โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

เทคโนโลยี FreeSync ของ AMD และ G-SYNC ของ NVIDIA ทั้ง 3 ระดับ แตกต่างกันอย่างไร?

Thaiware

อัพเดต 11 ม.ค. 2563 เวลา 06.00 น. • เผยแพร่ 11 ม.ค. 2563 เวลา 06.00 น. • moonlightkz
เทคโนโลยี FreeSync ของ AMD และ G-SYNC ของ NVIDIA ทั้ง 3 ระดับ แตกต่างกันอย่างไร?
เทคโนโลยี FreeSync และ G-SYNC ในหน้าจอ มีไว้เพื่อช่วยแก้ปัญหาภาพฉีก, ภาพขาด, แสดงผลภาพไม่ทันในหน้าจอมอนิเตอร์

FreeSync และ G-SYNC แต่ละระดับต่างกันอย่างไร?

สำหรับเกมเมอร์เวลาจะเลือกซื้อหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็ต้องให้ความสำคัญกับอัตรารีเฟรชเรทด้วย ซึ่งจอสำหรับเล่นเกมขั้นต่ำสมัยนี้ก็อยู่ที่ 120Hz กันหมดแล้ว แต่อีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือ เทคโนโลยีลดภาพฉีก (Tearing) และภาพซ้ำ (Stuttering) ซึ่งก็จะมีอยู่ 2 เทคโนโลยีหลักๆ ให้เลือก คือ G-SYNC ของ NVIDIA กับ FreeSync ของ AMD

ในสเปคจอเท่ากัน จอคอมพิวเตอร์ที่รองรับ G-SYNC ของ NVIDIA จะมีราคาแพงกว่าจอ FreeSync พอสมควร เนื่องจาก G-SYNC ทำงานด้วยฮาร์ดแวร์ต้องมีชิปในการควบคุม ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ในขณะที่ FreeSync ใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงานเป็นหลัก

เทคโนโลยี FreeSync ของ AMD และ G-SYNC ของ NVIDIA ทั้ง 3 ระดับ แตกต่างกันอย่างไร?
เทคโนโลยี FreeSync ของ AMD และ G-SYNC ของ NVIDIA ทั้ง 3 ระดับ แตกต่างกันอย่างไร?


ภาพจาก https://www.tomshardware.com/uk/news/nvidia-gsync-vs-amd-freesync-test-comparison,39042.html

FreeSync และ G-SYNC ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

สำหรับจริงจังเกมเมอร์ การเลือกจอยังไม่จบแค่ว่ามีสติกเกอร์แปะว่ารองรับ FreeSync หรือ G-SYNC เท่านั้น เพราะทั้งคู่ยังมีการแบ่งแยกระดับ (Tier) ออกเป็น 3 ระดับด้วย คือ 

  • FreeSync

  • FreeSync Premium

  • FreeSync Premium Pro

  • G-SYNC Compatible

  • G-SYNC

  • G-SYNC Ultimate

ความแตกต่างของแต่ละระดับ

FreeSync

เดิมที FreeSync มีแค่ 2 ระดับ (Tier) คือ FreeSync กับ FreeSync 2 HDR แต่ปัจจุบันมีการเพิ่ม FreeSync Premium เข้ามาเป็นระดับกลาง และเปลี่ยนชื่อ FreeSync 2 HDR เป็น FreeSync Premium Pro เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

Low framerate compensation (LFC) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การเล่นเกมมีความสมูทราบรื่น แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถเรนเดอร์การแสดงผลที่อัตรารีเฟรชเรทเท่ากับหรือสูงกว่าอัตรารีเฟรชของหน้าจอได้ก็ตาม

FreeSync FreeSync Premium FreeSync Premium Pro

  • แก้ภาพฉีก (Tearing)

  • อัตรากะพริบต่ำ

  • อัตราดีเลย์ต่ำ

  • ลด Stuttering

  • อัตรารีเฟรชขั้นต่ำ 120 Hz ที่ความละเอียด FHD

  • รองรับ Low framerate compensation

  • แก้ภาพฉีก

  • อัตรากะพริบต่ำ

  • อัตราดีเลย์ต่ำ

  • รองรับการแสดงผลแบบ HDR

  • อัตรารีเฟรชขั้นต่ำ 120 Hz ที่ความละเอียด FHD

  • รองรับ Low framerate compensation

  • แก้ภาพฉีก

  • อัตรากะพริบต่ำ

  • อัตราดีเลย์ต่ำ

G-SYNC

Variable refresh rate หรือ VRR เป็นระบบที่ช่วยลดอาการ Stuttering และ Tearing ด้วยการปรับค่ารีเฟรชเรทของหน้าจอให้สัมพันธ์กับค่าค่าที่การ์ดจอส่งมา ช่วยให้การแสดงผลราบรื่นขึ้น

ทั้งนี้ หน้าจอแบบ G-SYNC COMPATIBLE จะไม่มีชิป G-SYNC ช่วยในการทำงานนะ มันเป็นหน้าจอ FreeSync รุ่นที่ทาง NVIDIA ทดสอบแล้ว ผ่านคุณภาพในการทำงานร่วมกับระบบซอฟต์แวร์ของ G-SYNC โดยตรวจสอบรายชื่อหน้าจอที่รองรับได้ที่ https://www.nvidia.com/en-us/geforce/products/g-sync-monitors/specs/

G-SYNC COMPATIBLE G-SYNC G-SYNC ULTIMATE

  • แก้ภาพฉีก (Tearing)

  • ลด Stuttering

  • รองรับการทำงานแบบ VRR ได้ในระดับหนึ่ง

  • อัตรากะพริบต่ำ

  • อัตราดีเลย์ต่ำ

  • แก้ภาพฉีก (Tearing)

  • ลด Stuttering

  • รองรับการทำงานแบบ VRR อย่างเต็มรูปแบบ

  • อัตรากะพริบต่ำเป็นพิเศษ

  • อัตราดีเลย์ต่ำเป็นพิเศษ

  • Calibrated สีจากโรงงาน

  • ผ่านการทดสอบ 300+ รูปแบบจาก NVIDIA

  • แก้ภาพฉีก (Tearing)

  • ลด Stuttering

  • รองรับการทำงานแบบ VRR อย่างเต็มรูปแบบ

  • อัตรากะพริบต่ำเป็นพิเศษ

  • อัตราดีเลย์ต่ำเป็นพิเศษ

  • Calibrated สีจากโรงงาน

  • ผ่านการทดสอบ 300+ รูปแบบจาก NVIDIA

  • ค่าความสว่างอย่างน้อย 1000 nits

  • ความละเอียดหน้าจอสูง+ค่ารีเฟรชระดับสูง

  • มีไฟ Backlight หลายจุด

  • แสดงขอบเขตสีได้กว้าง

  • ใช้ชิป G-SYNC ระดับสูง

  • รองรับ HDR

อาการภาพ Tearing และ Stuttering

ภาพ Tearing

อาการนี้เกิดจากความเร็วของภาพที่ GPU ส่งมา มีความเร็วเกินกว่าที่จอจะสามารถแสดงผลได้ไม่เท่ากัน ส่งผลให้มันพยายามแสดงผลภาพที่รับมาพร้อมกันในทีเดียว ภาพเลยมีอาการ "ฉีก" เนื่องจากภาพเฟรมเก่ายังไม่ทันแสดงผลเสร็จ ภาพเฟรมใหม่ก็เริ่มแสดงแล้ว

เทคโนโลยี FreeSync ของ AMD และ G-SYNC ของ NVIDIA ทั้ง 3 ระดับ แตกต่างกันอย่างไร?
เทคโนโลยี FreeSync ของ AMD และ G-SYNC ของ NVIDIA ทั้ง 3 ระดับ แตกต่างกันอย่างไร?

ภาพ Stuttering

เวลาที่เราเล่นเกม แล้วรู้สึกเหมือนเกมกระตุก ภาพดูสะดุดทั้งๆ ที่เฟรมเรทสูง (คนละแบบกับเกมกระตุกเพราะการ์ดจอรันไม่ไหวนะ) อาการนี้เขาจะเรียกว่า Stuttering

ปัญหานี้มาจากการที่หน้าจอสแกนข้อมูลที่ได้รับจากการ์ดจอผิดพลาด มีการสแกนข้อมูลใน Buffer ที่ถูกเก็บไว้มาแสดงผลซ้ำ แทนที่จะสแกนข้อมูลล่าสุดที่การ์ดจอส่งให้

เทคโนโลยี FreeSync ของ AMD และ G-SYNC ของ NVIDIA ทั้ง 3 ระดับ แตกต่างกันอย่างไร?
เทคโนโลยี FreeSync ของ AMD และ G-SYNC ของ NVIDIA ทั้ง 3 ระดับ แตกต่างกันอย่างไร?

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0