โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ตอบคำถาม ทำบุญ กับ ทำทาน ต่างกันอย่างไร

MThai.com

เผยแพร่ 23 ธ.ค. 2562 เวลา 13.00 น.
ตอบคำถาม ทำบุญ กับ ทำทาน ต่างกันอย่างไร
เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าการ ทำบุญ และ ทำทาน เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร วันนี้แม่หมอมีคำตอบมาฝากทุกท่านกันค่ะ :)

 ทำบุญ  กับ ทำทาน  ต่างกันอย่างไร ?

คงจะไม่มีใครที่จะไม่เข้าใจคำว่า ทำบุญ หรือ ทำทาน โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ และท่านเชื่อไหมว่าจุดใหญ่ใจความของ พระพุทธศาสนานั้น อยู่ตรงนี้เท่านั้นเอง ย้ำอีกครั้งว่าอยู่ตรงนี้และเท่านี้จริงๆ

*“ทำบุญ” หรือ “ทำทาน” ก็คือการให้ *การปฏิบัติธรรมของพุทธจึงเริ่มต้นด้วย ทาน แล้วก็ศีล สมาธิ ปัญญา และแท้จริงแล้ว แม้จะเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญาก็ตาม ก็คือการหากฎหาวิธีมาบีบบังคับ หรือทำการหว่านล้อมให้กระทำ บุญ หรือ ทำทาน นั้นให้ได้อย่างแท้จริง จนคนผู้นั้นกลายเป็นคนใจบุญสุนทานจริงๆ กระทั่งไม่เกิดอารมณ์เกาะเกี่ยว หวงแหนหรือเสียดายอะไรในการให้นั้นๆเลย ไม่ว่าในกรณีใดๆ และทุกครั้งที่ทำ แม้จะเป็นการให้ที่เล็กน้อยที่สุด หรือจะเป็นการให้ที่มากที่สุด

*“ทำ” ในที่นี้หมายถึงต้อง ทำจริงๆ และทำให้มาก ไม่ใช่เอาแต่พูด เอาแต่รู้เท่านั้น *

*ใจความจริงๆคือต้องทำให้ได้ ทำบุญให้จริง ทำทานให้จริง *

และให้ไปโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่ใช่ให้แล้วหวังผลตอบแทน

การให้ ในที่นี้ก็คือให้ทุกๆสิ่ง หมายความว่าไม่เอาไว้เป็นของเรา ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น จะเป็นเจ้าของเงินทอง หรือวัตถุธรรมใดๆ ไปตราบจนกระทั่งแม้อารมณ์โลภ รัก โกรธ ชังอันใด ก็ไม่เอาไว้เป็นของเราเลยจริงๆ เราก็จะกลายเป็นผู้ไม่มีสมบัติอะไรเลย ไม่มีโลภ ไม่มีรัก ไม่มีโกรธ และไม่มีชัง คนผู้นี้แหละคือผู้ถึง “ที่สุดแห่งทุกข์” ถ้าใครอยากพ้นทุกข์จริงๆ ก็ให้เริ่มหัด ทำบุญ และทำทาน เสียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป อย่ามัวคิดผัดผ่อน หรือที่องค์พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า อย่ามัวประมาทกันอยู่เลย

มีความจริงแท้อยู่ว่า ถ้าผู้ใดยังไม่เคยควักเงินจำนวนเล็กน้อยให้แก่ผู้อื่นเลย เขาก็จะไม่กล้าควักเงินจำนวนมากให้แก่ใครเป็นอันขาด !! เพราะเขากลัวเงินของเขาจะพร่องไป และโดยนัยนี้เอง ถ้าผู้ใดไม่เคยควักเงินก้อนสุดท้ายที่มีในชีวิตแก่คนอื่น โดยไม่เกิดความกลัวแต่อย่างใดเลย คนผู้นั้นก็จะไม่กล้าประจัญหน้ากับคำว่า “ไม่โลภ” เพราะเขากลัวจะอดตาย แล้วเขาจะไม่ได้เป็นผู้หมดสิ้น สูญสลายถึงภาวะแห่งความว่างเปล่า เบา สบาย อันเรียกว่า “สุญตา” หรือเป็น “นิพพาน” นั้นได้เลย

 ………………………………………………………………………………………………………………..

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0