ผัก 3 ชนิดที่ควรปรุงสุก แต่คนไทยกินดิบมาทั้งชีวิต เพราะอยู่ในเมนูยอดนิยม เพิ่งรู้อันตรายกว่าที่คิด!
ใครๆ ก็รู้ว่า "ผัก" มีประโยชน์กับร่างกาย ควรรับประทานทุกมื้อ เพราะมีใยอาหารช่วยทำความสะอาดลำไส้ ช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด มีวิตามินและแร่ธาตุ ช่วยปรับสมดุลเอนไซม์และฮอร์โมนในร่างกายให้ทำงานมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีสารช่วยต้านมะเร็งบางชนิด
แต่หลายคนมีความเชื่อว่าการปรุงผักให้สุก อาจทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง ผู้คนจึงหันมากินผักดิบ ผักสลัดกันมากขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่าผักบางชนิดไม่ปลอดภัยพอที่จะรับประทานดิบได้ เนื่องจากอาจก่อโทษมากกว่าประโยชน์ได้ ซึ่งก็เป็นที่น่าตกใจว่า ผักที่ไม่ควรกินดิบหลายชนิด เป็นส่วนหนึ่งของเมนูโปรดที่คนไทยกินมาทั้งชีวิต
ถั่วงอก
ร้านก๋วยเตี๋ยวหลายร้าน มักจะมีผักฟรีให้รับประทาน หนึ่งในนั้นคือ ถั่วงอกดิบ กินกับก๋วยเตี๋ยวน้ำตกคือเข้ากันสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ถั่วงอกดิบมีแบคทีเรียอันตรายหลายชนิด เช่น ซัลโมเนลลา อีโคไล และลิสทีเรีย อีกทั้งในถั่วงอกดิบยังมีไฟเตทสูง โดยไฟเตทจะเข้าไปจับแร่ธาตุบางชนิดที่อยู่ในอาหาร ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุได้ ดังนั้น ควรทำให้สุกก่อนกินเพื่อป้องกันและทำลายแบคทีเรียและสารไฟเตท นอกจากนี้ยังอาจมีสารโซเดียมซัลไฟต์หรือสารฟอกขาว ทำให้คลื่นไส้ หายใจติดขัด
ถั่วฝักยาว
ผักที่คนไทยคุ้นเคยและกินเป็นประจำโดยเฉพาะในเมนูส้มตำ-ตำถั่ว นั่นก็ถือ ถั่วฝักยาว เรียกว่าเป็นวัตถุดิบหลักที่ขาดไม่ได้แต่รู้หรือไม่ว่า ในถั่วฝักยาวดิบมีไกลโคโปรตีน เลคติน และสารพิษสะสมอยู่ในปริมาณสูง หากร่างกายได้รับมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ และอาเจียน นอกจากนี้ยังมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างสูง อาจทำให้ท้องอืด หรือท้องเสีย และไม่เหมาะกับคนที่มีปัญหาการย่อย และผู้สูงอายุ หากเป็นเมนูที่ต้องกินดิบควรล้างให้สะอาดก่อน โดยหักเป็นท่อนแล้วนำไปแช่น้ำนาน ๆ หรือไม่ก็เลือกกินแบบสุกจะปลอดภัยกว่า
กะหล่ำปลี
กินไส้กรอกอีสาน ก็ต้องแนมด้วยพริกสด ขิงดอง และกะหล่ำปลีดิบ หรือไม่ก็ทานแกล้มกับส้มตำ อร่อยเข้ากันสุดๆ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า กะหล่ำปลีดิบมีสารออกซาเลต (Oxalate) ในกะหล่ำปลีจะไปจับกับแคลเซียมที่กรวยไต จนกลายเป็นสารแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งหากมีสารตัวนี้ที่กรวยไตมาก ๆ ก็เสี่ยงต่อโรคนิ่วในไตได้ อีกทั้งในกะหล่ำปลีดิบยังมีน้ำตาลชนิดหนึ่ง ซึ่งคนที่มีปัญหาในระบบย่อยอาหารอาจย่อยน้ำตาลชนิดนี้ไม่ได้ และอาจนำไปสู่อาการท้องอืด แน่นท้อง แต่หากนำกะหล่ำปลีไปปรุงสุก น้ำตาลที่ว่าก็จะเปลี่ยนโมเลกุลเป็นสารที่ย่อยได้ง่าย นอกจากนี้ในกะหล่ำปลีดิบยังมีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) สารที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายดึงไอโอดีนจากเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ จนอาจก่อให้เกิดโรคคอหอยพอกได้ ดังนั้นผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์จึงไม่ควรกินกะหล่ำปลีดิบ แต่กอยโตรเจนจะสลายได้อย่างรวดเร็วเมื่อโดนความร้อน ฉะนั้นจึงควรบริโภคกะหล่ำปลีแบบปรุงสุกจะดีกว่า
ความเห็น 36
Mayme8789
อาหร่อยยยยอร่อย คู่ส้มตำ อยาาห้ามเลย
12 มิ.ย. 2567 เวลา 13.02 น.
not
บอกปริมาณที่กินแล้วทำให้เกิดพิษด้วย
อย่าบอกแต่ทฤษฎีเพราะมันขัดแย้งกันกับทางปฎิบัติ
แสดงว่าทฤษฎีใช้ไม่ได้ผลในกรณีทานแบบปกติชน
12 มิ.ย. 2567 เวลา 11.31 น.
Pol Thunya
ใครกินได้ก็กิน ใครกินไม่ได้ก็ไม่ต้องกิน จบข่าว
12 มิ.ย. 2567 เวลา 10.52 น.
Prapat Rewin
อ.ฝ่ายโภชนาการ ร.พ มหิดล ออกมายืนยันผักที่ไม่ควรกินดิบ บางคนเป็นโรคประจำตัวบางอย่างจึงไม่ควรกินดิบๆ ผักทุกชนิดมียาฆ่าแมลงมากน้อยต่างกันไป ผักบางชนิดมีสารพิษในตัว กินได้แต่อย่ากินประจำโดยเฉพาะถั่วงอกอาจเจอสารฝอกขาวได้ ผักทุกชนิดควรล้างและแช่น้ำให้สะอาดก่อน อย่ากินดิบบ่อยๆ ทางที่ดีควรต้มหรือนึ่งให้ผ่านความร้อนจะดีที่สุด ก็พิจารณากันเองนะ
12 มิ.ย. 2567 เวลา 10.51 น.
🥀❤️N A V E E❤️🥀
กินก็ตายไม่กินก็ตาย
12 มิ.ย. 2567 เวลา 10.35 น.
ดูทั้งหมด