โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

SMEs-การเกษตร

เพาะเห็ดในท่อซีเมนต์ ประหยัดพื้นที่ ใช้งบน้อย มี 200 บาท ก็ทำได้

เทคโนโลยีชาวบ้าน

อัพเดต 24 พ.ค. 2564 เวลา 10.45 น. • เผยแพร่ 24 พ.ค. 2564 เวลา 10.45 น.
2 696x928

ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญและใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่รักสุขภาพจำนวนไม่น้อยสนใจอยากที่จะปลูกผักเพื่อสุขภาพไว้รับประทานเองที่บ้าน แต่ต้องประสบปัญหาในเรื่องของพื้นที่ ที่มีอย่างจำกัด ครั้งนี้เทคโนโลยีชาวบ้านมีวิธีการการเพาะเห็ดที่แสนง่าย มีเงินลงทุนเพียงหลักร้อย ใช้พื้นที่ข้างบ้านก็สามารถเพาะเห็ดได้ ส่วนวิธีการเพาะ การดูแล ก็ทำได้ไม่ยาก งานนี้ได้ทั้งสุขภาพและราคาที่ดีต่อใจมาฝาก

อุปกรณ์เพาะเห็ดในท่อซีเมนต์

  • ท่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร ราคา 60 บาท
  • ซาแรน หรือผ้ากระสอบป่าน ไว้คลุมก้อนเห็ด
  • ก้อนเห็ด 11 ก้อน ราคา ก้อนละ 9 บาท
  • ไม้ไผ่ ทำเป็นที่วางก้อนเห็ด

ขั้นตอนการเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์

  • วางท่อซีเมนต์พิงกำแพง ผนัง ในลักษณะตะแคง เพื่อให้เก็บความชื้นได้ดี
  • วางไม้กระดานที่ด้านในท่อซีเมนต์
  • นำก้อนเชื้อเห็ดวางเรียงในวงบ่อเป็นแนวนอนให้เต็มท่อ เปิดจุกฝาเห็ดออก แล้วรดน้ำ
  • ใช้ซาแรนหรือผ้ากระสอบป่านคลุม เพื่อไม่ให้มีลมเข้า ทำให้เห็ดแห้ง
  • รดน้ำเช้า-เย็น แต่ถ้าทำเยอะๆ ต้องการกักเก็บความชื้น ให้รดน้ำ เช้า-กลางวัน-เย็น

จากนั้น 7-10 วัน ดอกจะออกครั้งแรก ในส่วนของผลผลิต เห็ด 11 ก้อน จะให้ผลผลิตประมาณครึ่งกิโลกรัม

การให้ผลผลิตของเห็ดในกรณีที่เพาะน้อยๆ แบบนี้ คุณเขม บอกว่าเราสามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 6 เดือน

เห็ดแต่ละชนิดจะออกอยู่ที่ความชื้น ก้อนหนึ่งถ้าหน้าแล้งเขาจะเลื่อนเวลาออกไปนิดหนึ่ง เห็ดต้องการความชื้น เห็ดที่เหมาะกับการเพาะในท่อซีเมนต์ คือเห็ดกลุ่มนางฟ้า กลุ่มนางรม แต่ถ้าเห็ดขอนจะชอบความร้อน

 ข้อดีของการเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์

  • คือเพาะง่าย ประหยัดพื้นที่ ซึ่งถ้าท่านใดมีปัญหาเรื่องพื้นที่ แค่มีชุดเพาะเห็ดเซ็ตนี้จะหมดปัญหาไปเลย
  • ประหยัดเงิน ต้นทุนต่ำ สำหรับท่านใดอยากที่จะเพาะเห็ดไว้รับประทานเอง ชุดเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์เหมาะมาก ใช้เงินลงทุนเพียง 200 บาท
  • เรื่องเชื้อราหมดห่วงได้เลย เพราะเป็นการเพาะเห็ดในปริมาณน้อย อีกอย่างท่อซีเมนต์สามารถเคลื่อนที่ได้ จากปลูกตรงนี้ แล้วย้ายไปปลูกตรงนั้น การสะสมของเชื้อโรคก็จะไม่มี แต่ถ้าเราทำประจำ การหมักหมมของเชื้อโรคก็จะเยอะตามมา
ซาแรนคลุมเห็ด
ซาแรนคลุมเห็ด

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น