โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ

HonestDocs

อัพเดต 21 ก.ย 2562 เวลา 21.32 น. • เผยแพร่ 21 ก.ย 2562 เวลา 21.32 น. • HonestDocs
ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
ยาคลายกล้ามเนื้อ มีกี่ประเภท? มีกลไกการออกฤทธิ์แบบไหน? ควรใช้ปริมาณเท่าไหร่ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย? รายชื่อตัวยาที่ใช้เป็น ยาคลายกล้ามเนื้อมีอะไรบ้าง?

ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือที่หลายคนนิยมเรียกกันโดยรวมว่า ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นยาอีกชนิดที่หลายคนคุ้นเคย ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดเข่า  ปวดเมื่อยอะไรมาก็จัด เจ็บปวดตรงไหนก็จัดอีกเหมือนกัน เช้ามารับรองสบาย หายปวด  แท้จริงแล้ว พฤติกรรมการใช้ยาเช่นนี้มีอันตรายหลายอย่างและอาจเสี่ยงเป็นโรคไตได้ในอนาคต  ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้ยากล้ามเนื้อ  ลองถามตัวเองดูว่า เรารู้จักยาคลายกล้ามเนื้อกันดีพอหรือยัง แล้วรู้ไหมว่า ควรเลือกใช้ยาคลายกล้ามเนื้ออย่างไรจึงจะถูกโรค  ถูกอาการ  ปลอดภัย และไร้ผลข้างเคียง หรือลดผลข้างเคียงให้น้อยที่สุด  

ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อมีอะไรบ้าง?

มีการใช้ยา 3 กลุ่มใหญ่ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ  ได้แก่ พาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) และยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxant) แต่ละกลุ่มมีรายละเอียดดังนี้

1. พาราเซตามอล (Paracetamol) หรืออะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen)

กลไกที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาการปวดคือ มีฤทธิ์อ่อนในการยับยั้งเอนไซม์พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด ขนาดรับประทานสำหรับบรรเทาอาการปวด ขนาดรับประทานอยู่ที่ 325 ถึง 650 มิลลิกรัม ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง และห้ามรับประทานเกิน 4000 มิลลิกรัมใน 1 วัน เนื่องจากยามีพิษต่อตับหากรับประทานเกิน หรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้ในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้แอสไพริน หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด หรือผู้ป่วยที่มีโรคในระบบทางเดินอาหารเนื่องจากยาไม่เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร

ไม่ควรใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้ยา ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะติดแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยจากภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD (glucoes-6phosphate dehydrogenenase)  ผู้ป่วยโรคไต  ผู้ป่วยโรคตับ ยากลุ่มนี้อยู่ใน category B ตามการจัดแบ่งของ US FDA  ค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ในหญิงตั้งครรภ์ แต่ควรใช้อย่างระมัดระวัง  เนื่องจากคนส่วนมากมักคิดว่ายาไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่การใช้ขนาดยาที่สูงจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้เช่นเดียวกัน

2. ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)

กลไกที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาอาการอักเสบ คือ ยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนส (cyclooxygenase) โดยเอนไซม์นี้เป็นเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนกรดอะราคิโดนิค (arachidonic acid) เป็นพรอสตาแกลนดิน ที่เป็นสารสื่อกลางตอบสนองการอักเสบและความรู้สึกเจ็บปวด  ยาในกลุ่มนี้เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ขนาดรับประทานสำหรับยาไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวด คือ 400 ถึง 800 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง แต่ไม่รับประทานเกินวันละ 3200 มิลลิกรัม และไม่ใช้ยาต่อเนื่องกันเกิน 10 วัน

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาคือ ระคายเคืองกระเพาะอาหารจึงควรรับประทานยาหลังอาหารเพื่อป้องกันผลข้างเคียงดังกล่าว ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่แพ้ยาไอบูโพรเฟน ไม่ควรใช่ยาในผู้ป่วยหอบหืด ผู้ป่วยที่มีประวัติเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยโรคไต และตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร 

ยากลุ่มนี้อยู่ใน category C ตามการจัดแบ่งของ US FDA ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรสำหรับการใช้ยาในกรณีตั้งครรภ์ และอยู่ใน category D หากใช้ในหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สาม หรือใกล้คลอด จึงไม่ควรใช้ยาในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ หรือใกล้คลอด

นอกจาก ibuprofen จะมีชนิดรับประทานแล้ว  ยังมีในรูปแบบใช้กับผิวหนังด้วย ได้แก่ รูปแบบครีม เจล และรูปแบบสเปรย์ วิธีการใช้คือทายาลงไปบริเวณที่มีอาการโดยตรง

ยากลุ่ม NSAID อื่นนอกเหนือจาก ibuprofen ที่นิยมใช้ได้แก่ แอสไพริน (aspirin) ไดโคลฟิแนค (diclofenac) อินโดเมธาซิน (indomethacin) คีโตโปรเฟน (ketoprofen) นาพรอกเซน (naproxen) เป็นต้น ซึ่งขนาดใช้ในผู้ใหญ่และขนาดใช้สูงสุดต่อวัน คือดังนี้

ยา ขนาดสูงสุดต่อวันที่ร่างกายรับได้ ขนาดรับประทาน Aspirin 5,000 มิลลิกรัม 500-1,000 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง Diclofenac 150 มิลลิกรัม 25-50 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง Indomethacin 100 มิลลิกรัม 25-50 มิลลิกรัม ทุก 8-12 ชั่วโมง Ketoprofen 300 มิลลิกรัม 100-200 มิลลิกรัม ทุก 8-12 ชั่วโมง Naproxen 1,250 มิลลิกรัม500 มิลลิกรัม ทุก 6-8 ชั่วโมง

ปัจจุบันนอกเหนือจากยารับประทานแล้ว ยังมีในกลุ่มยาทา เช่น ยาทาแคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งเป็นสารสกัดจากพริก มีข้อบ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการปวด ขนาดใช้คือ ทาบริเวณที่ปวดโดยไม่ต้องถูนวดจำนวน 2 ถึง 3 ครั้งต่อวัน ซึ่งตัวยาค่อนข้างมีความปลอดภัยมากกว่ายารับประทานเนื่องจากเป็นยาใช้เฉพาะที่ เว้นแต่หลังการใช้ยาทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาดเพื่อป้องกันการนำมือที่สัมผัสยามาสัมผัสกับเนื้อเยื่ออื่นที่อาจก่อให้เกิดการแสบร้อน

3. ยาคลายกล้ามเนื้อ

ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นยาที่ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง กล่อมประสาท และมีคุณสมบัติช่วยคลายกล้ามเนื้อ 

คุณสมบัติของยาคลายกล้ามเนื้อ ได้แก่

  • ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลาย
  • บรรเทาอาการปวด
  • เพิ่มการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่มีอาการปวด

ส่วนใหญ่มักใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในระยะสั้น มีเพียงส่วนน้อยที่ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในการรักษาอาการปวดเรื้อรังที่มากกว่า 3 เดือน

ยาคลายกล้ามเนื้อไม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาใดกลุ่มยาหนึ่ง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างทางเคมีที่เหมือนกัน หรือมีกลไกในการออกฤทธิ์ที่เหมือนกันในสมอง ยาคลายกล้ามเนื้อใช้สำหรับยาที่มีผลในการกล่อมประสาท

ตัวอย่างยาคลายกล้ามเนื้อกลุ่มที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ได้แก่ Chlorzoxazone, Methocarbamol, Orphenadrine, Tolperisone และ Esperisone ขนาดรับประทานตามเอกสารกำกับยา มีดังนี้

ยา ขนาดรับประทาน Chlorzoxazone 500 มิลลิกรัม  3-4 ครั้งต่อวัน (และลดขนาดลงเมื่ออาการดีขึ้น) Methocarbamol 1.5 กรัม 4 ครั้งต่อวัน (และลดขนาดลงเมื่ออาการดีขึ้น) Orphenadrine 100 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน Tolperisone 50-150 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน Esperisone 50 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

ข้อบ่งใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ

จะไม่ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อกลุ่มนี้เป็นยาหลักแต่จะใช้เป็นยาเสริมร่วมกับการใช้ยาหลักเท่านั้น

  • ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในกรณีสำหรับอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลันเท่านั้น หากไม่มีอาการปวดสามารถหยุดยาได้  ไม่จำเป็นต้องรับประทานต่อ  
  • ไม่มีหลักฐานสนับสนุนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในการรักษาอาการปวดแบบเรื้อรัง
  • หากลืมกินยาคลายกล้ามเนื้อ  สามารถกินได้ทันทีที่นึกขึ้นได้โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา
  • ควรใช้ยาคลายกล้ามเนื้อภายใต้คำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคร่วม หรือผู้สูงอายุ
  • ห้ามใช้ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมกับเครื่องดื่มแอลกฮอล์
  • สตรีตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ  

ผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อ

  • มึนงง ง่วงซึม ท้องผูก ปากและคอแห้ง

  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง แน่นจมูก 

  • กรดไหลย้อน

  • กลุ่มผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลข้างเคียงจากยา

  • ยาคลายกล้ามเนื้อยังอาจมีปฏิกิริยาในทางลบกับยาบางชนิด เช่น ยาทางจิตเวช ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลง  ยาแก้ปวด Tramadol อาจทำให้อาการข้างเคียงมีมากขึ้น

ข้อควรระวังการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ

สำหรับผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร หรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และผู้ทำงานที่ต้องใช้สมาธิสูง ควรระมัดระวังหากต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเพราะอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึมได้

นอกจากยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อในสามกลุ่มนี้แล้ว ผู้มีอาการปวดกล้ามเนื้ออาจพิจารณายาทางเลือกอื่น เช่น ใช้ยาทาที่มาจากสารสกัดอื่น เช่น เมนทอล วินเทอร์กรีนออยล์ น้ำมันระกำ เป็นต้น  รวมทั้งใช้การประคบอุ่น  การยืด เหยียด ให้ถูกวิธี เพื่อช่วยคลายอาการปวดเมื่อย หรือท่าแก้อาการที่ถูกต้อง รวมทั้งพยายามหาต้นเหตุความปวดเมื่อยให้เจอแล้วหาวิธีแก้ไข เช่น ปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้ถูกต้องเหมาะสม  ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้อย่างยั่งยืนโดยอาจไม่ต้องพึ่งพายาคลายกล้ามเนื้อชนิดใดๆ อีกเลย  

👨‍⚕️⚕️👩‍⚕️⚕️ ค้นหาโรค อาการ ยา โรงพยาบาล คลินิก และอ่านบทความสุขภาพ เขียนโดยคุณหมอหรือผ่านการรีวิวจากคุณหมอแล้ว ที่ www.honestdocs.co และ www.honestdocs.id 

💪❤️ ไม่พลาดข้อมูลดีๆ ที่จะทำให้คุณแข็งแรงขึ้นทั้งกายและใจ คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์ @honestdocs หรือแสกน QR Code ด้านล่างนี้ และยังติดตามเราได้ที่ Facebook และ Twitter วันนี้

📱📰 โหลดแอป HonestDocs สำหรับ iPhone หรือ Android ได้แล้ววันนี้! จะอ่านบทความ จะเก็บบทความไว้อ่านทีหลัง หรือจะแชร์บทความให้คนที่เราเป็นห่วง ก็ง่ายกว่าเดิมเยอะ

เปรียบเทียบดีลสุขภาพ ทำฟัน และความงาม จาก รพ. และคลินิกกว่า 100 แห่ง พร้อมจองคิวผ่าน HonestDocs คุณหมอมือถือได้เลยวันนี้ ถูกกว่าไปเอง

ขอบคุณที่วางใจ ทุกเรื่องสุขภาพอุ่นใจ ให้ HonestDocs (ออเนสด็อกส์) คุณหมอมือถือ ดูแลคุณ ❤️

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0