โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

‘เกอเธ่’สานต่อ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม คัดตัวแทนเยาวชน 6 ประเทศเข้าค่าย

Khaosod

อัพเดต 19 ส.ค. 2565 เวลา 08.25 น. • เผยแพร่ 19 ส.ค. 2565 เวลา 08.25 น.
P-เกอเธ่001

‘เกอเธ่’สานต่อ พิทักษ์สิ่งแวดล้อม คัดตัวแทนเยาวชน 6 ประเทศเข้าค่าย

‘เกอเธ่’สานต่อ - นับเป็นครั้งที่ 2 สำหรับการจัดค่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ที่สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย (Goethe-Institut Thailand) จัดขึ้นภายใต้โครงการ Netzwerk Klima โดยคัดเลือกเยาวชนอายุ 14-17 ปี จากการนำเสนอปัญหาสิ่งแวดล้อม และแนวทางแก้ไขในประเทศของตนในรูปแบบคลิปวีดีโอเดินทางเข้าค่ายที่ประเทศไทย เพื่อสร้างเครือข่ายในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ส่งเสริมการเรียนภาษาเยอรมันแบบสหวิทยาการ และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม กิจกรรมนี้จัดขึ้นที่เขาหลัก อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา

‘เกอเธ่’สานต่อ
‘เกอเธ่’สานต่อ

ความพิเศษของค่ายในปีนี้ คือการขยายเครือข่ายกลุ่มเยาวชนไปสู่ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6 ประเทศ โดยคัดเลือกเยาวชน 24 คน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เมียนมา และเวียดนาม

‘เกอเธ่’สานต่อ
‘เกอเธ่’สานต่อ

เยิร์ก คลินเนอร์

เยิร์ก คลินเนอร์ รองผอ.แผนกภาษาเยอรมัน เล่าถึงความเป็นมาของค่ายว่า สถาบันเกอเธ่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนี แบ่งออกเป็น แผนกวัฒนธรรมและภาษา เน้นส่งเสริมและเผยแพร่การเรียนภาษาเยอรมันในประเทศต่างๆ และมีภารกิจสร้างความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในระดับภูมิภาค คือส่งเสริมการเรียนภาษาเยอรมันควบคู่ไปกับให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างเครือข่ายให้เยาวชนได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและโลก โครงการ Netzwerk Klima หรือเครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจึงเกิดขึ้น

‘เกอเธ่’สานต่อ
‘เกอเธ่’สานต่อ

สำหรับการปักหลักจัดแคมป์ที่เขาหลักนั้น เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเคยได้รับผลกระทบจากการถล่มของคลื่นสึนามิ ปัจจุบันชุมชนได้ช่วยกันฟื้นฟูจนสภาพสิ่งแวดล้อมสวยงามและสมบูรณ์ขึ้น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นสถานที่ให้เยาวชนได้มาทำกิจกรรม ควบคู่ไปกับการเรียนภาษานอกห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกสมองประลองความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดสารพิษในชุมชนบ้านท่าดินแดง การอนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกลำปี การอนุรักษ์เต่าในศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ฐานทัพเรือพังงา รวมทั้งเก็บขยะบริเวณชายหาดและนำกลับมารีไซเคิลเป็นของใช้

‘เกอเธ่’สานต่อ
‘เกอเธ่’สานต่อ

น้องพฤกษา

น.ส.พริมา มีลา หรือน้องพฤกษา นักเรียนชั้นม.3 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ หนึ่งในเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าค่ายครั้งนี้ จากการส่งคลิปโครงงานนำน้ำเสียจากโรงอาหารในโรงเรียนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เล่าประสบการณ์ที่ได้รับว่า “กิจกรรมที่ประทับใจ คือชุมชนท่าดินแดง ที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งการท่องเที่ยวและการปลูกพืชผักสวนครัว มองย้อนกลับไปเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของหนู ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีธรรมชาติอยู่มากมาย หากนำแนวคิดนี้ไปปรับใช้ โดยอาจจะนำไปใช้กับชาวเขาที่อยู่บนดอย ทั้งการปลูกผัก หรือแม้กระทั่งการเดินป่า คิดว่าจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้วัฒนธรรมจากเพื่อนๆ ที่มาจากประเทศต่างๆ ซึ่งทุกคนจะถูกจับแยกให้ร่วมห้องกับเพื่อนต่างชาติ อย่างเพื่อนชาวมุสลิมเค้าต้องละหมาดตามเวลา”

‘เกอเธ่’สานต่อ
‘เกอเธ่’สานต่อ

ด้าน น.ส.ลินตัง นีรมาลาซารี อายุ 16 ปี จากอินโดนีเซีย มองว่าการเข้าค่ายครั้งนี้นอกจากได้ทำความรู้จักกับเพื่อนๆ ที่เป็นตัวแทนจากประเทศต่างๆ แล้ว ยังได้เรียนรู้ว่าหลายสิ่งบนโลกใบนี้มีความเชื่อมโยงกัน เช่น ความเป็นอยู่ที่ดี เกิดจากการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจ ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยจะนำประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนี้ ส่งต่อองค์ความรู้ให้กับเพื่อนๆ ในประเทศของตน

‘เกอเธ่’สานต่อ
‘เกอเธ่’สานต่อ

ลินตัง เยาวชนจากอินโดนีเซีย

“อยากเป็นกระบอกเสียงรณรงค์ให้ทุกคนสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการช่วยกันปลูกต้นไม้ และอยากส่งต่อความรู้ในการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ได้จากค่ายนี้ให้กับคนอื่นๆ ในประเทศ ซึ่งตอนนี้สิ่งที่ได้ทำไปแล้ว คือสร้างบัญชีอินสตาแกรมกับเพื่อนในอินโดฯ เพื่อ เผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และสะท้อนผลกระทบจากโรงถ่านหินโครงการต่อไปในอนาคต ที่วางไว้คือหาโอกาสพูดคุยกับรัฐบาลในการช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องถ่านหิน”

‘เกอเธ่’สานต่อ
‘เกอเธ่’สานต่อ

การจัดค่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อมครั้งนี้ยังได้เชิญครูอีก 9 คน จาก 6 ประเทศข้างต้น เข้ารับการอบรมและร่วมกิจกรรมกับนักเรียน เพื่อให้ครูนำแนวการเรียนการสอนภาษาเยอรมันกับวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ ไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ โดยมาร์คุส ชติเซล ผู้ดูแลโครงการกล่าวถึงความคาดหวังต่อกิจกรรมนี้ว่า ตลอดระยะเวลา 9 วัน ในการทำกิจกรรมทั้งในห้องประชุม และนอกห้องเรียน เป็นไปตามเป้าหมายและความตั้งใจที่วางไว้ โดยเฉพาะการทำกิจกรรมนอกห้องเรียน เด็กๆ ทุกคนมีความกระตือรือร้น ที่จะเรียนรู้และกล้าแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้น พร้อมเปิดรับประสบการณ์จริง จากการลงไปสัมผัสพื้นที่ต่างๆ ที่มีการฟื้นฟูด้านสิ่งแวดล้อมกันอย่างเต็มที่

‘เกอเธ่’สานต่อ
‘เกอเธ่’สานต่อ

มาร์คุส ชติเซล

“สถาบันเกอเธ่คาดหวังให้เด็กๆ ทุกคนทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวแทนของเหล่ายุวทูตด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้กับประเทศของแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกันตามบริบทของประเทศตน จึงได้กำหนดพันธกิจให้นักเรียนเมื่อเดินทางกลับประเทศแล้ว ต้องส่งวิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศของตนเองกลับมายังโครงการเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนให้พวกเขาดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ กระตุ้นจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง”

‘เกอเธ่’สานต่อ
‘เกอเธ่’สานต่อ

ค่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ถือเป็นจุดเริ่มต้นเชื่อมโยงเครือข่ายพิทักษ์รักษ์สิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นขุมกำลังรักษ์โลกกลุ่มเล็กๆ ที่พร้อมจะเติบโตต่อไปในอนาคต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0