โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ศุกร์ (สุข) ละวัด : วัดสิงห์ วัดโบราณ บ้านสามโคก

The Bangkok Insight

อัพเดต 28 ม.ค. 2565 เวลา 03.04 น. • เผยแพร่ 28 ม.ค. 2565 เวลา 03.04 น. • The Bangkok Insight
ศุกร์ (สุข) ละวัด : วัดสิงห์ วัดโบราณ บ้านสามโคก

วัดสิงห์ เป็นวัดโบราณ ที่ก่อสร้างในสมัยอยุธยา ตอนกลาง เป็นวัดโบราณที่มีความสำคัญของบ้านสามโคก สร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี มีเรื่องเล่าขานในอดีตบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ถึงการอพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่อาศัยของชาวรามัญหลายยุคหลายสมัย ณ บ้านสามโคกวัดสิงห์เพื่อให้พระภิกษุที่อพยพหนีศึกพม่ามาพร้อมกับชาวมอญได้จำพรรษา วัดสิงห์จึงเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสามโคก ที่มีมาก่อนชาวรามัญจะอพยพเข้ามาอยู่ที่บ้านสามโคก

พระวิหารน้อย วัดสิงห์เป็นวิหารหลังเล็กก่อด้วยอิฐเป็นอาคารทรงไทย มุงด้วยกระเบื้องดินเผากาบู ด้านหน้ามีชายคาปีกนกยื่น ออกมาจากคัวอาคาร ฐานของอาคารทำเป็นท้องสำเภาอิฐเป็นฐานปัทม์แอ่นโค้ง มีช่องประตูเข้าสู่วิหารด้านหน้าเพียงช่องเดียว วงกบประตูทำด้วยไม้สักทอง  มีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่ 1 องค์ พระพุทธาสสิริมาแสนประจำทิศตะวันตก
พระอุโบสถ

เป็นอุโบสถเก่าแก่ วัดสิงห์ วัดโบราณ ณ บ้านสามโคก จังหวัดปทุมธานี สร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง มีการบูรณะครั้งใหญ่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินธิ์ เป็นอาคารที่ใช้ในการทำสังฆกรรมประกอบด้วยกำแพงแก้วล้อมรอบ ด้านในกำแพงก่อเป็นช่องสามเหลี่ยมใกล้พื้นที่โดยรอบ พื้นที่โดยรอบปูด้วยศิลา ทางเข้าทำเป็นซุ้มโครงก่ออิฐแบบกูบช้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลังศิลปะแบบอยุธยา

พระประธาน ก่อสร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง (พระประธานจตุรทิศ)

มีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่ 2 องค์ พระพุทธรัตนมณี (เป็นพระประธานหันพระพักต์ไปทิศตะวันออก)

หลวงพ่อโต ภายในวัดสิงห์ วัดโบราณ ณ บ้านสามโคก จังหวัดปทุมธานี ประดิษฐานในวิหารโถง (ศาลาดิน) เป็นพระพุทธรูปก่อด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา อายุประมาณ 320 ปี
หลวงพ่อเพชร

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่ด้านหลังหลวงพ่อโต ซึ่งมีซุ้ม เรือนแก้วคั่นอยู่ เป็นเหนือองค์หลวงพ่อเพชรมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ประดิษฐานบนฐานชุกชีสององค์ ส่วนฉากด้านหลังซุ้มเรือนแก้วปรากฏภาพจิตกรกรรมฝาผนัง ศิลปะสมัยอยุธยาวาดเป็นภาพพระพุทธเจ้า เสร็จจากดาวดึงส์ แต่น่าเสียดายที่รายละเอียดของภาพถูกน้ำฝนชะล้างไปจนเหลือเลือนราง ซึ่งนับได้ว่าเป็นภาพจิตรกรรมที่เก่าที่สุดในจังหวัดปทุมธานี
อีกทั้งบนกุฏิของวัดมีพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาของเก่า ได้แก่ ตุ่มสามโคก

ส่วนด้านหน้าวัดมีการขุดค้นพบโบราณสถานเตาโอ่งอ่าง หลักฐานการตั้งชุมชนมอญในสมัยแรก โดยมีตุ่มสามโคกเป็นภาชนะบรรจุที่ใหญ่ที่สุดซึ่งผลิตจากเตานี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น