IFC จับมือ KB Kookmin Card Co. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในอินโดนีเซีย และส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัลในประเทศไทย
กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 – เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงินสำหรับธุรกิจขนาดเล็กในอินโดนีเซียและส่งเสริมการเข้าถึงระบบดิจิทัลในประเทศไทย บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) ได้ประกาศโครงการริเริ่มกับ KB Kookmin Card Co. (KBC) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตชั้นนำใน สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อสนับสนุนธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ของบริษัท และการเติบโตของสินเชื่อสำหรับโทรศัพท์มือถือในทั้งสองประเทศ
ส่วนหนึ่งของแพ็คเกจการสนับสนุนเงินทุน IFC ได้ให้เงินกู้ 100 ล้านดอลลาร์ในสกุลเงินรูเปียะฮ์อินโดนีเซีย แก่ PT KB Finansia Multi Finance (KB FMF) ซึ่งเป็นบริษัทการเงินที่หลากหลายในอินโดนีเซีย ที่มี KBC ถือหุ้นใหญ่ และปล่อยเงินกู้ 50 ล้านดอลลาร์ในสกุลเงินบาท ให้กับบริษัท เคบี เจ แคปปิตอล จำกัด(KBJ) ซึ่งเป็นนอนแบงก์ในไทยและมี KBC เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วย
ในอินโดนีเซีย เงินทุนของ IFC จะสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSME) โดยเน้นที่สินเชื่อการเงินในห่วงโซ่อุปทานเป็นหลัก ในประเทศไทย เงินกู้ของ IFC จะทำให้ เคบี เจ แคปปิตอล สามารถให้สินเชื่อผ่อนชำระสำหรับโทรศัพท์มือถือ โดยเน้นไปที่ภูมิภาคที่ด้อยพัฒนาของประเทศเป็นหลัก KBJ เป็นผู้ให้บริการทางการเงินแต่เพียงผู้เดียวสำหรับอุปกรณ์มือถือ Samsung ในประเทศมาตั้งแต่ปี 2565
“การลงทุนของ IFC จะช่วยให้ทั้ง KB FMF และ KBJ สามารถสนับสนุนกลุ่มที่ด้อยโอกาสในอินโดนีเซียและไทยได้ตามลำดับ” นาย Moon Cheol KANG กรรมการผู้จัดการของ KB Kookmin Card กล่าว “ในฐานะบริษัทที่มีบริการการเงินหลากหลาย KB FMF อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะพัฒนาโครงการการเงินในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีความไม่เท่าเทียมทางการเงินกว้างที่สุด ในประเทศไทย การสนับสนุนทางเงินทุนของ IFC จะส่งสัญญาณเชิงบวก โดยดึงดูดเงินทุน และช่วยให้ KBJ สามารถขยายการให้สินเชื่อสำหรับโทรศัพท์มือถือในภูมิภาคที่ด้อยพัฒนาของประเทศ”
MSMEs มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจอินโดนีเซีย โดยจ้างงาน 97% ของกำลังแรงงานทั้งหมด และมีส่วนสนับสนุน 61% ของ GDP แต่ถูกจำกัดด้วยการเข้าถึงทางการเงินที่จำกัด ในขณะเดียวกัน ตลาดการเงินในห่วงโซ่อุปทานมีศักยภาพที่สำคัญในการสนับสนุน MSMEs ในอินโดนีเซีย โดยการจัดหาเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงพวกเขาทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทาน และเพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้นในการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
ในประเทศไทย อุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เปิดใช้งานอินเทอร์เน็ตยังคงเป็นแหล่งที่มาหลักของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคที่พัฒนาน้อยของประเทศ อย่างไรก็ตาม ประชากรในภาคเหนือมีอุปกรณ์สมาร์ทโฟน 76% ของ เทียบกับ 96% ในกรุงเทพฯ การเข้าถึงประสบอุปสรรคด้วยราคาของสมาร์ทโฟนที่สูงและต้องจ่ายก่อนใช้ ซึ่งจะจำกัดความสามารถของแต่ละบุคคลในการมีส่วนร่วมในระบบนิเวศดิจิทัลที่กำลังเติบโต
“ความเท่าเทียมทางการเงินและดิจิทัลเป็นรากฐานของการเติบโตที่ยืดหยุ่นและทั่วถึง IFC ได้ทำงานร่วมกับ KB FMF และ KBJ เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กและผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเงินทุนและเครื่องมือดิจิทัลที่พวกเขาต้องการเพื่อการเติบโตและรุ่งเรือง” Kim-See Lim ผู้อำนวยการภูมิภาคของ IFC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าว
นอกเหนือจากการสนับสนุนเงินทุนแล้ว IFC จะสนับสนุน FMF และ KBJ ในการเสริมสร้างกรอบการทำงานทางการเงินที่รับผิดชอบ รวมถึงการปรับการดำเนินงานปัจจุบันให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับสากลและกฎระเบียบด้านการคุ้มครองลูกค้าระดับชาติ
การลงทุนของ IFC ที่ประกาศครั้งนี้เป็นการต่อยอดความร่วมมือที่มีอยู่กับ KBC เพื่อสนับสนุน MSME ในเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา IFC ได้สนับสนุนเงินทุนให้กับ KB FMF เพื่อให้กู้ยืมแก่ MSMEs ต่อเนื่องในช่วงการระบาดของโควิด-19
เกี่ยวกับ บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC)
บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) เป็นสมาชิกและหนึ่งในหน่วยงานภายใต้กลุ่มธนาคารโลก เป็นสถาบันระดับโลกเพื่อการพัฒนาและมุ่งเน้นการทำงานกับภาคธุรกิจในตลาดเกิดใหม่ มีการดำเนินการในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยนำเงินทุน ความเชี่ยวชาญ และศักยภาพร่วมเสริมโอกาสและสร้างตลาดให้กับท้องที่ที่กำลังพัฒนาทั่วโลก ในปีงบประมาณ 2564 บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศให้คำมั่นสัญญาที่จะให้ความช่วยเหลือเงินทุนเป็นจำนวน 32,800 ล้านดอลล่าร์แก่บริษัทเอกชนและสถาบันการเงินในประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ โดยใช้ศักยภาพของภาคเอกชนเพื่อช่วยสร้างความเจริญและขจัดความยากจน ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวจะต้องต่อสู้กับผลกระทบของการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดดู www.ifc.org
………………………..
IFC Partners with KB Kookmin Card Co. to Boost Access to Finance for Small Businesses in Indonesia and Foster Digital Inclusion in Thailand
Bangkok, Thailand, April 29, 2024—To increase access to finance for small businesses in Indonesia and boost digital inclusion in Thailand, IFC today announced an initiative with KB Kookmin Card Co. (KBC), a leading credit card-issuing company in the Republic of Korea, to support the company’s small and medium enterprise (SME) and mobile financing growth in the two countries.
As part of the financing package, IFC is providing a $100 million loan in Indonesian rupiah equivalent to PT KB Finansia Multi Finance (KB FMF), an Indonesian multi-finance company which KBC has a majority stake in, and a $50 million loan in Thai baht equivalent to KB J Capital Co. Ltd (KBJ), a Thai non-bank finance company of which KBC is also the majority owner.
In Indonesia, IFC’s funding will support micro, small, and medium enterprises (MSMEs) with a primary focus on supply chain finance loans. In Thailand, IFC’s loan will allow KBJ to provide installment financing for mobile phones, with a primary focus on the nation’s less developed regions. KBJ has been an exclusive financing service provider for Samsung mobile devices in the country since 2022.
“IFC’s investment will allow both KB FMF and KBJ to support the underserved segments in Indonesia and Thailand, respectively,” said Mr. Moon Cheol KANG, Managing Director of KB Kookmin Card. “As a multi-finance company, KB FMF is well positioned to develop their supply chain finance programs, especially for smaller businesses, where financing gaps are the widest. In Thailand, IFC’s funding will send a positive signal, attracting funding and allowing KBJ to expand financing for mobile phones in the country’s underdeveloped regions.”
MSMEs play a central role in the Indonesian economy, employing 97 percent of the total workforce and contributing 61 percent of GDP but are constrained by limited access to finance. Meanwhile, the supply chain finance market holds significant potential to support MSMEs in Indonesia by providing a key tool to reach them across supply chains and give more flexibility on working capital management.
In Thailand, internet-enabled mobile devices remain the primary source of internet access in the less developed regions of the country. However, 76 percent of people in the north of the country compared with 96 percent in Bangkok have a smartphone device. Access is hindered by the high upfront cost of smartphones, which in turn limits individuals’ capacity to participate in a growing digital ecosystem.
“Financial and digital inclusion underpin resilient and inclusive growth. IFC is working with KB FMF and KBJ to enable more small businesses and consumers to access the funding and digital tools they need to grow and thrive,” said Kim-See Lim, IFC’s Regional Director for East Asia and the Pacific.
In addition to the financing, IFC will support FMF and KBJ in strengthening their responsible finance frameworks, including aligning their current operations with international best practices and national customer protection regulations.
IFC’s investment announced today builds on the existing partnership with KBC to support MSMEs. In December 2020, IFC provided funds to KB FMF to continue lending to MSMEs during COVID-19 pandemic.
About IFC
IFC — a member of the World Bank Group — is the largest global development institution focused on the private sector in emerging markets. We work in more than 100 countries, using our capital, expertise, and influence to create markets and opportunities in developing countries. In fiscal year 2023, IFC committed a record $43.7 billion to private companies and financial institutions in developing countries, leveraging the power of the private sector to end extreme poverty and boost shared prosperity as economies grapple with the impacts of global compounding crises. For more information, visit www.ifc.org
ความเห็น 0