โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แม่และเด็ก

พ่อแม่ควรรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ "การข้ามเพศ" ของเด็กและวัยรุ่น

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 13 มิ.ย. 2565 เวลา 11.45 น. • Motherhood.co.th Blog
พ่อแม่ควรรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ

พ่อแม่ควรรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ "การข้ามเพศ" ของเด็กและวัยรุ่น

แม้ว่าการเรียกร้องสมรมเท่าเทียมของ LGBTIQA+ จะเป็นกระแสมากในเดือน Pride นี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า "การข้ามเพศ" และคนข้ามเพศยังไม่เป็นที่เข้าใจในสังคมสักเท่าไรนัก Motherhood จึงได้นำเอาแนวทางทางการแพทย์จากทั้งแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ และได้รวบรวมคำตอบสำหรับคำถามที่พบบ่อยบางข้อเกี่ยวกับเด็กและคนหนุ่มสาวข้ามเพศเอาไว้ในบทความนี้

การทำความเข้าใจชุมชนคนข้ามเพศ

การเป็นคนข้ามเพศหมายความว่าอย่างไร ?

คนข้ามเพศ (Transgender) เป็นคำที่อยู่ใต้ร่ม (Umbrella term) สำหรับทุกคนที่เพศไม่สอดคล้องกับเพศที่ได้ถูกกำหนดให้ตั้งแต่แรกเกิด คนตรงเพศ (Cisgender) เป็นคำที่ใช้กับผู้ที่ไม่ใช่คนข้ามเพศ — ผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศตรงกับเพศที่ถูกกำหนดให้

อัตลักษณ์ทางเพศไม่เหมือนกับการแสดงออกทางเพศ ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงตรงเพศอาจแสดงตัวตนในแบบที่ใกล้เคียงกับสเตอริโอไทป์ของ 'ความเป็นชาย' แต่ยังคงระบุว่าเป็นเพศหญิงตามที่ถูกกำหนดให้ตั้งแต่แรกเกิด

แพทย์วินิจฉัย Gender dysphoria อย่างไร ?

Gender dysphoria คือภาวะความไม่พึงพอใจในเพศของตนเองหรือความทุกข์ใจในเพศสภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่ตรงกันระหว่างเพศที่ถูกกำหนดให้ตั้งแต่แรกเกิดและอัตลักษณ์ทางเพศ ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิตที่เผยแพร่โดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association - APA)

ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นคนข้ามเพศจะได้รับการวินิจฉัยว่ามี Gender dysphoria คนข้ามเพศบางคนไม่รู้สึกไม่สบายหรือทุกข์ทรมานในร่างกายของตน และไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะนี้จะเลือกรับการรักษาพยาบาลหรือการผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนเพศ

สำหรับวัยรุ่นที่จะได้รับการวินิจฉัยว่ามี Gender dysphoria พวกเขาต้องมีประสบการณ์ "ความไม่ลงรอยกันอย่างเห็นได้ชัด" ระหว่างอัตลักษณ์ทางเพศและเพศที่ถูกกำหนดให้ตั้งแต่แรกเกิดซึ่งกินเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ตามคู่มือการวินิจฉัยของ APA สำหรับวัยรุ่น สิ่งนี้สามารถแสดงออกได้ว่าเป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะป้องกันไม่ให้มีการพัฒนาลักษณะทุติยภูมิทางเพศ เช่น ขนบนใบหน้าหรือการเจริญเติบโตของเต้านม

Gender dysphoria อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพ อาจส่งผลต่อความสามารถในการทำงานที่โรงเรียนหรือที่ทำงานของบุคคล และอาจนำไปสู่ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายอย่างรุนแรง วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่บางคนประสบปัญหาในการใช้ห้องน้ำและพัฒนาปัญหาทางเดินอาหาร คนข้ามเพศบางคนที่รัดหน้าอกของพวกเขาเคยประสบกับการติดเชื้อที่ผิวหนังและปัญหาระบบทางเดินหายใจ

องค์กรทางการแพทย์รายใหญ่ เช่น สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (AAP) ได้สนับสนุนให้แพทย์และผู้ปกครองใช้วิธีการยืนยันเพศสภาพในการดูแลเด็กข้ามเพศ

เด็กเริ่มเข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองกับเพศเมื่อใด ?

เด็กทุกคนโดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ทางเพศของพวกเขาเริ่มเข้าใจเพศของตนเองโดยปกติเมื่ออายุ 18-24 เดือน นั่นคือการรับรู้ของพวกเขาว่าฉันเป็นเด็กผู้ชาย ฉันเป็นผู้หญิง ฉันเป็นสิ่งที่ไม่อยู่ในระบบสองเพศโดยสิ้นเชิง โดยปกติ พวกเขาสามารถติดป้ายให้กับตัวเองและเริ่มบอกเล่าได้ระหว่าง 18-24 เดือน ไปจนถึง 30 เดือน

เด็กรู้ว่าพวกเขาเป็นคนข้ามเพศตอนอายุเท่าไหร่ ?

ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีไป ด้วยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุมชนคนข้ามเพศที่มีให้สำหรับคนหนุ่มสาวและผู้ปกครอง มีเด็ก Come out ในวัยที่เร็วกว่าที่เคยเป็นมา และมีคลินิกเกี่ยวกับคนข้ามเพศจำนวนมากขึ้นเพื่อดูแลพวกเขา

บางคนไม่ทราบว่าพวกเขาเป็นคนข้ามเพศจนกว่าจะถึงวัยแรกรุ่นหรือโตเป็นผู้ใหญ่ แต่เด็กบางคนแสดงสัญญาณว่าพวกเขาเป็นคนข้ามเพศตั้งแต่ยังเด็ก ผู้ป่วยเยาวชนข้ามเพศส่วนใหญ่ที่ไปคลินิกคนข้ามเพศมักจะมากันตอนที่พวกเขาถึงวัยแรกรุ่นแล้ว มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของเด็กเท่านั้นที่มาคลินิกเมื่อยังอยู่ในช่วงก่อนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

การดูแลเด็กข้ามเพศ

เด็กเล็กจะเข้าสู่กระบวนการข้ามเพศอย่างไร ?

สำหรับเด็กข้ามเพศก่อนวัยเรียนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามี Gender dysphoria แพทย์แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาเพื่อการข้ามเพศ หากเด็กยังไม่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาว ไม่มีอะไรต้องปิดกั้นและไม่มีอะไรต้องไปเพิ่ม เพราะมันเกี่ยวกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนเด็กมากกว่า

แทนที่จะเริ่มต้นการข้ามเพศ เด็กข้ามเพศที่ยังไม่เข้าสู่วัยแรกรุ่น อาจเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เปลี่ยนชื่อและสรรพนามของตนเอง และสวมเสื้อผ้าหรือทรงผมที่แตกต่างกัน เด็กข้ามเพศจะไม่ได้รับการเสนอให้ใช้ยาที่ยับยั้งการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือการรักษาด้วยฮอร์โมนจนกว่าจะถึงวัยแรกรุ่น แนวปฏิบัติทางการแพทย์โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ทำศัลยกรรมยืนยันเพศสภาพก่อนที่เด็กจะอายุครบ 18 ปี

อะไรคือยายับยั้งการเจริญพันธุ์และเมื่อใดที่จะให้มันกับเด็กข้ามเพศ ?

เมื่อเด็กข้ามเพศมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยว่ามี Gender dysphoria และหลังจากที่เด็กแสดงการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยแรกรุ่นในครั้งแรก แพทย์อาจแนะนำการรักษาเพื่อระงับวัยแรกรุ่น หรือที่เรียกว่ายายับยั้งการเจริญพันธุ์

ยายับยั้งการเจริญพันธุ์และป้องกันการเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายของวัยรุ่น เช่น การมีประจำเดือนในเด็กชายข้ามเพศ หรือเสียงที่ห้าวขึ้นในเด็กหญิงข้ามเพศ ตัวบล็อกการเข้าวัยแรกรุ่นมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนหนุ่มสาวมีเวลามากขึ้นในการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป เมื่อใดก็ตาม วัยรุ่นข้ามเพศสามารถหยุดการปิดกั้นวัยแรกรุ่นและจะเข้าสู่วัยแรกรุ่นได้ต่อไปตามเพศที่ถูกกำหนดให้ตั้งแต่แรกเกิด

แพทย์ได้ใช้ยายับยั้งการเจริญพันธุ์มาเป็นเวลาหลายทศวรรษเพื่อรักษาภาวะเข้าสู่วัยแรกรุ่นก่อนวัย ซึ่งถือเป็นการเข้าสู่วัยแรกรุ่นอย่างผิดปกติในเด็ก เช่นเดียวกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ใหญ่ แต่ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในการบำบัดรักษาเพศภาวะในทศวรรษ 1990 ที่คลินิกคนข้ามเพศในเนเธอร์แลนด์

โดยทั่วไป เนื่องจากบริษัทยาหลายแห่งหลีกเลี่ยงการทำการทดลองกับเด็ก จึงเป็นเรื่องปกติในเวชศาสตร์เด็กที่แพทย์จะสั่งยานอกข้อบ่งใช้ (Drug-off lebel)

มีข้อเสียของยายับยั้งการเจริญพันธุ์หรือไม่ ?

จากเอกสารงานวิจัย ยังไม่เห็นหลักฐานแสดงข้อเสียใดเลย มีพูดถึงผลเสียต่อการสร้างแร่กระดูกตามที่สมาคมต่อมไร้ท่อว่าไว้ แต่ความเสี่ยงที่คำนวณโดยประมาณของการแตกหักของกระดูกยังคงต่ำมาก

ข้อจำกัดที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือเรื่องภาวะเจริญพันธุ์ และมีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้ การยับยั้งภาวะเจริญพันธุ์อาจลดโอกาสหรือขจัดโอกาสที่เด็กข้ามเพศจะมีบุตรโดยทางสายเลือดโดยสิ้นเชิง มีขั้นตอนในการเก็บสเปิร์มหรือไข่เพื่อเก็บรักษาไว้ใช้ในภายหลัง แต่เข้าถึงได้เฉพาะผู้ที่ร่ำรวยมากเท่านั้นที่สามารถจ่ายเพื่อขั้นตอนประเภทนั้นได้

ในด้านพัฒนาการ เรารู้น้อยมากเกี่ยวกับหนักแน่นหากคุณไปถามเด็ก 8 ขวบว่าสักวันหนึ่งในอนาคตหนูอยากจะมีลูกไหม ดังนั้น มันก็เป็นเรื่องได้อย่างเสียอย่าง การยับยั้งภาวะเจริญพันธุ์มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างมากในแง่ของการลดการฆ่าตัวตาย การลดภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล ไม่ได้ใช้มันเพียงเพราะว่าการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนมีบุตรยังไม่ได้มาถึงในอนาคตกันใกล้นี้ใช่ไหม ? เป็นความได้อย่างเสียอย่างที่จะใช้มันเพื่อเรื่องของสุขภาพจิตที่จำเป็นมากในตอนนี้กับความเป็นไปได้ที่วันหนึ่งอาจจะต้องเสียใจกับการตัดสินใจนั้นเพราะต้องการมีลูก

วารสารกุมารเวชศาสตร์ได้ออกแถลงการณ์นโยบายเกี่ยวกับชีวิตของเด็กข้ามเพศในเดือนตุลาคม 2018 มีข้อความอ้างอิงอยู่ในนั้นว่า "การวิจัยที่เข้มข้นและเป็นปัจจุบันมากขึ้นชี้ให้เห็นว่าแทนที่จะเน้นว่าเด็กจะกลายเป็นใคร จงให้คุณค่ากับสิ่งที่พวกเขาเป็น แม้ในวัยเด็ก ส่งเสริมความผูกพันและความยืดหยุ่นที่ปลอดภัย ไม่เพียงแต่สำหรับเด็กเท่านั้น แต่สำหรับทั้งครอบครัวด้วย"

การรักษาด้วยฮอร์โมนคืออะไรและเมื่อใดที่จะให้มันกับเด็กข้ามเพศ ?

เมื่อวัยรุ่นข้ามเพศเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย บางคนอาจร้องขอการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศ — เอสโตรเจนสำหรับเด็กหญิงข้ามเพศ และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสำหรับเด็กชายข้ามเพศ ยาเหล่านี้สามารถช่วยปรับร่างกายของคนข้ามเพศให้เข้ากับอัตลักษณ์ทางเพศ นำไปสู่การเจริญเติบโตของขนบนใบหน้าและเสียงที่ทุ้มกว่าในเด็กชายข้ามเพศ และการเติบโตของเต้านมในผู้หญิงข้ามเพศ

เนื่องจากเป็นการรักษาที่ย้อนกลับคืนสภาพเดิมไม่ได้บางส่วน สมาคมต่อมไร้ท่อจึงแนะนำให้รอที่จะเริ่มการรักษาจนกว่าบุคคลจะมี "ความสามารถทางจิตเพียงพอที่จะให้ความยินยอมอย่างมีข้อมูลครบ" ซึ่งสังคมส่วนมากกล่าวกันว่าจะอยู่ที่อายุ 16 ปี แต่ในทางปฏิบัติ ความสามารถในการยินยอมของวัยรุ่นแต่ละคนจะต้องได้รับพิจารณาเป็นรายบุคคล ซึ่งสมาคมต่อมไร้ท่อแนะนำให้เริ่มการรักษาด้วยขนาดยาที่เพิ่มขึ้นทีละน้อยซึ่งได้รับการตรวจสอบอย่างรอบคอบโดยทีมแพทย์จากสหสาขาวิชาชีพ

การทำศัลยกรรมทรวงอกสามารถทำได้กับวัยรุ่นข้ามเพศก่อนอายุที่กำหนดในแต่ละประเทศ (เช่น อายุ 18 ปีในอเมริกาและยุโรป) บางประเทศก็สนับสนุนให้ทำหลังจากที่ใช้ชีวิตอย่างเพียงพอในบทบาททางเพศที่ต้องการและหลังจากรักษาฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเป็นเวลา 1 ปี

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์บอกอะไรเราเกี่ยวกับการรักษาเหล่านี้และผลกระทบ ?

การวิจัยเกี่ยวกับยาเหล่านี้ยังคงพัฒนาอยู่ เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากธรรมชาติของการรักษา ความท้าทายในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเด็ก และประชากรเยาวชนข้ามเพศที่มีขนาดเล็ก แต่ผลการศึกษาหลายชิ้นเกี่ยวกับยายับยั้งการเจริญพันธุ์พบว่าคนหนุ่มสาวข้ามเพศที่ได้รับการรักษาด้วยยามีอัตราของภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลที่ต่ำกว่า คนหนุ่มสาวที่ต้องการยายับยั้งการเจริญพันธุ์และสามารถเข้าถึงได้มีอัตราการพิจารณาฆ่าตัวตายต่ำกว่า

นักวิจารณ์เกี่ยวกับการรักษาที่ยืนยันเพศสภาพมักโต้แย้งว่าเด็กยังเด็กเกินไปที่จะตัดสินใจในเรื่องเหล่านี้และอาจเสียใจในวัยผู้ใหญ่ ผู้ที่ยังคลางแคลงใจมักจะอ้างสถิติจากการศึกษาที่บอกว่าเด็กข้ามเพศส่วนใหญ่จะเติบโตพ้นไปจากอัตลักษณ์ของคนข้ามเพศในที่สุด แต่ทีมนักวิจัยย้งว่าวิธีการที่ใช้ในการศึกษานี้มีข้อบกพร่อง เนื่องจากนักวิจัยได้รวมกลุ่มเด็กจำนวนมากที่อ้างถึงคลินิกข้ามเพศ ไม่ใช่เด็กที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์สำหรับภาวะ Gender dysphoria เด็กเหล่านี้จำนวนมากไม่ได้เป็นคนข้ามเพศตั้งแต่แรก และอาจแค่ถูกพ่อแม่พาไปที่คลินิกเพราะพวกเขาดูเป็น 'ทอมบอย' หรือเด็กที่มีอัตลักษณ์ทางเพศและการแสดงออกแตกต่างไปจากความเป็นชายหรือหญิงในบริบทของสังคม (Gender non-conforming)

ร้อยละ 13.1 ของคนข้ามเพศที่ระบุได้ในปัจจุบันมี 'การเปลี่ยนเพศกลับคืน' ในบางช่วงของชีวิต แต่ร้อยละ 82.5 ของคนเหล่านั้นระบุว่าการตัดสินใจของพวกเขามาจากปัจจัยภายนอก เช่น แรงกดดันจากครอบครัว สภาพแวดล้อมในโรงเรียน และความเปราะบางต่อความรุนแรง

บทความนี้เป็นเพียงการปูพื้นฐานความเข้าใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกข้ามเพศเท่านั้น ว่าเมื่อคุณพาลูกไปพบแพทย์แล้ว ขั้นตอนคร่าว ๆ จะเป็นอย่างไรบ้าง ในบทความหน้าเราจะมาเจาะลึกกันถึงการยับยั้งการเจริญพันธุ์และเรื่องของการรับฮอร์โมนกันให้มากขึ้นค่ะ

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0