โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ปลูกพืชในโรงเรือนพลาสติก ในเมืองร้อนได้ประโยชน์อย่างไร

เทคโนโลยีชาวบ้าน

อัพเดต 16 ต.ค. 2563 เวลา 04.57 น. • เผยแพร่ 16 ต.ค. 2563 เวลา 04.08 น.
พืชโรงเรือน 7กพ

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมมีโอกาสผ่านไปต่างจังหวัด เห็นฟาร์มของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง พื้นที่ดังกล่าวมีสภาพอากาศค่อนข้างร้อน แต่มองเห็นว่ามีโรงเรือนพลาสติก สำหรับใช้เพาะปลูกหลายหลัง ปกติแล้วเคยเห็นในภาพยนตร์ หรือหนังสือพิมพ์ ว่าเขาทำกันส่วนใหญ่อยู่ในเขตหนาว ผมจึงขอถามว่า โรงเรือนพลาสติกของบริษัทนั้นมีประโยชน์หรือจุดเด่นประการใด ขอรบกวนคุณหมอเกษตรช่วยกรุณาอธิบายให้เข้าใจด้วย จักขอบคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

สุรพงษ์ อุ่นสุข

พระนครศรีอยุธยา

ตอบ คุณสุรพงษ์ อุ่นสุข

ปัจจุบัน วิชาการสาขาการเกษตรก้าวหน้าไปมาก ทั้งนี้ การปลูกพืชในโรงเรือนพลาสติก โดยปกตินิยมทำกันในประเทศเขตหนาว เพราะในช่วงฤดูหนาวอากาศหนาวจัด จะทำให้พืชหยุดชะงักการเจริญเติบโต เพราะว่าในธรรมชาติเองต้นไม้ทุกชนิดต้องการอุณหภูมิระหว่าง 20-32 องศาเซลเซียส จึงจะสามารถเจริญเติบโตและสืบเผ่าพันธุ์ตอ่ไปได้ ดังนั้น เกษตรกรในเขตอากาศหนาวต้องอาศัยโรงเรือนพลาสติกเข้ามาช่วยในการเพาะปลูก ประโยชน์ของโรงเรือน วัตถุประสงค์แรกคือต้องการให้อุณหภูมิภายในอบอุ่นกว่าภายนอก หลักการสำคัญในเวลากลางวัน พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลก ในลักษณะคลื่นสั้น มีพลังทะลุทะลวงสูง ส่องผ่านเข้ามาในโรงเรือนได้สะดวก แต่เมื่อเข้าไปในโรงเรือนแล้วจะถูกวัสดุทึบแสงดูดซับเอาพลังงานความร้อนไว้บางส่วน แล้วคลื่นพลังงานความร้อนถูกเปลี่ยนเป็นคลื่นยาว มีพลังทะลุทะลวงต่ำ การสะท้อนกลับออกไปจากโรงเรือนไม่ได้ทั้งหมด จึงทำให้ภายในโรงเรือนอบอุ่นขึ้นพอเพียงกับความต้องการของพืชที่ปลูก แต่ในเวลากลางคืนไม่มีแสงแดด เกษตรกรจำเป็นต้องเติมความอบอุ่นให้ โดยต้มน้ำให้ร้อนแล้วส่งไอน้ำร้อนผ่านท่อเข้าไปในโรงเรือน เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในไว้ระดับ 15-30 องศาเซลเซียส ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงรุ่งเช้าของวันถัดไป จะเห็นว่าต้นทุนการผลิตพืชในเขตหนาวมีต้นทุนสูงกว่าเขตร้อน

สำหรับโรงเรือนพลาสติกที่ใช้เพาะปลูกพืชในเขตร้อนบ้านเรา มีวัตถุประสงค์หลายประการ คือ ช่วยป้องกันแมลงศัตรู ไม่ให้เข้ามาทำลาย หรือทำลายน้อยที่สุด ด้วยการทำประตูเข้าและออกเป็น 2 ชั้น อย่างมิดชิด ช่วยรักษาความชื้นและอุณหภูมิ ภายในได้ตามต้องการ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นพัดลมขนาดใหญ่จะดูดอากาศออกไปยังภายนอกโรงเรือนทันที การปรับปรุงดินและการกำจัดวัชพืชก็ทำได้สะดวก

ทั้งนี้ เนื่องจากการสร้างโรงเรือนมีการลงทุนค่อนข้างสูง จึงต้องเลือกชนิดพืชที่ตลาดต้องการและมีราคาแพง เช่น แตงกวา ฟักทองญี่ปุ่น พริกหยวก และแคนตาลูป เป็นตัวอย่าง

ตามที่คุณสุรพงษ์ เล่ามานั้น บริษัทดังกล่าวกล้าลงทุนสร้างโรงเรือนอย่างดี และเลือกพืชที่มีราคาแพงมาปลูก เพราะบริษัทเขาจัดจำหน่ายเอง เรื่องความเสี่ยงในการผลิตและการตลาดไม่มี ในกรณีของเกษตรกรรายย่อย หากต้องสร้างโรงเรือนที่มีราคาสูง ควรพิจารณาให้ดี เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาในอนาคต ขอฝากไว้ให้คิดครับ สวัสดี

……………………………………………………………………………………………………………………………………………

ผู้สนใจเข้าร่วมฟังการสัมมนาฟรี โดยผ่านการลงทะเบียน 2 ช่องทาง คือ https://www.eventpassinsight.co/…/regist…/create/ifn/… หรือโทรศัพท์แจ้งความจำนงได้ที่ (02) 580-0021 ต่อ 2335, 2339, 2342 และ 2343 ซึ่งผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมการสัมมนาล่วงหน้า จะได้รับกล้ามะละกอเสียบยอดจากคุณทวีศักดิ์ กลิ่งคง และต้นกล้าดอกดาวเรืองจาก บริษัท East-West seed (ศรแดง) ฟรี

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 1

  • Dea.r 🌴
    เป็นความรู้ที่ดีมากครับ
    07 ก.พ. 2562 เวลา 12.54 น.
ดูทั้งหมด