โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ข้อควรรู้!! วิธีช่วยคนจมน้ำ ที่ถูก ต้องแบบนี้

MThai.com - Health

เผยแพร่ 08 มี.ค. 2561 เวลา 01.00 น.
ข้อควรรู้!! วิธีช่วยคนจมน้ำ ที่ถูก ต้องแบบนี้
จมน้ำ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นแล้ว เราก็จะต้องรู้จัก วิธีช่วยคนจมน้ำ ที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชี

จมน้ำ เป็นสิ่งที่หลายๆ คนไม่ได้คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นจริงๆ เราจะต้องรู้จักวิธีช่วยและปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตให้กับผู้ที่จมน้ำ ก่อนที่จะนำตัวส่งโรงพยาบาล วันนี้เราจะมาแชร์ วิธีช่วยคนจมน้ำ ให้ฟังกันค่ะ

สธ.รณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ

วิธีช่วยคนจมน้ำ

1. ยื่น อุปกรณ์ให้คนตกน้ำจับ เช่น เสื้อ กางเกง ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดตัว เข็มขัด กิ่งไม้ ท่อนไม้ ไม้ง่ามลูกเสือ ตามสระว่ายน้ำก็จะมี HOOK (ไม้ตะขอ) เตรียมไว้สำหรับช่วยผู้ประสบภัย

2. โยน อุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ ให้คนตกน้ำได้จับหรือเกาะ เช่น ขวดน้ำ ถังพลาสติก ห่วงชูชีพ ยางในรถยนต์ และเราอาจจะเอาเชือกมาผูกอุปกรณ์เหล่านั้น เพื่อที่จะลากคนตกน้ำเข้าฝั่ง หรือหากโยนพลาดก็สาวเข้ามาแล้วโยนให้อีกครั้งหนึ่ง

3. ใช้เรือออกไปช่วย ให้ตัวเราอยู่ข้างบน แล้วส่งอุปกรณ์ขนาดใหญ่ให้คนที่ตกน้ำ เช่น กระดานโต้คลื่น กระดานเล่นใบ เจ็ทสกี เรือพาย เรือแคนู เรือกรรเชียง เรือใบ ฯลฯ หากจะให้คนตกน้ำขึ้นเรือ ในกรณีที่เป็นเรือเล็ก ให้คนตกน้ำปีนขึ้นทางกราบเรือด้านซ้าย ต้องระมัดระวังเรือพลิกคว่ำด้วย หากเป็นเรือขนาดใหญ่จะขึ้นด้านใดก็ได้ ในกรณีที่เป็นเรือเครื่องให้ดับเครื่องก่อน

4. ว่ายน้ำออกไปช่วย ในกรณีนี้จะค่อนข้างอันตราย และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก ให้ผู้ที่ออกไปช่วยนำอุปกรณ์จำพวก แท่งโฟมยาว ๆ (Kick board ซึ่งถ้าหากเล็กและสั้นเกินไป ก็จะไม่ปลอดภัย) ห่วงหรือยางในรถยนต์ หรือเราใส่เสื้อชูชีพไปด้วย เมื่อใกล้ถึงตัวผู้จมน้ำ ให้อยู่ห่างๆ แล้วส่งอุปกรณ์ให้เขา อย่าพยายามเข้าไปใกล้ๆ เพราะเขาจะเข้ามาเกาะและกดเราให้จมน้ำไปด้วย (หากไม่มีอุปกรณ์ที่ว่า ให้หาอะไรก็ได้ที่ยาวๆ เพื่อป้องกันให้เราไม่ต้องเข้าไปใกล้เขามาก) หากผู้ที่ตกน้ำตกใจ และจะเข้ามากอดเรา ให้เรารีบดำน้ำหนีก่อน  

วิธีลาก/พา ผู้ที่จมน้ำเข้าฝั่ง

1. กอดไขว้หน้าอก

วิธีการนี้ผู้ช่วยเหลือต้องเข้าด้านหลังผู้จมน้ำ ให้ใช้ท่า Cross chest (เอารักแร้เราหนีบบนบ่าคนจมน้ำ แขนพาดผ่านหน้าอกแบบสะพายแล่ง ไปจับซอกรักแร้อีกด้านของคนจมน้ำ) แล้วใช้อีกมือหนึ่งว่ายเข้าหาฝั่ง ในขณะที่พยุงตัวผู้จมน้ำเข้าหาฝั่งต้องให้ใบหน้า โดยเฉพาะปากและจมูกผู้จมน้ำอยู่พ้นเหนือผิวน้ำ

2. จับคาง

วิธีนี้ผู้ช่วยเหลือเข้าทางด้านหลังของผู้จมน้ำ ใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับขากรรไกรทั้ง 2 ข้างของผู้จมน้ำ แล้วใช้เท้าตีน้ำช่วยพยุงเข้าหาฝั่ง และพยายามให้ใบหน้าของผู้จมน้ำลอยเหนือผิวน้ำ

3. ดึงผม

ผู้ช่วยเหลือเข้าด้านหลังผู้จมน้ำ ใช้มือข้างหนึ่งจับผมผู้จมน้ำไว้ให้แน่น แล้วใช้มืออีกข้างว่ายพยุงตัวเข้าหาฝั่ง โดยที่ปากและจมูกผู้จมน้ำลอยเหนือผิวน้ำ วิธีเหมาะสำหรับผู้ที่ดิ้นมาก หรือพยายามกอดรัดผู้ช่วยเหลือ

เอาผู้ป่วยขึ้นมาจากน้ำแล้วทำไงต่อ?

1. การช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก

ให้ผู้ป่วยนอนหงาย วางศีรษะให้ต่ำกว่าไหล่เล็กน้อย และให้แหงนศีรษะไปข้างหลังเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ทางเดินหายใจของผู้ป่วยโล่ง ใช้มือหนึ่งบีบจมูกของผู้ป่วย ใช้นิ้วหัวแม่มือของอีกมือหนึ่งแหย่เข้าไปในปากผู้ป่วยเพื่อดึงคางให้อ้าออก หายใจเข้าลึกๆ อ้าปากให้กว้างๆ เอาปากประกอบกับปากผู้ป่วยให้แน่นแล้วเป่าลมเข้าไปในปากผู้ป่วย ดูว่าหน้าอกผู้ป่วยพองขึ้นหรือไม่ ถ้าพองขึ้นแสดงว่าลมเข้าไปในปอดได้ดี ถอนปากที่ประกบออกเพื่อให้ผู้ป่วยได้หายใจออกเอง เมื่อผู้ป่วยหน้าอกยุบลง ก็เป่าลมเข้าไปในปากผู้ป่วยอีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ประมาณ 15-20 ครั้ง ต่อนาทีจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง ระหว่างปฏิบัติให้ศีรษะผู้ป่วยแหงนไปข้างหลังตลอดเวลา

2. การช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าจมูก

ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเช่นเดียวกับวิธีช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก แต่ใช้มือข้างหนึ่งดันคางผู้ป่วยให้ปากปิดสนิท หายใจเข้าลึกๆ เอาปากประกบลงไปบนจมูกผู้ป่วยให้แนบสนิท แล้วเป่าลมเข้าไป ดูว่าหน้าอกผู้ป่วยพองขึ้นหรือไม่ ถ้าพองขึ้นแสดงว่าลมเข้าไปในปอดได้ดี ถอนปากออกแล้วให้มือจับคางผู้ป่วยให้อ้าออก เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออกได้ทางปาก เมื่อผู้ป่วยหน้าอกยุบลง ก็เป่าลมไปทางจมูกเช่นเดิมอีก ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง

3. ในเด็กเล็กอาจใช้วิธีช่วยหายใจ

ให้เป่าลมเข้าไปทั้งทางปากและจมูก ประกบปากเข้ากับทั้งปากและจมูกของเด็ก ขณะช่วยหายใจ ถ้าสังเกตเห็นท้องผู้ป่วยพองโตขึ้น แสดงว่ามีลมเข้าไปในกระเพาะด้วยให้ใช้ฝ่ามือกดลงตรงกลางช่องท้องเหนือต่อสะดือ เพื่อดันให้ลมออก จะทำให้การช่วยหายใจที่กำลังปฏิบัติอยู่ได้ผลดีขึ้น

4. ยกแขนและกดทรวงอก

ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเช่นเดียวกับสองวิธีแรก พับแขนผู้ป่วยเข้าหากันไว้บนอก นั่งคุกเข่าอยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย จับข้อมือผู้ป่วยทั้ง 2 ข้าง ข้างละมือ โย้ตัวไปข้างหน้าเหยียดแขนตรงกดลงไปตรงมือของผู้ป่วย ซึ่งจะเท่ากับกดทรวงอกของผู้ป่วยให้หายใจออกขับเอาน้ำออกมา แล้วโย้ตัวไปข้างหลังพร้อมกับจับแขนผู้ป่วยทั้ง 2 ข้างดึงแยกขึ้นไปข้างบนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะทำให้ปอดผู้ป่วยขยายตัว ทำให้อากาศไหลเข้าไปได้ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง

5. แยกแขนและกดหลัง

ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ ให้แขนของผู้ป่วยทั้ง 2 ข้างพับเข้าหากัน หนุนอยู่ใต้คาง นั่งคุกเข่าอยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย วางฝ่ามือลงบนหลังของผู้ป่วยใต้ต่อกระดูกสะบัก ข้างละมือ โดยให้หัวแม่มือมาจดกัน กางนิ้วมือทั้ง 2 ข้างออก โน้มตัวไปข้างหน้า แขนเหยียดตรง ใช้น้ำหนักตัวกดลงบนแผ่นหลังของผู้ป่วย ซึ่งจะเท่ากับกดทรวงอกของผู้ป่วยให้หายใจออก ขับเอาน้ำ (ถ้ามี) ออกมา จากนี้ย้ายมือทั้ง 2 ข้างมาจับต้นแขนผู้ป่วยแล้วโย้ตัวกลับ พร้อมกับดึงข้อศอกของผู้ป่วยมาด้วย จะทำให้ปอดผู้ป่วยขยายตัว ทำให้อากาศไหลเข้าไปได้ ทำเช่นนี้เรื่อยๆ ไปจนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง ถ้าการช่วยหายใจกระทำได้ถูกต้องดังกล่าว และหัวใจของผู้ป่วยยังเต้นอยู่ตลอดเวลาผู้ป่วยจะดูแดงขึ้น และอาจกลับมาหายใจได้เป็นปกติอีก

ที่มา : สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำwww.nurse.nu.ac.thwww.honestdocs.co

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0