โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

แม่และเด็ก

ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ | สิ่งที่คุณต้องการรู้และจัดการ

Motherhood.co.th

เผยแพร่ 27 มิ.ย. 2565 เวลา 11.45 น. • Motherhood.co.th Blog
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ | สิ่งที่คุณต้องการรู้และจัดการ

ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ | สิ่งที่คุณต้องการรู้และจัดการ

"ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ" ภาวะที่มีชื่อยาว ๆ นี้คือการติดเชื้อในเยื่อหุ้มและของเหลวรอบ ๆ ทารก ฟังดูน่ากลัวเล็กน้อยและอันที่จริงมันอาจทำให้คุณและลูกน้อยไม่สบายได้ เช่นเดียวกับทุกอย่างเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร คุณควรอ่านหนังสือหาความรู้ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ของการตั้งครรภ์ แม้ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ที่คุณจะประสบกับโรคนี้ แต่เราแนะนำให้คุณอ่านข้อมูลเอาไว้เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับความรู้เกี่ยวกับมัน

โรคถุงน้ำคร่ำอักเสบคืออะไร ?

โรคถุงน้ำคร่ำอักเสบเป็นภาวะที่อาจส่งผลต่อผู้มีครรภ์และทารก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการแตกของเยื่อหุ้มเซลล์ก่อนเวลาอันควร โรคถุงน้ำคร่ำอักเสบคือการติดเชื้อแบคทีเรียในเยื่อหุ้มทารกและถุงน้ำคร่ำ รวมถึงน้ำคร่ำที่อยู่รอบ ๆ ตัวทารก

ทั้งแม่และลูกอาจได้รับผลกระทบจากโรคนี้ เนื่องจากอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง การรักษาจึงมีความสำคัญมาก

สาเหตุคืออะไร ?

มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีการแพร่ผ่านเยื่อบุมดลูก มักมาจากบริเวณส่วนปลายของช่องคลอดหรือลำไส้ใหญ่ เชื้อที่พบบ่อยเช่น group B Strep หรือแบคทีเรีย E Coli มีแนวโน้มจะเกิดเมื่อระยะเวลาของการคลอดใช้เวลานานหลังจากมีภาวะน้ำเดิน (เมื่อถุงน้ำคร่ำฉีกขาด) อันเป็นภาวะที่พบมากที่สุดในการคลอดก่อนกำหนด

การแตกของเยื่อถุงน้ำคร่ำก่อนกำหนด (PPROM) อาจทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดเคลื่อนเข้าสู่มดลูกได้ ยิ่งเยื่อหุ้มทารกแตกก่อนนานเท่าใด โอกาสของการติดเชื้อในเยื่อถุงน้ำคร่ำก็จะสูงขึ้นเท่านั้น

อาการมีอะไรบ้าง ?

การติดต่อแพทย์ของคุณเป็นสิ่งสำคัญหากคุณมีอาการใด ๆ ต่อไปนี้:

  • มีไข้
  • ตกขาวมีกลิ่นไม่พึงประสงค์จากเชื้อราในช่องคลอด
  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นสำหรับแม่และทารกในครรภ์
  • อาการปวดของช่องท้องและ/หรือมดลูก
  • กลิ่นในน้ำคร่ำ
  • ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย Vaginosis

การรักษาโรคถุงน้ำคร่ำอักเสบในระยะแรกอาจลดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์อันร้ายแรงที่มีต่อทารกแรกเกิด และกลุ่มอาการหายใจลำบากในผู้ใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นจากการติดเชื้อภายในน้ำคร่ำ

โรคถุงน้ำคร่ำอักเสบสามารถไม่แสดงอาการได้ไหม ?

โดยปกติคุณจะมีอาการบางอย่าง คุณอาจไม่ทราบหรือรู้สึกถึงอาการ แต่คุณมีโรคอยู่ในเยื่อถุงน้ำคร่ำและตัวน้ำคร่ำเอง

การติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการทำให้เกิดการตอบสนองต่อการอักเสบในเยื่อหุ้มสองชั้นที่เรียกว่า Amnion และ Chorion และทำให้เกิดการอักเสบของรก สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้โดยที่คุณไม่ต้องมีไข้หรือเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ

ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคถุงน้ำคร่ำอักเสบคืออะไร ?

ปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยในการเกิดโรคถุงน้ำคร่ำอักเสบอาจรวมถึงการแตกของเยื่อถุงน้ำคร่ำก่อนกำหนด (PPROM) หากคุณมีการคลอดบุตรเป็นเวลานาน ความดันโลหิตสูง และคุณกำลังมีลูกคนแรก

ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งก็คือการคลอดก่อนกำหนดอาจเกิดขึ้นสำหรับมารดาและอาจมีภาวะติดเชื้อระยะแรก การติดเชื้อระยะแรก (Early- onset neonatal sepsis) ในทารกแรกเกิดด้วย

การวินิจฉัยโรค

พูดคุยกับพยาบาลผดุงครรภ์หรือแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคถุงน้ำคร่ำอักเสบอย่างแม่นยำ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรงสำหรับคุณและลูกน้อยได้ แพทย์จะทำการประเมินโดยได้รับความยินยอมจากคุณ มีการตรวจร่างกาย สั่งอัลตราซาวนด์ ตรวจช่องคลอด และเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำในบางกรณี

การรักษา

คุณจะเข้ารับการรักษาในแผนกสูติกรรมเพื่อรับการประเมินและการรักษาอย่างครบถ้วน ทีมสูติกรรมอาจจะใส่สายฉีดเข้าเส้นเลือดดำของคุณเพื่อให้ยา และหากคุณต้องการผ่าคลอด ก็จะฉีดบล็อคหลังเพื่อระงับปวด

การรักษามาตรฐานสำหรับโรคถุงน้ำคร่ำอักเสบคือยาปฏิชีวนะคุณและลูกน้อยของคุณ แพทย์อาจแนะนำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงของภาวะนี้ ทารกคลอดก่อนกำหนดอาจต้องการความช่วยเหลือในขณะที่เกิด กุมารแพทย์ควรพูดคุยกับคุณเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน

การตัดสินใจทั้งหมดเป็นของคุณ และจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากคุณตลอดเวลา การมีข้อมูลที่ถูกต้องและการชั่งน้ำหนักความเสี่ยงต่อผลประโยชน์จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกสิ่งที่คุณรู้สึกว่าใช่สำหรับคุณและลูกน้อยของคุณ

มีทางป้องกันไหม ?

โดยปกติแพทย์จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันการติดเชื้อในตอนแรก โดยสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

  • ตรวจคัดกรองภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียในไตรมาสที่สอง
  • ตรวจคัดกรองการติดเชื้อ ฌroup B Strep เมื่อตั้งครรภ์ได้ 35-37 สัปดาห์
  • ลดจำนวนการตรวจทางช่องคลอดระหว่างคลอด
  • ลดความถี่ของการตรวจภายใน

สิ่งสำคัญที่จะช่วยได้อีกทางคือการตรวจสุขภาพกับแพทย์เป็นประจำตามนัด

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th

มองหาสินค้าสำหรับแม่และเด็กในราคาสุดพิเศษได้เลยที่ >> Motherhood.co.th

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0