โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ขาดต่อภาษีรถยนต์เรื่องวุ่น ๆ #อย่าหาทำ!

Checkraka

เผยแพร่ 11 มิ.ย. 2563 เวลา 08.29 น. • เช็คราคา.คอม
ขาดต่อภาษีรถยนต์เรื่องวุ่น ๆ #อย่าหาทำ!

ขาดต่อภาษีรถยนต์เรื่องวุ่น ๆ #อย่าหาทำ! 

เมื่อรถยนต์ค้างภาษีต้องทำอย่างไร ยังใช้งานต่อไปได้หรือไม่ และมีขั้นตอนในการชำระอย่างไร และหากค้างเกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับทำอย่างไรดี? คำถามเหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับหลายคนที่มีรถยนต์หลายคันแล้วจอดนานจนลืมไปว่าไม่ได้ต่อทะเบียน หรืออาจมีหลายสาเหตุต่าง ๆ มากมาย 

ปัจจุบันมีผู้ใช้รถยนต์ไม่น้อยเลยที่ขาดการชำระภาษีหรือต่อทะเบียนรถ เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น รถยนต์บางคันใช้งานไม่ได้แล้ว หรือไม่สามารถนำไปตรวจสภาพได้ ประกอบกับไม่ต้องการใช้รถอีกต่อไปจึงปล่อยทิ้งเอาไว้ ในบางกรณีอาจมีการตกแต่งดัดแปลงสภาพรถที่ผิดไปจากเดิมมากจนทำให้เมื่อไปตรวจสภาพในสถานที่เอกชนต่าง ๆ หรือแม้แต่ภายในกรมขนส่งเอง ไม่ผ่านการตรวจอย่างถูกต้อง และถูกให้กลับไปปรับให้กลับสู่สภาพเดิมเพื่อให้กลับมาตรวจอีกครั้ง หลายคนจึงยอมใช้รถไปทั้งที่ยังไม่ต่อทะเบียน ซึ่งนับว่าผิดกฎหมายและอาจถูกจับปรับในราคาสูงได้ 

อัตราค่าปรับรถในการต่อทะเบียนที่ไม่เสียภาษีหรือต่อทะเบียนอยู่ที่ 1,000 บาท แต่ตำรวจจับปรับไม่เกิน 2,000 บาท! และยังต้องจ่ายค่าปรับเกินกำหนดและอาจมีขั้นตอนอื่น ๆ อีกมากมายในกรณีขาดเกิน 3 ปีขึ้นไป ซึ่งความจริงแล้วเจ้าของรถเองสามารถแจ้งหยุดใช้รถยนต์ได้พร้อมทำการคืนป้ายไม่ต้องเสียเงินค่าปรับ โดยทางด้านกรมการขนส่งทางบกได้ประกาศช่วงตุลาคม 2562  "ให้เจ้าของรถบางรายที่ไม่ได้มาติดต่อชำระภาษีรถประจำปี และไม่ได้ดำเนินการแจ้งไม่ใช้รถกับนายทะเบียน เนื่องเข้าใจผิดว่ารถที่สูญหาย ชำรุด หรือเลิกใช้แล้วไม่ต้องชำระภาษีแล้ว ซึ่งความเป็นจริงเจ้าของรถจะต้องมาติดต่อขอแจ้งการไม่ใช้รถต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้ หากไม่มาติดต่อดำเนินการจะต้องชำระภาษีและค่าปรับ และหากเป็นการค้างชำระภาษีรถเกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับทันที หากมีความประสงค์ใช้รถดังกล่าวต่อไปจะต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนรถใหม่เท่านั้น โดยต้องชำระภาษีประจำปีย้อนหลังพร้อมเงินค่าปรับเพิ่มและคืนแผ่นป้ายทะเบียนเดิมก่อนเข้าสู่กระบวนการจดทะเบียนรถใหม่"

ต่อทะเบียนได้ก่อนครบอายุภาษี 90 วัน

การต่อทะเบียนรถยนต์นั้นสามาถดำเนินการได้ก่อนครบอายุภาษี 90 วัน โดยมีรายละเอียด คือ รถยนต์ที่มีสถานะปกติ หลักฐานที่ใช้

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสำเนา
  • หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.)
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ(สำหรับรถที่กำหนดให้ผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชนก่อน)
  • เงินค่าภาษี/เงินเพิ่ม(ถ้ามี) หรือค่าธรรมเนียม 100 บาทสำหรับกรณีใบคู่มือจดทะเบียนรถมีรายการบันทึกเต็มต้องเปลี่ยนเล่มใหม่

ขั้นตอนง่าย ๆ ไม่ต้องใช้แบบคำขอใดๆ ยื่นหลักฐานพร้อมเงินค่าภาษีรถ และรับเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี และใบคู่มือจดทะเบียนรถคืนได้ทันที (ไม่รวมเวลารอคิว)  สำหรับรถยนต์ที่ขาดไม่เกิน 3 ปี สามารถต่อทะเบียนได้โดยมีขั้นตอนเหมือนการต่อทะเบียนปกติ เพิ่มเพียงค่าปรับเกินกำหนดเท่านั้น  

รถยนต์ที่ขาดเกิน 3 ปี ขึ้นไป "คืนป้าย-จ่ายภาษีค้าง-จดทะเบียนรับป้ายใหม่"

กรณีนี้จะถูกระงับทะเบียนทันทีและต้องรีบไปแจ้งและคืนป้ายทะเบียนพร้อมสมุดคู่มือภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกระงับ และถ้าเกินระยะเวลาก็จะมีค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท อีกหนึ่งเด้ง! นอกจากนี้ยังต้องเปลี่ยนหมวดเลขใหม่หมดไม่สามารถใช้เลขเดิมได้อีกด้วย

รถยนต์ที่ขาดเกิน 3 ปี ขึ้นไป จะถูกระงับทะเบียนเมื่อต้องการใช้รถหรือต่อทะเบียนอีกครั้งก็จะต้องทำตามขั้นตอนต่อไปนี้  การคืนป้ายและชำระภาษี

  • รถยนต์ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ถูกต้องปลอดภัย - หมายถึงว่า ขับดีปกติ การทำงานของระบบต่าง ๆ สมบูรณ์ ปลอดภัย 

  • นำสมุดคู่มือรถยนต์พร้อมถอดป้ายทะเบียนเดิม นำไปยื่นเรื่องที่ประชาสัมพันธ์เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำพร้อมรับบัตรคิว

  • คืนแผ่นป้ายทะเบียน 2 แผ่น ช่องรับคืนป้ายตามบัตรคิว แล้วกลับไปประชาสัมพันธ์คนเดิมอีกรอบ (โดยไม่ต้องเข้าแถว) เพื่อรับบัตรคิวรอจ่ายค่าปรับ

  • รอเรียกคิวชำระภาษีพร้อมค่าปรับ

นำรถเข้าตรวจสภาพ ต้องกรมขนส่งเท่านั้น!

ขั้นตอนในการนำรถยนต์เข้ารับการตรวจสภาพ ต้องนำรถมาตรวจที่กรมการขนส่งทางบกที่ได้จดทะเบียนเอาไว้เท่านั้น ไม่สามารถตรวจที่สถานเอกชนได้ ขั้นตอนนั้นก็เพียงขับรถเข้าช่องตรวจ เมื่อถึงจุดตรวจเปิดฝากระโปรงหน้ารถ รอเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ เลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์ สภาพทั่วไป เมื่อผ่านก็รอรับเอกสารพร้อมขับรถไปจอดได้เลย (ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ต้องลงจากรถเพื่อไปติดต่อบนตึก)    จดทะเบียนรถยนต์ใหม่ ต้องซื้อพ.ร.บ. แนบด้วย 

จดทะเบียนรถยนต์ใหม่ขั้นตอนไม่ยากแล้วเพียงแค่ นำเอกสารที่ได้จากตรวจสภาพรถ พร้อมซื้อ พ.ร.บ. แนบไปด้วย และยื่นประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่จะตรวจเอกสารและให้บัตรคิวและชำระอากรสแตมป์ 10 บาท หลังจากนั้นก็รอเรียกตามคิวเพื่อชำระเงินค่าจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ เช่น 

  • ค่าคำขอ 5 บาท
  • ค่าตรวจสภาพรถ 50 บาท 
  • ค่าแผ่นผ้ายทะเบียนใหม่ 2 แผ่น 200 บาท
  • ค่าใบคู่มือเล่มใหม่ 100 บาท 
  • ค่าภาษีรถยนต์ตามแต่ละประเภท เสร็จเรียร้อยก็จะได้ป้ายติดหน้ารถพร้อมใบเสร็จรับเงิน และสามารถนำไปรับแผ่นป้ายทะเบียนได้เลย ส่วนกรณีที่มีการจองเลขหรือมีเลขประมูล อาจต้องรอดำเนินการเรื่องเลขทะเบียนที่จองเอาไว้ในวันถัดไป 

รายระเอียดค่าธรรมเนียม

  • ค่าจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท
  • ค่าสมุดคู่มือจดทะเบียนรถ 100 บาท
  • ค่าแผ่นป้ายทะเบียนรถ ป้ายละ 100 บาท
  • หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
  • อัตราภาษีของรถแต่ละประเภท และเสียภาษีเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน
  • ค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพ
  • รถจักรยานยนต์ 10 บาท
  • รถยนต์ 50 บาทอย่าลืม! กรณีที่เจ้าของรถยนต์ไม่สามารถมาทำเรื่องได้ด้วยตัวเองต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

จะเห็นได้ว่าเมื่อปล่อยให้เลยกำหนดหรือขาดต่อภาษีรถยนต์แล้ว จากเรื่องง่าย ๆ กลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นและมีขั้นตอนสลับซับซ้อนเพิ่มมาอีก ในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่รถยนต์คันที่ถูกระงับมีสภาพปกติและไม่มีการดัดแปลงใดใด ยังมีขั้นตอนเยอะและใช้เวลาดำเนินการอย่างน้อย ๆ ก็ 1 วันเต็ม ๆ 

ในกรณีรถยนต์ที่ถูกระงับและมีการดัดแปลงหลังจากที่เคยจดทะเบียนหรือหลังจากทะเบียนขาดเกินกำหนดนั้น อาจต้องมีการปรับปรุงสภาพรถยนต์นั้น ๆ หรือมีเอกสารที่ต้องมาแสดงเพิ่มเติม จึงควรสอบถามโดยตรงกับทางกรมขนส่งทางบก   ภาษีรถยนต์ไม่ควรขาด นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าที่่คิดเยอะเชียวครับ! บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ต่อทะเบียนรถด้วยตัวเอง ง่ายนิดเดียว!

สีป้ายทะเบียนรถแต่ละสี มีความหมายอย่างไร?

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0