โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

เปิดส.ส. 400 เขต กทม.มากสุด 34 คน โคราช 16

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 23 พ.ย. 2564 เวลา 13.03 น. • เผยแพร่ 23 พ.ย. 2564 เวลา 23.30 น.

เปิดส.ส. 400 เขต 77 จังหวัด กทม.มากสุด 34 คน โคราช 16 คน ภาคอีสานมีส.ส. 133 คน, ภาคกลาง 123 คน, ภาคตะวันออก 29 คน ภาคใต้มี 59 คน

ภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2564 มีผลบังคับใช้ โดยมีสาระสำคัญคือ ระบบเลือกตั้งใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ มีจำนวนส.ส.แบ่งเขต 400 ที่นั่ง และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 ที่นั่ง

 

สำหรับการแบ่งเขตเลือกตั้งส.ส.จำนวน 400 ที่นั่ง ใน 77 จังหวัดนั้น  นายณัฐพงษ์ สีเหลือง (นิติกรปฏิบัติการ) เทศบาลเมืองศิลา อําเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้คำนวณจำนวน ส.ส.ที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี ตามรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2564 มาตรา 86 และโพสต์ผ่านเพจสมาพันธ์นิติกรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
 

แบ่งส.ส.400เขตขยักแรก

 

โดยได้ยกเป็นตัวอย่างการได้มาของ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ดังนี้

 

1. ประกาศสํานักทะเบียนกลาง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จํานวนราษฎรทั่วประเทศรวม 65,228,120 คน เฉลี่ยด้วยจํานวน ส.ส. 400 คน (65,228,120 หาร 400 เท่ากับ 163,070.3) ดังนั้น จํานวนราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน เท่ากับ 163,070.3 คน (มาตรา 86 (1))

 

2. จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์ตามข้อ 1 (163,070.3 คน) ให้มี ส.ส. ได้ 1 คน โดยถือเขตจังหวัดเป็นเขต เลือกตั้ง (มาตรา 86 (2)) ซึ่งตามประกาศสํานักทะเบียนกลางดังกล่าว ไม่มีจังหวัดใดจํานวนต่ำกว่า 163,070.3 คน

                                   

 

3. จังหวัดใดมีราษฎรเกินจํานวนราษฎรต่อ ส.ส. 1 คน ให้มี ส.ส. ในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจํานวน ราษฎรที่ถึงเกณฑ์ (บวก 163,070.3 คน ไปเรื่อย ๆ จนเหลือเศษ ทิ้งไว้ก่อน) (มาตรา 86 (3) กลุ่ม ส.ส. (คน) ผลการจัดสรรส.ส.แต่ละจังหวัดเป็นดังนี้

 

มี ส.ส.ได้ 33 คน กรุงเทพมหานคร , มีได้ 16 คน นครราชสีมา, มีได้ 11 คน อุบลราชธานี, มีได้ 10 คน ขอนแก่น

 

ส่วนกลุ่มจังหวัดที่มีส.ส.ได้ 9  (รวม 45 คน) ได้แก่ เชียงใหม่ บุรีรัมย์ อุดรธานี นครศรีธรรมราช ชลบุรี 

 

มีส.ส.ได้ 8  (รวม 32 คน) ได้แก่ ศรีสะเกษ สงขลา สุรินทร์ สมุทรปราการ 

 

มีส.ส.ได้ 7 (รวม 35 คน) ได้แก่ ร้อยเอ็ด นนทบุรี เชียงราย ปทุมธานี สกลนคร 

 

มีส.ส.ได้ 6 (รวม 24 คน) ชัยภูมิ สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ 

 

มีส.ส.ได้ 5 (รวม 35 คน) กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครปฐม พิษณุโลก ราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา 

 

มีส.ส.ได้ 4 (รวม 36 คน) กาญจนบุรี นราธิวาส ลพบุรี ระยอง ลําปาง ปัตตานี ฉะเชิงเทรา นครพนม กําแพงเพชร 

 

มีส.ส.ได้ 3 (รวม 51 คน) ตรัง สระบุรี เลย สุโขทัย สระแก้ว สมุทรสาคร ตาก ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา ยโสธร จันทบุรี พิจิตร พัทลุง หนองคาย หนองบัวลําภู ชุมพร ปราจีนบุรี 

 

มีส.ส.ได้ 2 (รวม 22 คน)  เพชรบุรี กระบี่ น่าน พะเยา อุตรดิตถ์ แพร่ บึงกาฬ ภูเก็ต ลําพูน อํานาจเจริญ มุกดาหาร 

 

มีส.ส.ได้ 1 (รวม 11 คน) อุทัยธานี สตูล ชัยนาท อ่างทอง พังงา นครนายก แม่ฮ่องสอน ตราด สิงห์บุรี สมุทรสงคราม ระนอง 

 

จะเห็นได้ว่ารอบแรก จํานวน ส.ส.ที่พึงมีตามหลักเกณฑ์ มีจํานวน 361 คน ยังเหลืออีก 39 คน

 

แบ่งส.ส.400เขตขยัก2

 

4. เมื่อได้จํานวนตามข้อ 3. แล้ว ถ้าจํานวน ส.ส.ยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคํานวณ ตามข้อ 3. มากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมี ส.ส. เพิ่มอีก 1 คน และให้เพิ่ม ส.ส. แก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือในลําดับรองลงมา ตามลําดับจนครบ 400 คน (มาตรา 86 (4)) 

 

จะเห็นได้ว่า จะมี 39 จังหวัด (ลําดับ) ที่มีเศษที่เหลือมากที่สุด ลําดับที่ 1-39 ซึ่ง 39 จังหวัดที่ได้ ส.ส.เพิ่ม จะจัดกลุ่มได้ดังนี้ 

 

มีส.ส. 34 คน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, มีส.ส. 16 คน ได้แก่ นครราชสีมา 

 

มีส.ส.ได้ 11 (รวม 22 คน) อุบลราชธานี ขอนแก่น 

 

มีส.ส.ได้ 10 (รวม 50 คน) เชียงใหม่ บุรีรัมย์ อุดรธานี นครศรีธรรมราช ชลบุรี 

 

มีส.ส.ได้ 9 (รวม 18 คน) ศรีสะเกษ สงขลา 

 

มีส.ส.ได้  8 (รวม 32 คน) สุรินทร์ สมุทรปราการ ร้อยเอ็ด นนทบุรี 

 

มีส.ส.ได้ 7 (รวม 35 คน)  เชียงราย ปทุมธานี สกลนคร ชัยภูมิ สุราษฏร์ธานี 

 

มีส.ส.ได้ 6 (รวม 30 คน)  นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครปฐม 

 

มีส.ส.ได้ 5 (รวม 40 คน) พิษณุโลก ราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี นราธิวาส ลพบุรี ระยอง 

 

มีส.ส.ได้ 4 (รวม 36 คน) ลําปาง ปัตตานี ฉะเชิงเทรา นครพนม กําแพงเพชร ตรัง สระบุรี เลย สุโขทัย 

 

มีส.ส.ได้ 3 (รวม 63 คน) สระแก้ว สมุทรสาคร ตาก ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา ยโสธร จันทบุรี พิจิตร พัทลุง หนองคาย หนองบัวลําภู ชุมพร ปราจีนบุรี เพชรบุรี กระบี่ น่าน พะเยา อุตรดิตถ์ แพร่ บึงกาฬ ภูเก็ต 

 

มีส.ส.ได้ 2 (รวม 20 คน) ลําพูน อํานาจเจริญ มุกดาหาร อุทัยธานี สตูล ชัยนาท อ่างทอง พังงา นครนายก แม่ฮ่องสอน 

 

มีส.ส.ได้ 1 (รวม 4 คน)  ตราด สิงห์บุรี สมุทรสงคราม ระนอง 400 คน รวม ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน

 

5. จังหวัดใดมีการเลือกตั้ง ส.ส. ได้เกิน 1 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจํานวนที่พึงมี โดยต้องแบ่งเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจํานวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน (มาตรา 86 (5)

                                       

อีสานส.ส.มากสุด 133 คน

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับจำนวนส.ส.ในแต่ละภาค ตามการคำนวณดังกล่าว เป็นดังนี้ ภาคเหนือมี  9 จังหวัด มีส.ส. 37 คน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  20 จังหวัด มีส.ส. 133 คน, ภาคกลาง  22 จังหวัด มี ส.ส. 123 คน, ภาคตะวันออก 7 จังหวัด มีส.ส. 29 คน, ภาคตะวันตก 5 จังหวัด มี 19 คน และ ภาคใต้ 14 จังหวัด มี 59 คน รวม  77 จังหวัด 400 คน

 

กม.เลือกตั้งถึงสภาม.ค.65

 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ในส่วนของรัฐบาล ว่า ขณะนี้ร่างที่กกต.ยกร่างพ.ร.ป.ดังกล่าวถูกเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ของกกต. เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ แล้ว โดยกกต.ต้องเปิดรับฟังความเห็นเป็นเวลา 15 วัน 

 

จากนั้นจึงนำความคิดเห็นที่ได้ไปปรับปรุงตัวร่างอีกครั้ง ก่อนส่งกลับมายังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งคาดว่าจะส่งมาภายในเดือน ธ.ค.นี้ และครม.จะรีบพิจารณาแล้วส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาภายใน 4-5 วัน ก่อนจะส่งไปยังสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งควรจะเป็นต้นเดือน ม.ค.2565 ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เป็นไปตามปฏิทิน

 

เมื่อถามว่าถ้ายุบสภาก่อนประกาศใช้กฎหมายนี้จะยุ่งหรือไม่ นายวิษณุ ยอมรับว่า “ยุ่ง แต่อย่าไปนึกเลย อย่าพูดเลย ได้แต่ภาวนาขออย่าให้มันเกิด”
 

0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0