ประชาชนสงสัย “ช่องโหว่กฎหมาย” มีเยอะจัง! เอาไว้ทำไม? ตอนร่างไม่เห็นเหรอ?
กฎหมาย เป็นระบบกฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อควบคุมให้สังคมอยู่ในความสงบเรียบร้อย บำบัดทุกข์ บำรุงสุข รวมถึงผดุงความยุติธรรมให้แก่สังคม ตั้งแต่ยุคโบราณ เรามีสิ่งที่คล้ายคลึงกับคำว่ากฎหมายในยุคปัจจุบันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นข้อห้ามทางศาสนา จารีตประเพณี ซึ่งแม้จะไม่ได้ถูกจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ก็เป็นกฎเกณฑ์บางอย่างที่คนในสังคมรู้และปฏิบัติร่วมกันอยู่ดี เพราะจะได้รับการลงโทษไม่ว่าจะสถานหนักหรือสถานเบาหากไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมดังเก่า ประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุดในโลกคือประมวลกฎหมายฮัมมูราบี ซึ่งนับว่าเป็นกฎหมายยุคแรกที่ได้รับการจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและบัญญัติกฎเกณฑ์ ข้อห้าม ข้อบังคับและบทลงโทษไว้อย่างชัดเจน
หลาย ๆ คนที่ไม่ได้เรียนวิชากฎหมายหรือเป็นนักกฎหมายมองว่ากฎหมายเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก บางคนมองว่าคนที่รู้กฎหมายก็จะได้เปรียบ (ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง) แต่เราทุกคนก็ควรจะรู้กฎหมายในระดับเบื้องต้นเอาไว้ เพราะเมื่อเรากระทำผิดกฎหมายแล้ว เราไม่สามารถจะอ้างว่า “ไม่รู้กฎหมาย” ได้ การมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันจึงนับว่าเป็นเรื่องจำเป็น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เรามักจะไม่เข้าใจกันเลยก็คือคำว่า ช่องโหว่ทางกฎหมาย
สิ่งนี้คืออะไร มาได้อย่างไร? และทำไมเราถึงยอมปล่อยให้มีช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้กฎหมายไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำผิดในบางกรณีได้?
ช่องโหว่ทางกฎหมาย หรือที่ภาษาทางการเรียกว่า"ช่องว่างทางกฎหมาย (gap in law)" นั้นคือกรณีที่กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นไม่สามารถนำมาปรับใช้หรือไม่ครอบคลุมความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เช่น ในอดีต ยังไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีโซเชียลเน็ตเวิร์ก จึงยังไม่มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับการหมิ่นประมาทและฟ้องร้องกันบนโลกออนไลน์ ตรงนี้ก็จะเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายเมื่อเกิดการกระทำผิดขึ้นมาก่อนที่จะมีกฎหมายมาบัญญัติครอบคลุม หรือรองรับการกระทำความผิดตรงนี้ ในข้อนี้แปลว่าผู้ร่างกฎหมายไม่อาจ “นึกถึง” สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงยังไม่สามารถร่างกฎหมายให้ครอบคลุมได้
ในอีกกรณีหนึ่ง หากไม่ใช่กรณีที่ผู้ร่างกฎหมายไม่สามารถบัญญัติกฎหมายที่ครอบคลุมอนาคตได้ ก็เป็นกรณีที่สิ่งซึ่งจะถูกร่างขึ้นมาเป็นข้อกฎหมายนั้นยังเป็นสิ่งที่มีการถกเถียงกันไม่จบสิ้น เช่นในปัจจุบัน เรื่องที่ถกเถียงกันมากก็คือเรื่องกฎหมายสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานของเพศเดียวกัน การอุปถัมภ์เลี้ยงดูบุตร หรือการอุ้มบุญ ในกรณีเช่นนี้ที่ยังไม่ได้มีกฎหมายออกมารองรับ ก็ยังถือว่าเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายอยู่
แล้วช่องโหว่ทางกฎหมายสามารถได้รับการ “อุด” ด้วยอะไรได้บ้าง?
ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้บัญญัติครอบคลุมในทุก ๆ เรื่อง แต่เมื่อเกิดการกระทำผิดหรือการกระทำใดซึ่งเป็นการ “ละเมิด” สิทธิของผู้อื่น แม้ว่าจะไม่ได้มีข้อกฎหมายบัญญัติไว้ ก็ยังสามารถเอาผิดผู้กระทำผิดได้โดยหลายวิธีการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น…
1. การวินิจฉัยตามจารีตประเพณีของท้องถิ่นนั้น ๆ
ในท้องถิ่นหรือพื้นที่ต่าง ๆ ย่อมมีกฎจารีตประเพณีบางอย่างซึ่งเป็นที่ปฏิบัติกันมายาวนาน ซึ่งลักษณะสำคัญของจารีตประเพณีที่จะนำมาใช้อุดช่องโหว่ทางกฎหมายนั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ได้รับการพิจารณาแล้วถูกต้องดีงามและมีความสำคัญ
2. การใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงและเหมาะสมกับสถานการณ์เข้ามาร่วมในการพิจารณา
กรณีที่ไม่มีจารีตประเพณีกำกับไว้ การอุดช่องโหว่ทางกฎหมายอาจทำได้โดยการใช้กฎหมายที่ใกล้เคียงกันมาร่วมพิจารณาได้ เช่น ในยุคที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติควบคุมการขนส่งทางอากาศแต่มีการทำผิดกฎหมายบนน่านฟ้า ก็อาจนำพระราชบัญญัติควบคุมการขนส่งทางบกหรือทางเรือมาใช้เพื่อมาพิจารณาเทียบเคียงความรับผิดได้
3. วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
กรณีที่ไม่มีกฎหมายที่ใกล้เคียงกัน จะใช้หลักกฎหมายทั่วไปในการอุดช่องโหว่ เช่น ในยุคที่ยังไม่มีพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่คุ้มครองการหมิ่นประมาทบนโลกออนไลน์แต่เราได้รับการละเมิดโดยการโพสข้อความในเชิงหมิ่นประมาท เราอาจเอาผิดผู้โพสข้อความโดยใช้หลักกฎหมายทั่วไปซึ่งเกี่ยวข้องกับการหมิ่นประมาทมาร่วมพิจารณาได้
อย่างไรก็ดี ช่องโหว่ทางกฎหมายไม่มีทางหมดไป เพราะสังคมก็ยังคงจะต้องพัฒนาไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากและเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ไปในแง่ต่าง ๆ เป็นการยากที่จะมีการร่างกฎหมายให้ครอบคลุมทั้งหมด สิ่งที่เราทำได้ก็คือทำความเข้าใจว่าช่องโหว่ทางกฎหมายคืออะไร เผื่อในกรณีที่เรามีความจำเป็นจะต้องใช้ความรู้ในข้อนี้นั่นเอง
ความเห็น 95
🐔กุ๊ก Halo Sky
ช่องว่างแห่งกฏหมายคือไม่บัญญัติใว้เป็นลายลักษณ์อักษร ถ้ามีคดีหรือข้อพิพาท ให้นำบทของจารีตประเพณี ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรรทอันดีมาใช้แทน
ป.พ.พ. ม.4. วรรค.2
13 ม.ค. 2562 เวลา 19.03 น.
k.nita
ก็ที่เข้ามานั่ง ร่าง.. .ก็สลิ่มเกือบทั้งนั้น ก็ไหนบอกว่ารักษ์ชาติรักเเผ่นดินกว่าใครๆ ใครหน้าไหนลองไป เรียกร้อง ให้เเก้ไข พวกองครักษ์พิทัก รัฐธรรมนูญมันก็จะออกมาด่าว่า เลว ไม่รักชาติ ขี้ข้าทักษิณ "ประเทศกูมี"
13 ม.ค. 2562 เวลา 10.57 น.
ศักดิ์ชัย
เข้าใจครับ ช่องโหว่ขอวกฏหมาย มีไว้ เพื่อให้ท่าน มีชัย ท่านวิษณุ ได้มีอาขีพ นิติบริกร ทั้งฝ่ายประชาธิปไตย และฝ่ายเผด็จการ ต้องอาศัยท่าน เห็น ยัง ยิ่งร่างใหม่มายี่ ช่องว่าง ช่อวโหว่ เต็มกมดเลน รูรั่ว
13 ม.ค. 2562 เวลา 10.29 น.
แสนดี
เอาไว้หลบเลี่ยงเฉพาะพวกพ้อง แต่คนอื่นนี่ตายอย่างเดียว
12 ม.ค. 2562 เวลา 15.00 น.
🐹🐹🐹🐹🐹
เค้าเปิดช่องตัวมันเองเพาะมันและครอบครัวอาจมีวันนึงต้องเจอกม มันเองเล่นงานถึงวันนั้นมันก้อจะเอาตัวรอดออกมาได้ นี่มึงไม่เข้าใจกันรึไงว่ะ
12 ม.ค. 2562 เวลา 14.05 น.
ดูทั้งหมด