โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

เริ่มแล้ว ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000

ThaiNews - ไทยนิวส์ออนไลน์

อัพเดต 01 ม.ค. 2566 เวลา 03.20 น. • เผยแพร่ 01 ม.ค. 2566 เวลา 03.11 น.

เริ่มแล้ววันนี้ "ช้อปดีมีคืน 2566" เปิดเงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ.2566

หลังจากที่ประชุมชคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบมาตรการ "ช้อปดีมีคืน" ปี 2566 ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการของขวัญปีใหม่ 2566 จากกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 42,000 ล้านบาท และจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)เพิ่มขึ้น 0.12% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจประเทศ

เริ่มแล้ว ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000
เริ่มแล้ว ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000

ระยะเวลาช้อปดีมีคืน 2566

- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566

ผู้ได้รับสิทธิ ช้อปดีมีคืน 2566

- ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล) ลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท

เริ่มแล้ว ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000
เริ่มแล้ว ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขช้อปดีมีคืน 2566

1. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท

- ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หรือใบรับซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

- ระบุชื่อและนามสกุลของผู้มีเงินได้ในรูปแบบกระดาษหรือ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt แล้วแต่กรณี

2. ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวนอีกไม่เกิน 10,000 บาท ต้องมี e-Tax Invoice หรือe-Receipt แล้วแต่กรณีเท่านั้น

ทั้งนี้ e-Tax Invoice ตามข้อ 1 และข้อ 2 ในที่นี้หมายความรวมถึง e-Tax Invoice by Email ด้วย ในการใช้สิทธิลดหย่อนตามข้อ 1 และข้อ 2 ผู้มีเงินได้ต้องจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงค่าสินค้าหรือค่าบริการ ดังนี้

- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์

- ค่าซื้อยาสูบ

- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ

- ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

- ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

- ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต

- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ (วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566) เช่น ค่าสมาชิกต่างๆ

- ค่าประกันวินาศภัย

ส่วนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการอื่นๆที่สามารถเข้าร่วมมาตรการได้ โดยที่ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ต้องได้รับใบรับ ซึ่งมีรายการอย่างน้อยตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร พร้อมระบุ ชื่อและนามสกุลของผู้มีเงินได้ มีดังนี้

- ค่าซื้อหนังสือ

- ค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

- ค่าซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

เริ่มแล้ว ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000
เริ่มแล้ว ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000
เริ่มแล้ว ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000
เริ่มแล้ว ช้อปดีมีคืน เงื่อนไขใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ลดหย่อนภาษีสูงสุด 40,000

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Tnews

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0