โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

สามีหรือภรรยา “กู้หนี้-ยืมสิน” แต่อีกคนไม่รู้ กฎหมายตราสามดวงให้ชดใช้อย่างไร?

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 20 มี.ค. เวลา 11.00 น. • เผยแพร่ 20 มี.ค. เวลา 08.41 น.
women
ภาพประกอบเนื้อหา - ภาพถ่ายหนุ่มสยามกับเมียอีกสามคน

สามีหรือภรรยา “กู้หนี้-ยืมสิน” แต่อีกคนไม่รู้ กฎหมายตราสามดวงให้ชดใช้อย่างไร?

“กฎหมายตราสามดวง” เป็นกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่อยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีพูดถึงพระไอยการต่าง ๆ มากมาย หนึ่งในนั้นก็มี “พระไอยการกู้หนี้ยืมสิน” (ในต้นฉบับจะเขียนว่าพระไอยการกู้นี่ยืมสิน)

พระไอยการกู้หนี้ยืมสินพูดถึงตั้งแต่การกู้หนี้ระหว่างครอบครัว สามีภรรยา ภรรยาที่ใช้สามีร่วมกัน รวมถึงบุคคลอื่น ๆ ทั่วไป

แต่จะขอยกมาบางส่วนที่เกี่ยวข้องระหว่างสามีและภรรยา ในหัวข้อสามีภรรยากู้เงินร่วมกัน แล้วใครคนหนึ่งไม่รู้หรือตาย มาให้อ่าน ดังนี้…

1. ถ้าสามีภรรยากู้เงินของท่านด้วยกัน แล้วสามีไปค้าขายไม่กลับมา เจ้าหนี้สามารถเอาเพียงเงินต้นจากภรรยาได้อย่างเดียว ส่วนดอกเบี้ยก็ยกให้ แต่ถ้าสามีกลับมาแล้ว ก็ให้เอาดอกเบี้ยจากเขา

2. ถ้าสามีภรรยาร่วมกันเข้าชื่อทำกรมธรรม์กู้เงินท่าน แล้วให้สามีไปค้าขาย ถ้าสามีตายแต่ได้สินค้ามา ให้เอาทั้งต้นและดอกจากภรรยา แต่ถ้าไม่ได้สินค้ามาให้ภรรยาใช้แค่ดอก ถ้าภรรยาตายก่อน ให้สามีใช้ทั้งดอกและต้น

3. ถ้าสามีและภรรยาเข้าชื่อร่วมกันกู้เงินท่าน ถ้าภรรยาหรือสามีตาย ให้คนที่ยังอยู่เป็นคนจ่ายเงินต้นจำนวนเต็ม แต่ถ้าหย่ากัน ให้ผู้ชายจ่าย 2 ส่วน ผู้หญิง 1 ส่วน

4. ถ้าเจ้าหนี้ใส่ชื่อผู้รับเงินกู้ทั้งสามีและภรรยา ถ้าสามีหรือภรรยาตาย ให้เงินต้นและดอกเป็นของคนที่ยังอยู่ ไม่ต้องแบ่งเป็นส่วนของคนตายและเป็น

5. ถ้าภรรยาไม่รู้ว่าสามีกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายซื้ออาหาร เลี้ยงลูก จะต้องให้ภรรยาเป็นคนจ่ายทั้งต้นและดอก เนื่องจากภรรยาไม่เอาใจใส่สามี แต่ถ้าสามีกู้เงินมาเลี้ยงชู้ ให้พี่น้อง หรือนอกใจ ให้สามีใช้ทั้งเงินต้นและดอกคนเดียว

6. ถ้าชายหญิงไม่ได้เป็นสามีภรรยากัน แล้วตอนนั้นมีคนติดหนี้ท่านไว้ มาวันหนึ่งเป็นสามีภรรยากัน ซึ่งไม่ได้มีชื่ออยู่ในกรมธรรม์ แต่มารับว่าจะใช้ต่อเจ้าหนี้ มาวันหนึ่งลูกหนี้ตาย คนที่รับว่าจะใช้หนี้จะต้องจ่ายกึ่งหนึ่ง ถ้าชายหรือหญิงไม่ได้รับว่าจะใช้คืนก็เอาเงินมาจากเขาไม่ได้ แต่ถ้าใครที่ได้ทรัพย์จากผู้ตาย ก็ให้คนที่ได้เอามาใช้หนี้ น้อยมากก็แล้วแต่จะใช้ เพื่อไม่ให้เป็นเวรกรรมแก่คนที่จากไปแล้ว

7. ภรรยาขันหมากหลวง ถ้าไปกู้หนี้แล้วไม่ได้บอกสามี ก็ให้เอาแค่ต้นคืน แต่ถ้าบอกสามีให้รู้แล้วก็ให้เอาดอกด้วยบ้าง และถ้าสามีรู้เห็นเรื่องสัญญาการยืมเงิน ก็ต้องเก็บทั้งเงินต้นและดอก

8. ถ้าสามีภรรยาหย่ากัน แต่สามีภรรยากู้เงินร่วมกัน ก็ให้ชายใช้ 2 ส่วน หญิง 1 ส่วน หญิงกู้เงินมาเลี้ยงลูก แต่หย่ากัน ชายใช้กึ่งหนึ่ง ถ้าหญิงกู้มาบำเรอชู้ พ่อแม่ ก็ให้ผู้ญิงใช้คนเดียว แต่ถ้าชายกู้เงินมาเลี้ยงลูก ผู้หญิงไม่รู้ ก็ให้ใช้คนละกึ่งหนึ่ง

9. สามีไปที่ใดก็ตาม แต่ภรรยายังอยู่และกู้หนี้ วันหนึ่งถ้าภรรยาเสียชีวิต แต่สามียังมาไม่ถึง เจ้าหนี้ไม่สามารถเอาเงินกับสามีได้ แต่ถ้ามาถึง และทราบว่าภรรยาเสียชีวิตแล้ว เจ้าหนี้ทวงถาม ก็ต้องเอาเงินจากสามี

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการกู้หนี้ยืมสินที่เกี่ยวข้องกับภรรยาและสามี

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

https://finearts.go.th/storage/contents/file/EpN3NhDxVG2Don8kvGkbZn8UhOaVOvHcQl7mItVW.pdf

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 20 มีนาคม 2568

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : สามีหรือภรรยา “กู้หนี้-ยืมสิน” แต่อีกคนไม่รู้ กฎหมายตราสามดวงให้ชดใช้อย่างไร?

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com