โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

​ผู้สูงอายุ กับ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ

SCGExperience

เผยแพร่ 12 ม.ค. 2561 เวลา 03.47 น. • SCG Experience ภาพ: SCG Eldercare Solution

ผู้สูงอายุ กับ การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ
เมื่ออายุมากขึ้น นอกจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไปหรือเสื่อมถอยลงแล้ว สภาพจิตใจ อารมณ์ และการเข้าสังคมก็เปลี่ยนแปลงไป การออกแบบที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม และกำลังใจจากทุกคนในครอบครัวจะช่วยให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข

       เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกายและลักษณะภายนอกก็เปลี่ยนแปลงไป ผู้สูงอายุซึ่งแม้ว่าจะผ่านประสบการณ์ต่างๆ มายาวนาน ทั้งในแง่การใช้ชีวิตและการทำงาน รวมถึงทำสิ่งต่างๆ เพื่อคนในครอบครัวมากมาย แต่เมื่ออายุย่างเข้า 60 ปี ก็มีหลายสิ่งรอบตัวที่เปลี่ยนไป ทั้งหน้าที่การงาน สถานภาพในครอบครัว สถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงการขยับเคลื่อนไหวร่างกายก็ไม่ดีเหมือนก่อน ซึ่งอาจส่งผลต่อความรู้สึก สภาพจิตใจ และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น 

       การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและสังคม การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เช่น คนรัก หรือ เพื่อนสนิท ก็อาจทำให้เกิดความซึมเศร้าได้ง่าย การสูญเสียสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ในอดีตผู้สูงอายุจะเป็นผู้นำครอบครัวที่คอยถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ให้คำปรึกษาต่างๆ แต่เมื่อรูปแบบสังคมเปลี่ยนแปลงไป การพึ่งพาผู้สูงอายุน้อยลง คนวัยทำงานส่วนใหญ่ออกไปทำงานนอกบ้านจึงไม่ค่อยมีเวลาให้ผู้สูงอายุ และเนื่องจากถึงวัยที่ต้องเกษียณจากงาน ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าถูกลดความสำคัญลง ลดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบลง รู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่า ไม่มีเป้าหมายในชีวิต การสูญเสียสัมพันธภาพในครอบครัว เช่น เมื่อลูกแยกครอบครัวออกไป ทำให้ความสัมพันธ์และกิจกรรมที่เคยทำร่วมกันลดลง ทำให้ผู้สูงอายุอาศัยอยู่อย่างโดดเดี่ยว รู้สึกเหงา เบื่อหน่าย การสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายและรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้เกิดความหวั่นไหวและวิตกกังวล

       สิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อให้สภาพทางจิตใจของผู้สูงอายุเป็นปกติสุขคือ การปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ตั้งแต่การออกแบบ จัดพื้นที่ใช้สอย สเปซ การเลือกใช้วัสดุ การใช้สี เป็นต้น เพื่อสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย สะดวกสบาย ความปลอดภัย กระตุ้นให้เกิดความมีชีวิตชีวา และส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน โดยยังคงความเป็นสภาพแวดล้อมเดิมหรือใกล้เคียงเดิมมากที่สุด ให้พวกเขายังคงอุ่นใจและคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมเดิมที่พวกเขาเคยอยู่ สามารถใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างอิสระ พึ่งตนเองได้ เป็นตัวของตัวเอง จะช่วยลดผลกระทบทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุได้ ประกอบกับความรักความเอาใจใส่ของคนในครอบครัวที่คอยเป็นกำลังใจให้ผู้สูงอายุสามารถค่อยๆ ปรับตัว ยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และมีความสุขทั้งทางกายและจิตใจ
สนใจรับคำปรึกษา การออกแบบบ้านสำหรับผู้สูงอายุ คลิกที่นี่



0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0