โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ข่าวดี!ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จ่อนำเข้ายา “โมโนโคลนอลแอนติบอดี”รักษาโควิด

เดลินิวส์

อัพเดต 21 ก.ย 2564 เวลา 19.10 น. • เผยแพร่ 21 ก.ย 2564 เวลา 11.33 น. • เดลินิวส์
ข่าวดี!ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จ่อนำเข้ายา “โมโนโคลนอลแอนติบอดี”รักษาโควิด
“หมอนิธิ” เผย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเป็นผู้จัดหา-นำเข้า-กระจาย “โมโนโคลนอลแอนติบอดี” เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ป้องกันรักษาโควิด-19

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบทางเดินหายใจและวัณโรค ด้าน ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าวออนไลน์ในหัวข้อ การรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันและอนาคต และแผนการใช้ยาแอนติบอดีค็อกเทล เพื่อรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย

ศ.นพ.นิธิ กล่าวว่า ในวงการวิชาการการแพทย์ตอนนี้ วัคซีนโควิด-19 เองก็กำลังพัฒนาไม่หยุด ยาก็เช่นเดียวกัน ส่วนยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี เป็นยาสังเคราะห์ ที่จะเข้าไปจับกับไวรัส ทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายไม่ได้ ถ้ามียานี้มารักษาผู้ติดเชื้อในระยะต้นที่เริ่มมีอาการ ก็จะช่วยให้หายป่วยเร็วขึ้น อาการไม่รุนแรง และลดการเสียชีวิต ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะมีส่วนในการจัดหา นำเข้า และกระจาย ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี เป็นตัวแรกที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและ (อย.) ของไทยรับรองให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน โดยจะให้ยานี้ในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการระยะแรก แต่มีปัจจัยเสี่ยงว่าจะป่วยหนักหรือเสียชีวิต ยานี้จะช่วยลดการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลหรือไอซียู ซึ่งสำคัญมาก เพราะการลดภาระตรงนี้ลง การดูแลคนไข้อื่นก็จะสบายขึ้น โดยจะนำเข้าและกระจายยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีให้โรงพยาบาลต่าง ๆ

นอกจากนี้ ในส่วนของการศึกษายาต้านไวรัสเอง ก็มีการดำเนินการเช่นกัน เราจะร่วมกับโรงพยาบาลอีก 2-3 แห่งวิจัยยาต้านไวรัสตัวใหม่เร็ว ๆ นี้ โดยเป็นยาตัวเดียวกับที่อาจารย์กำธรพูดถึง ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งในการทดสอบยานั้น เราไม่อยากจำกัดอยู่แต่วัคซีน ซึ่งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เตรียมนำเข้า “โมโนโคลนอลแอนติบอดี” รักษาโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีในการป้องกันรักษาโควิด-19 นี้คงไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับ ต้องมีกระบวนการคัดเลือกว่า ผู้ติดเชื้อกลุ่มไหนจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา สำหรับบทบาทของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลที่สามารถดำเนินการต่าง ๆ ได้คล่องตัวรวดเร็ว และจะยังคงช่วยเหลือประเทศ ประสานทุกหน่วยงาน เพื่อนำชีวิตปกติกลับคือสู่ประชาชนให้ได้ในเร็ววัน

ขณะที่ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ กล่าวว่า สิ่งสำคัญในช่วงนี้ที่ต้องเน้นคือ ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยใหม่ไม่เพิ่มขึ้น ให้ผู้ป่วยใหม่เข้าถึงการรักษาเร็วขึ้น และทำอย่างไรจะปกป้องกลุ่มเสี่ยงให้ไม่ต้องเข้าไอซียูได้ คำตอบหนึ่งคือ ยาที่ลดความรุนแรงตั้งแต่ระยะแรก ได้แก่ โมโนโคลนอลแอนติบอดี

ด้าน ผศ.นพ.กำธร กล่าวว่า การจะรับมือกับโควิด-19 ให้ได้อย่างนั้นจะต้องใช้หลากหลายวิธี ต้องมีทั้งมาตรการ วัคซีน และยารักษาประกอบกัน ปัจจุบันยาป้องกันรักษาโควิด-19 ที่เป็นมาตรฐานทั่วโลกยังไม่มี เป็นความท้าทายในการสู้ไวรัส แต่ขณะนี้มีหลายตัวอยู่ในการวิจัยทั่วโลก โดยยาป้องกันรักษาโควิด-19 ที่โลกเร่งศึกษากันอยู่จะแบ่งเป็นยาต้านไวรัส และยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (แอนติบอดีค็อกเทล สำหรับยาที่เป็นยาต้านไวรัส คาดว่าอีกครึ่งปีจะรู้ชัดว่ายาตัวไหนดี กำลังกำเนินการศึกษากันอยู่ทั่วโลก คาดว่ามี 2 ตัวเป็นอย่างน้อย และอาจเป็นยาอื่นที่ไม่ใช่ยาที่คุ้นหูกันดีในช่วงนี้อย่าง ฟาวิพิราเวียร์ หรือเรมดิซิเวียร์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น