของศิลปินเอก  

งานอาร์ต NFT ส่วนใหญ่เป็นศิลปะดิจิทัล ผลงาน "Merge" โดยศิลปินที่ชื่อ Pak เป็น NFT ที่แพงที่สุดด้วยราคา 91.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และงานชื่อ Everydays: the First 5000 Days โดยศิลปิน Mike Winkelmann (หรือที่รู้จักในชื่อ Beeple) แพงเป็นอันดับสองที่ราคา 69.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2021

ภาพ Everyday The First 5000 Days ราคาซื้อขายอยู่ที่ 69 ล้านดอลลาร์.png
ภาพ Everyday The First 5000 Days ราคาซื้อขายอยู่ที่ 69 ล้านดอลลาร์.png

 

แต่บางครั้งมันไม่ใช่งานของศิลปินดังเลย มันเป็นงานที่ดูหยาบของใครก็ไม่รู้ แต่ถูกประมูลไปด้วยราคาสูงมาก จนทำให้ถูกตั้งคำถามว่ามันเป็นการหลอกขายงานศิลป์หรือเปล่า และตั้งข้อสังกตว่า NFT ถูกใช้เป็นการฟอกเงินหรือไม่ ยังไม่นับการที่มันถูกปั่นกระแสจนแรงเว่อร์ทำให้มีลักษณะเป็นการเก็งกำไรที่อาจเกิดฟองสบู่แตกจนอาจล่มจมกันไป

แต่ที่จะล่มจมไปพร้อม ๆ กันคือสิ่งแวดล้อมโลก เพราะเหมือนกับคริปโทที่อิงกับระบบบล็อกเชนมันกินพลังงานมหาศาล เช่น รายงานจากเดอะนิวยอร์กไทมส์ระบุว่า การสร้าง NFT โดยเฉลี่ยชิ้นหนึ่ง ๆ สร้าง "คาร์บอนที่ทำให้โลกร้อนกว่า 200 กิโลกรัม เทียบเท่ากับการขับรถ 500 ไมล์ (804 กิโลเมตร) ด้วยรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินทั่วไปของอเมริกา"

CNBCTV18.com รายงานว่า cryptoart.wtf ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับ NFT แต่ละรายการ วิเคราะห์ NFT จำนวน 18,000 ชิ้นและพบว่า NFT เฉลี่ยมีรอยเท้าคาร์บอนที่มากกว่ากระแสไฟฟ้าที่ประชากรในในยุโรปใช้กันตลอด 1 เดือนเลยทีเดียว

นอกจากนี้ CNBCTV18.com ยังรายงานว่า ตลาดกลาง NFT ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้ Ethereum สำหรับธุรกรรม NFT หากเราต้องการซื้อ NFT จากตลาดยอดนิยมก็ต้องมีโทเค็น Ethereum และยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการทำเหรียญในสกุลเงินท้องถิ่นของ Ethereum (ETH) หากคุณต้องการลงรายการเสนอขายและขาย NFT ของเรา

Cr ภาพ RingrEven
Cr ภาพ RingrEven

แต่รู้หรือไม่ว่าเครือข่าย Ethereum ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับสองของโลกรองจาก Bitoin ใช้ไฟฟ้าเท่ากับประเทศลิเบียทั้งหมดเลยทีเดียว คำถามก็คือมันเป็นการลงทุนที่คุ้มหรือไม่เมื่อเทียบกับสิ่งที่โลกต้องเสียไป? ไม่ต้องถึงกับถามว่ามันคุ้มหรือไม่ที่จะให้เป็นสกุลเงินที่ใช้กันจริง ๆ เพราะต้นทุนของมันสูงกว่าเงินกระดาษมากมาย

แต่มันมีทางออกไหมสำหรับคนรัก NFT? ตอบว่ามี เช่น Ethereum  เองก็พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในการลดพลังงานลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอยู่ (เปลี่ยนผ่านมา 2 ปีแล้วแต่ยังไม่มีกำหนดว่าจะจบเมื่อไหร่) ระหว่างนี้แทนที่จะใช้ Ethereum ก็สามารถใช้บล็อกเชนที่ใช้พลังงานน้อยลง เช่น Polygon, Tezos, Algorand, Hedera Hashgraph และเครือข่าย PoS อื่น ๆ

เช่น Polygon ที่อยู่ในอินเดียสามารถประหยัดพลังงานมากกว่า Ethereum ถึง 84,810 เท่า สำหรับบริบท หรือ Bubblehouse ที่ประกาศตัวเองว่าเป็นตลาด NFT ที่ปราศจากคาร์บอนแห่งแรก เทียบให้เห็นว่าการสร้าง NFT บน Ethereum นั้นเทียบเท่ากับการส่งอีเมล 20,750 ฉบับ ซึ่งต่างจาก Bubblehouse ที่ใช้พลังงานเท่ากับอีเมล 2.5 ฉบับ

นอกจากนี้ยังมีตลาดซื้อแบบ Eco-friendly NFT ผุดขึ้นมาพอสมควรแล้ว เช่น Kalamint หรือ KodaDot ตลาดเหล่านี้ใช้บล็อกเชนกระแสรองที่ใช้พลังงานน้อยลง เช่น Kalamint ใช้บล็อกเชนของ Tezos เป็นต้น ดังนั้นกับคำถามว่า NFT เป็นกระแสที่รักษ์โลกได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่คำถามเรื่องคุณค่าทางเศรษฐกิจของมันก็ยังเป็นประเด็นถกเถียงกันต่อไป

ข้อมูลจาก

  • Hiroko Tabuchi. (April 13, 2021) "NFTs Are Shaking Up the Art World. They May Be Warming the Planet, Too.". The new York Times.
  • "Can you buy or sell NFTs without affecting the environment?". (Jan 05, 2022). CNBCTV18.com.
  • Srishti Mukherjee. (Jan 22, 2022). "NFTs vs environment: The choice is no longer binary". Analytics India Magazine.

 

 

 

 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0