กวาวเครือขาว สมุนไพรที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มี 2 พันธุ์ ได้แก่ Pueraria candollei Graham ex Benth. var. mirifica (Airy Shew Savat.) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์โดยทั่วไปคล้ายคลึงกันคือ เป็นไม้เถา เนื้อแข็ง เลื้อยพันตามไม้ใหญ่ ใบประกอบมี 3 ใบ ดอกคล้ายดอกแคขนาดเล็กออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง สีน้ำเงินอมม่วง ฝักเล็กแบนบาง มีหัวใต้ดินคล้ายมันแกวขนาดใหญ่ เนื้อในสีขาว หัวใต้ดินถูกนำมาใช้ประโยชน์
“รางจืด” สมุนไพรสรรพคุณเด่นเรื่องล้างสารพิษ ช่วยปกป้องเซลล์ตับและไต
“ย่านาง” ประโยชน์สมุนไพรเย็น ขจัดพิษกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
สามารถพบกวาวเครือขาวพันอยู่กับต้นไม้ใหญ่โดยเฉพาะต้นสักในจังหวัดกาญจนบุรี ตาก ลำปาง เชียงใหม่ ในบริเวณที่เป็นป่าไผ่ในจังหวัดกาญจนบุรี สระบุรี ลพบุรี ชัยภูมิ พบว่ามีกวาวเครือขาวกระจากพันธุ์อยู่ได้ดีเช่นกัน กวาวเครือขาวอาจเป็น”อัญมณีแห่งพงไพร”
สรรพคุณแผนโบราณกวาวเครือขาว
- ใช้เป็นตัวยาหนึ่งในตำรับยาบำรุงร่างกาย บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงอวัยวะกวาวเครือขาวจัดเป็นสมุนไพรควบคุม (รวมทั้งกวาวเครือแดงและกวาวเครือดํา)มีความสําคัญ
- มีสารที่มีโครงสร้างทางเคมีและออกฤทธิ์ คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง จึงดีต่อต่อสุขภาพของสตรี ซึ่งเน้นประโยชน์เพื่อช่วยลดอาการของสตรีวัยหมดประจําเดือน โดยมีการศึกษาฤทธิ์ ของกวาวเครือขาวต่อการลดอาการร้อนวูบวาบ ลดภาวะกระดูกพรุน
- มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและช่วยในเรื่องของความจําและการเรียนรู้และมีผลช่วยลดอาการช่องคลอดแห้งในสตรีวัยหมดประจําเดือนได้แต่งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลองเท่านั้น ซึ่งงานวิจัยทางคลินิกยังมีน้อยมาก อีกทั้งยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงขนาดที่ใช้
สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุขนาดการใช้ดังนี้การใช้ประโยชน์กวาวเครือขาวเพื่อเป็นส่วนประกอบในตำรับบำรุงย่างกาย ให้รับประทานยาตำรับที่มีส่วนประกอบของผงกวาวเครือขาว ไม่เกิน 1–2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณวันละไม่เกิน 50–100 มิลลิกรัม อาการข้างเคียงที่อาจพบได้คือ เจ็บเต้านม มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดหรือเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
“กระเจี๊ยบแดง” ประโยชน์สมุนไพร ชะลอไขมันอุดตันในเลือดมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
ข้อควรระวังก่อนกินกวาวเครือขาว
- ผู้ป่วยที่ เป็นมะเร็งมดลูกและมะเร็งเต้านมหรือเนื้องอกที่ไวต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่ควรใช้
- เด็กก่อนมีประจำเดือนไม่ควรกินเด็ดขาดอีกทั้ง
- คนที่ยังหนุ่มสาวไม่ควรติดต่อกันเป็นเวลานาน
การรับประทานกวาวเครือขาวเกินขนาด จะเป็นอันตรายได้ ทำให้มีอาการมึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน งานวิจัยกวาวเครือขาวระบุว่าห้ามใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะสารที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิงในสารสกัดกวาวเครือขาวมีความแรงของตัวยาจะรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ และระบบประจำเดือนได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : disthai และ สํานักงานข้อมูลสมุนไพรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
“กระเจี๊ยบแดง” ประโยชน์สมุนไพร ชะลอไขมันอุดตันในเลือดมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
“กระจับเขาควาย” พืชน้ำสมุนไพรไทยรสกรอบหวาน ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ
ความเห็น 1
น่าเบื่อน่ารำคาญที่สุดเลยโฆษณาเยอะเกิน
12 ก.ย เวลา 06.51 น.
ดูทั้งหมด