โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แฟชั่น บิวตี้

ต้มยำ ต้มแซ่บ ต้มโคล้ง จริงๆ แล้วต่างกันยังไงนะ?

Beauty See First

อัพเดต 07 ต.ค. 2563 เวลา 03.30 น. • เผยแพร่ 07 ต.ค. 2563 เวลา 10.30 น. • Beauty See First
ต้มยำ ต้มแซ่บ ต้มโคล้ง จริงๆ แล้วต่างกันยังไงนะ?

ใครเป็นแฟนคลับอาหารต้มรสชาติจัดจ้านบ้างคะ เคยสงสัยเหมือนกันรึเปล่าว่าที่จริงแล้ว ทั้งต้มยำ ต้มแซ่บ และต้มโคล้งมันเหมือนหรือต่างกันยังไง เอาจริงๆ แล้ว จะว่าคล้ายก็คล้าย แต่ทั้งสามอย่างต่างก็มีเอกลักษณ์และรสชาติ รวมถึงส่วนผสมที่ต่างกันอยู่นะ และมาดูกันดีกว่าว่าส่วนผสมของทั้ง 3 เมนู ให้ประโยชน์อะไรบ้าง

**ต้มยำ

1 ถ้วยให้พลังงานประมาณ 66 Kcal.**

เชฟชุมพล แจ้งไพรจากร้าน R.Haan เคยกล่าวว่า ต้มยำแบบดั้งเดิมนั้น จะมีลักษณะเป็นแบบต้มยำน้ำใส เนื้อกุ้งและมันหัวกุ้งจะช่วยเพิ่มความเข้มข้นให้น้ำ ในขณะที่ต้มยำน้ำข้นแบบในปัจจุบันจะมีการใช้นม กะทิและน้ำพริกเผาเข้ามาผสม

ต้มแซ่บ 1 ถ้วยให้พลังงานประมาณ 115 Kcal.

ต้มแซ่บเป็นเมนูเดียวใน 3 เมนูนี้ ที่ไม่ปรากฏความหมายในราชบัณฑิตยสถาน ถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในภาคอีสาน คล้ายคลึงกับต้มยำของทางภาคกลาง แต่นิยมใส่พริกป่นแทนพริกสด

ต้มโคล้ง 1 ถ้วยให้พลังงานประมาณ 60 Kcal.

เชฟโบ ดวงพร ทรงวิศวะจากร้านโบ.ลาน
ได้อธิบายเกี่ยวกับที่มาของชื่อเมนูต้มโคล้งไว้ว่า คำว่า ‘โคล้ง’ อาจมีที่มาจากชื่อแกงโบราณที่เรียกว่า
‘โพล้ง’ ที่ใช้วัตถุดิบใกล้เคียงกับต้มโคล้งในปัจจุบัน โดยเฉพาะมะขามเปียก

สรรพคุณของผสมไพรและส่วนผสม

พริกขี้หนู

มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยทำให้เจริญอาหาร นอกจากนี้ สาร Capsaicin ในพริก สามารถยับยั้งการดูดซึมไขมันและลดระดับการสร้างไขมันในร่างกายได้ ช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกาย นอกจากนี้สารดังกล่าวยังส่งผลกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร Endorphin หรือสารแห่งความสุขออกมา ช่วยทำให้อารมณ์แจ่มใส บรรเทาความเจ็บปวดได้

ข่า

ช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ และยังช่วยย่อยอาหาร ขับลมในร่างกาย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บรรเทาอาการท้องร่วงและคลื่นไส้อาเจียนได้ด้วย

ตะไคร้

ตะไคร้สามารถช่วยขับเหงื่อและปัสสาวะ ช่วยแก้อาการเบื่ออาหารเจริญอาหาร และช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ

ใบมะกรูด

ใบมะกรูดนั้นอุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน และสารอาหารที่มีประโยชน์อีกหลายชนิด นิยมรับประทานเพื่อแก้อาการช้ำใน บรรเทาอาการไอ และสามารถป้องกันมะเร็ง รวมถึงช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่งเองก็มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งยังช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง แต่ไม่ควรทานมากเกินไป เพราะผักชีฝรั่งมีกรดออกซาลิก (Oxalic acid) สูงมากๆ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุที่ของโรคนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ

หอมแดง

หอมแดงมีส่วนช่วยในระบบเผาผลาญ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และการรับประทานหอมแดงเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจชนิดเส้นเลือดมาเลี้ยงหัวใจอุดตันได้ แต่การรับประทานหอมแดงจำนวนมากเกินไป อาจจะทำให้ผมหงอก และมีกลิ่นตัวได้

ใบโหระพา

มีเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ทั้งยังช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ในการช่วยลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยในการเจริญอาหาร

มะขามเปียก

มะขามช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย ช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินซีสูงช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย อุดมด้วยแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟันทั้งยังมีธาตุเหล็ก ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือด อีกทั้งยังมีฤทธิ์ในการเป็นยาระบายอ่อนๆ อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Michelin
Guide
,
Medthaiและ Honestdocs.coและอ้างอิงสูตรและส่วนผสมอาหารจาก KRUA.CO

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0